เปิดตัวเลข "เดินทางรักษาโควิดบ้านเกิด" 1 เดือน เฉียดแสนราย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สธ. เปิดตัวเลข "เดินทางรักษาโควิดบ้านเกิด" ช่วงวันที่ 1 ก.ค. ถึง 4 ส.ค. อยู่ที่ 94,664 ราย คาดอีก 2 สัปดาห์ถึงจุดพีค

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  เปิดเผย ว่าหลังจากประกาศมาตรการล็อกดาวน์ทำให้มีประชาชนเดินทางออกจาก กทม.และปริมณฑลกลับสู่ภูมิลำเนาจำนวนมาก และมีผู้ติดเชื้อเดินทางกลับไปด้วย จากข้อมูลของทั้ง 12 เขตสุขภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. - 4 ส.ค. 2564 มีผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับต่างจังหวัดและเข้าระบบการดูแลรักษาแล้ว 94,664 คน

จ่าพิชิต แนะวิธีการดูแลตัวเองขณะรอเตียงรักษาโควิด

ผอ.รพ.สนามมธ. หนุนปิดเมืองแบบอู่ฮั่น

มากกว่าครึ่งอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน (เขต 7 8 9) รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคกลางและตะวันออก และภาคใต้ ตามลำดับ

โดยช่วงแรกส่วนใหญ่ผู้ป่วยเดินทางกลับด้วยตนเอง มีทั้งติดต่อโรงพยาบาลปลายทางและไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นความเสี่ยงแพร่เชื้อระหว่างเดินทางและในพื้นที่ แต่ยังมีบางส่วนที่เดินทางออกไปเองโดยที่ไม่แจ้ง

สำหรับ สถานการณ์เตียงของจังหวัดในเขตสุขภาพ 12 แห่ง ยกเว้น กทม. และปริมณฑล มีจำนวนเตียงทั้งหมด 156,189 เตียง ใช้ไปแล้ว 114,786 เตียง คิดเป็น 73.49% จึงเหลือเตียงว่างทั้งหมด 41,185 เตียง  ยังเพียงพอสำหรับการรองรับผู้ป่วย 

แต่สิ่งที่ยาก คือ  ภาพรวมมีอัตราการครองเตียงสีแดง (ต้องใช้ออกซิเจน เครื่องช่วยหายใจ) อยู่ที่ 75% หรือเหลืออยู่ประมาณ 1,000 เตียง  ถือว่ายังอยู่ในระดับที่เพียงพอสำหรับการรองรับผู้ป่วยอาการหนัก แต่คาดว่าในอีก 2 สัปดาห์จากการย้ายไปรักษาที่ภูมิลำเนา จะมีจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ต่างจังหวัดสูงขึ้นจนถึงจุดพีคสุด

โดยหากประสบปัญหาเตียงขาดแคลนโดยเฉพาะเตียงสีเหลือง และสีแดง ขอให้ประชาชนวางใจ เนื่องจาก สธ. ได้วางแผนในการบริหารจัดการเตียงให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ เช่น การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลระหว่างเขตสุขภาพ เป็นต้น

บุกจับ! ผอ.รพ.บางกรวย เรียกรับเงินทอนเกือบแสนจากผู้รับเหมา อ้างนำไปใช้ภายใน - สาธารณะประโยชน์

อย่างไรก็ตาม หลายจังหวัดมีการจัดทำโครงการรับผู้ติดเชื้อกลับบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดยานพาหนะรับส่ง และล่าสุดภาครัฐ มีนโยบายให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย จัดบริการรับผู้ติดเชื้อกลับบ้าน สามารถติดต่อประสานงานล่วงหน้ากับ สปสช. เพื่อประเมินอาการก่อนเดินทาง 

เมื่อเดินทางถึงจุดนัดที่ภูมิลำเนาจะมีเจ้าหน้าที่ประเมินอาการผู้ป่วยอีกครั้งเพื่อแยกอาการ โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็น กลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย รักษาได้ทั้งในโรงพยาบาลสนาม ที่บ้านและชุมชน

กลุ่มสีเหลือง อาการปานกลาง พิจารณารักษาในโรงพยาบาลชุมชน บางจังหวัดที่มีการติดเชื้อมากได้จัดเป็นโรงพยาบาลโควิดโดยเฉพาะ

และ กลุ่มสีแดง มีอาการรุนแรง มีอาการเหนื่อย ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง รักษาในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งที่ผ่านมามีการเพิ่มเตียงไอซียูรองรับแล้ว และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยภายในเขตสุขภาพ จากการดำเนินงานทั้งหมดจะช่วยให้มีเตียงรับผู้ป่วยรักษาได้อย่างเหมาะสมตามอาการ

ส่วนจำนวนบุคคลากร ขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์ในต่างจังหวัดมีภาระงานเพิ่มขึ้น  กระทรวงสาธารณสุขจึงปรับบทบาทการทำงานของบุคลากร เช่น ทันตแพทย์ช่วยเก็บตัวอย่างตรวจเชื้อ ลดภาระแพทย์ พยาบาล หรือให้เภสัชกรและนักวิชาการสาธารณสุขมาช่วยทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ เครื่องออกซิเจนไฮโฟลว์ เป็นต้น 

“อัมพร แหวนเพชร” ไม่อายทำกิน จากนักร้องดัง หันมาเก็บของเก่าขาย

ตารางสรุปเหรียญโอลิมปิก 2020 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค. 64

    

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ