รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเผยแพร่ออกมาเมื่อวานนี้ (2 ก.ย.) ระบุว่า ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมกว่า 55 ล้านคน คิดเป็นภาระค่าใช้จ่ายปีละ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจากการที่ประชากรโลกเข้าสู่วัยสูงอายุมากขึ้น จำนวนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มเป็น 78 ล้านคน ภายในปี 2030 และ 139 ล้านคนภายในปี 2050
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมนั้นคล้ายๆ กับโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคไม่ติดต่ออื่นๆ
วิจัยเผยอยู่ใกล้ย่านรถติดเสี่ยงสมองเสื่อม
WHO เผย "มลพิษทางอากาศ-โลกร้อน" เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก
อาทิ การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้ามากเกินไป ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และการปลีกตัวจากสังคม แต่ภาวะสมองเสื่อมใช่ว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างก็สามารถควบคุมได้
อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีเพียง 1 ใน 4 ของประเทศทั้งหมดในโลกที่มีนโยบายสนับสนุนผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและครอบครัวในระดับชาติ ซึ่ง WHO ก็ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญในส่วนนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า ยารักษา ผลิตภัณฑ์สุขอนามัย และการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมนันสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าในประเทศร่ำรวยซึ่งมีระดับการอุดหนุนชดเชยที่สูง