ศ.นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงประเด็น การให้วัคซีนโควิด-19 สลับขนิดกัน หลังมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคเข็มหนึ่ง และ แอสตร้าเซเนก้าเข็มสอง เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงและเร็วขึ้น เพื่อรับมือกับโควิด-19 สายพันธุ์กลายพันธ์ุ
“หมอประสิทธิ์” ชี้ ฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อ ต้องมีวิจัยรองรับ แย้มรู้ผลเร็วนี้
อนามัยโลกเตือน ปชช.อย่าสลับการฉีดวัคซีนผสมสูตรเอง อาจเป็นอันตราย
นพ.ยง อธิบายว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า วัคซีนเชื้อตาย (ซิโนแวค) กระตุ้นภูมิได้น้อยกว่า วัคซีนที่ผลิตจากไวรัสเวกเตอร์ (แอสตร้าเซเนก้า)
เผยเบื้องหลังสลับวัคซีนโควิด นำฝรั่ง ล้ำจีน "หมอยง" ฝากถึงคนโจมตี ดำเนินคดีแล้วรายแรก
ดังนั้น เมื่อมาเจอกับสายพันธุ์โควิด-19 ที่กลายพันธุ์ จำเป็นต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ สูงกว่าเดิม ในทางปฏิบัติจึงต้องมาพิจารณาว่า การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม ห่างกัน 10 สัปดาห์ แม้ว่าจะทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นสูงและป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ แต่ระหว่างที่รอเข็มที่สอง ซึ่งต้องทิ้งระยะห่างไป 10 สัปดาห์ แอสตร้าเซเนก้า 1 เข็มที่ฉีดไปแล้ว จะไม่เพียงพอกับการป้องกันสายพันธุ์เดลตาที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
จึงเป็นที่มาของการหาจุดสมดุล ที่จะทำอย่างไรให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเร็วที่สุด เหมาะสมที่สุดในขณะที่ไวรัสเปลี่ยนแปลงไปมาก ท่ามกลางวัคซีนที่ประเทศมีอยู่ 2 ชนิดหลักคือ ซิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้า จึงเป็นที่มาของการศึกษาว่า
ฉีดวัคซีนเชื้อตาย (ซิโนแวค) ก่อน แล้วตามด้วย ไวรัสเวกเตอร์ (แอสตร้าเซเนก้า) เพื่อให้วัคซีนเชื้อตายเข้าไปทำให้ร่างกายเปรียบเสมือนติดเชื้อแล้วและไปสอนหน่วยความจำร่างกายไว้ จากนั้น 3-4 สัปดาห์ จึงกระตุ้นด้วย วัคซีนไวรัสเวกเตอร์ (แอสตร้าเซเนก้า) ที่มีอำนาจในการกระตุ้นภูมิร่ายกายได้สูงขึ้นเร็ว แม้ว่าจะไม่เท่าแอสตร้าเซเนก้าสองเข็ม แต่ก็ได้ภูมิที่สูงเพียง 6 สัปดาห์ และมีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันสายพันธุ์เดลตา รวมถึงมีเปอร์เซ็นต์การขัดขวางไวรัสสูงขึ้น
จึงน่าจะเป็นประโยชน์สูงสุด ณ ขณะนี้ ในอนาคตหากมีวัคซีนที่ดีกว่าพัฒนาได้ดีกว่า สลับเข็มได้ดีกว่าเราค่อยหาวิธีการที่ดีกว่า หรือในอนาคตไวรัสกลายพันธุ์มากกว่านี้อาจต้องมีวัคซีนที่จำเพาะ เจาะจงกับสายพันธุ์นั้น
ขณะที่ในเรื่องของ ความปลอดภัยของการฉีดวัคซีนสลับชนิด จากการศึกษาเบื้องต้นในผู้ที่ฉีดวัคซีนสลับชนิดกันในคนไทยมากกว่า 1,200 พบว่า ไม่มีใครมีผลข้างเคียงรุนแรง มีความปลอดภัยในชีวิตจริง
ผมยกตัวอย่างวัคซีนในเด็ก เกือบทุกชนิดไม่ว่าตั้งแต่ ไข้สมองอักเสบ ป้องกันท้องเสีย เมื่อผลิตออกมาใหม่ๆ แต่ละบริษัทบอกว่า การใช้จะต้องไม่ข้ามกัน เข็ม 1 เข็ม 2 เข็ม 3 จะต้องใช้ยี่ห้อเดียวกัน แต่ต่อมาแม้กระทั่งวัคซีนท้องเสียโรตา หรือแม้กระทั่งวัคซีนคอตีบ ไอ กรน บาดทะยัก เวลาใครไปฉีดในเด็ก เคยถามไหมว่าลูกฉีดยี่ห้ออะไร ปีนี้ประมูลได้ยี่ห้ออะไร ปีหน้าประมูลได้ยี่ห้ออะไร ไวรัสหรือแบคทีเรียต่างๆ มันคงไม่รู้หรอกว่าวัคซีนที่ฉีดไปเนี่ยยี่ห้ออะไร
ดังนั้นแล้วจึงไม่จำเป็นจะต้องถามว่าควรฉีดวัคซีนไหม แต่เมื่อใครถึงเวลานัดการฉีดก็ขอให้ไปฉีด ส่วนการฉีดวัคซีนในเด็ก จะต้องรออีกสักพัก เพราะการติดเชื้อในเด็กมีความรุนแรงน้อยมาก เนื่องจากโอกาสการป่วยและเสียชีวิตในเด็กจากโควิด-19 รุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ และวัคซีนที่จะใช้ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมากกว่าผู้ใหญ่