ทีมข่าวพบว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งในพื้นที่เขตสายไหม เธอติดเชื้อโควิดนาน18 วัน แต่ยังกักตัวอยู่ที่บ้านเพราะ ไม่มีหน่วยงานใดมารับตัวไปรักษาที่น่าสนใจ คือ ผู้หญิงคนนี้ บอกว่า ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทองหล่อตรวจพบเชื้อวันที่ 18 เม.ย. แต่โรงพยาบาลให้กลับไปรอเตียงที่บ้าน
ช่วงนั้นเธอบอกว่า มีอาการป่วย มีน้ำมูล ไอ และ ปวดเบ้าตา หลังยังไม่ได้เตียง เธอจึงให้เพื่อนไปซื้อวิตามินรวม วิตามินบี 5 และ วิตามินซี มาให้กิน พบว่า ถัดจากนั้นยังมทีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หนาวไปถึงกระดูก แต่ก็ยังไม่มีใครมารับตัวไปรักษา
ชำแหละ ประกันโควิด-19 ติดปุ๊บ จ่ายปั๊บ จริงหรือไม่ ?
ศบค.รับ "สายพันธุ์บราซิล" เข้าไทย ติดเชื้อ +2,112 ราย 1,042 อาการหนัก เปิดคลัสเตอร์ชุมชนกลางกรุง
เธอบอกว่าเธอโทรศัพท์ติดต่อไปหาแม่ซึ่งอยู่ในต่างประเทศ แม่ แนะนำวิธีรักษาแบบพื้นบ้าน โดยบอกว่า ให้ต้มน้ำร้อน เทน้ำส้มสายชู ลงไป จากนั้น ให้สูดไอน้ำ เพื่อทำให้จมูกโล่งมากขึ้น และ ต้มน้ำ ใส่ กระชายขาว หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า นำมา ดื่มแทนน้ำเปล่า เช้า-กลางวัน-เย็น และ เธออ้างว่าอาการดีขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้มั่นใจว่าหายแล้ว
ขณะที่ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ อธิบายว่าปัจจุบัน ยังไม่มีงานศึกษาวิจัยว่าสมุนไพรไทย ช่วยรักษาอาการป่วยจากโควิดหรือไม่ แต่มีงานวิจัยหลายชิ้นบอกว่าสมุนไพรไทย กลุ่มที่มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสมุนไพรที่ใช้ในเครื่องต้มยำ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น บางคนนำหอมแดงมาต้ม เพื่อสูดดม แล้วไอของน้ำมันหอมระเหยจะช่วยให้จมูกโล่ง ระบบทางเดินหายใจ เหมือนถูกทำความสะอาด เชื้อที่ติดอยู่ ก็ถูกกำจัดออกมา ตามระบบเสมหะ ตามระบบทางเดินหายใจ
ซึ่งสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือผู้ป่วยโควิด 80 เปอร์เซ็นต์ มีอาการน้อย และสามารถหายเองได้ โดยร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งการใช้สมุนไพร ก็เหมือนกับการดูแลตัวเองเป็นการนำมา เสริมภูมิคุ้มกันตัวเอง แต่อาจจะไม่สามารถฆ่าเชื้อโควิดได้
ลุ้น เอกชนเจรจานำเข้า"โมเดอร์นา"เดือนหน้า
สมุนไพรที่เขาใช้ ที่เขาเล่าให้ฟัง มันก็เป็นการดูแลตัวเอง มันก็ช่วยกระตุ้นให้ภูมิต้านทาน ของร่างกายดีขึ้น แต่มันอาจจะยังไม่สามารถไปฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจ ให้ตรงกันเพราะฉะนั้น การที่จะนำประสบการณ์ของคนไข้หนึ่งราย มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ เกิดแนวทางในการดูแล กรณีที่เราเจ็บป่วยขึ้นมาในช่วงนี้ ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่คงไม่สามารถไปคาดหวังว่า นี่คือวิธีที่รักษาโควิดได้จริงๆ
นพ.ขวัญชัย ยังย้ำว่า ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการน้อย ที่อยู่ระหว่างกักตัว หรือ อยู่ระหว่างการรอเตียง อาจใช้สมุนไพรในการดูแลตัวเองเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันได้ แต่อย่าลืมว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาส ที่อาการจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้น การดูแลที่ดีที่สุดคือการเข้าสู่ระบบการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข