เอ็นข้อมืออักเสบ โรคของคนที่ต้องทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์ - สมาร์ทโฟน

โดย PPTV Online

เผยแพร่

หลายที่ทำงานด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน อาจมีอาการปวดบริเวณนิ้วหัวแม่มือ อย่ามองข้ามเป็นอันขาดนั่นอาจเป็นการเริ่มต้นของโรคเอ็นข้อมืออักเสบก็ได้

ด้วยวิวัฒนาการปัจจุบัน การใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ในการทำงานสำหรับส่งข้อมูลระหว่างกันไปมา จึงเป็นเหตุ ทำให้เราใช้งานเส้นเอ็นบริเวณข้อมืออย่างหนัก ด้วยการที่เราต้องเกร็งมือ เกร็งนิ้ว เวลาพิมพ์งานหรือถือโทรศัพท์ และกลายเป็นสาเหตุทำให้เรามีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ หรือ รู้สึกปวดบริเวณข้อมือร้าวไปที่แขน นั่นอาจบ่งบอกแล้วว่าเรากำลังป่วยเป็นโรคเอ็นข้อมืออักเสบ 

เช็กเลย !! อาการแบบไหนเสี่ยง “โรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ”

หลายคนยังไม่รู้ตัวว่า กำลังเสี่ยงป่วยเป็น “โรคเดอ เกอร์แวง” !!

แนะ 6 วิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม Work from home ลดเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของการเกิดโรคเอ็นข้อมืออักเสบ

โรคเอ็นข้อมืออักเสบ เป็นโรคที่สามารถพบบ่อยในกลุ่มคนที่ใช้มือในการทำงานบ่อยๆ ซ้ำๆ โดยข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกใช้งานอย่างหนักในแต่ละวัน จนส่งผลให้เกิดการอักเสบของปลอกทำให้เกิดอาการบวม ปลอกหุ้มเส้นเอ็นหนาตัวขึ้นและเกิดการกดเบียดเส้นเอ็น ส่งผลให้ปลอกหุ้มเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ มีอาการปวดเวลาเคลื่อนไหว อาการจะเป็นมากขึ้นกับผู้หญิงอายุประมาณ 30 - 50 ปี หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเบาหวาน รูมาตอยด์ กลุ่มคนทำงาน  ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือกลุ่มที่ชอบใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน เช่น การเล่นเกมที่ต้องใช้หัวแม่มือกดตัวจอสมาร์ทโฟนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องนั้น จะทำให้อุณหภูมิของเอ็นสูงขึ้นได้ถึง 10 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้เอ็นมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บได้โดยง่าย 


สำหรับอาการที่สามารถพบได้ คือ
ปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ  รู้สึกเจ็บเวลาขยับนิ้วหัวแม่มือ เมื่อกดบริเวณเอ็นใต้รอยต่อข้อมือที่อยู่ถัดจากโคนนิ้วโป้งลงมาจะมีอาการเจ็บ โดยบ้างครั้งอาจปวดตึงไปตามแขน และอาการจะเป็นมากขึ้นไปเรื่อย ถ้ามีการใช้งาน 

และถ้าอาการปวดเรื้อรังหลายวัน ไม่มีท่าที่จะดีขึ้นหลังจากพักหรือรับประทานยา บางครั้งก็เริ่มมีอาการชา หรือเสียวแปล๊บๆ บริเวณมือ, นิ้วมือ หรือบริเวณแขนร่วมด้วย

การรักษา
หากพบอาการลักษณะนี้ในช่วงเริ่มต้น ทางที่ดีที่สุดคือควรพักมือข้างที่ป่วย ใช้ยาระงับการอักเสบ หรือประคบร้อนก็จะช่วยได้ แต่ถ้ายังไม่หาย ให้พบแพทย์เพื่อดำเนินการวินิจฉัย และใช้ยากลุ่มสเตียรรอย์ในการรักษา 

แต่ถ้าการรักษาดังกล่าวที่ว่ามาแล้วยังไม่ดีขึ้นทางสุดท้ายเลยคือแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดขยายพังผืดตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ในการผ่าตัดดังกล่าวแพทย์ก็ไม่รับรองว่าอาการ เอ็นข้อมืออักเสบ จะไม่กลับมาเป็นอีก เพราะหากเรายังใช้งานข้อมือแบบเดิมอย่างไรก็จะเกิดอาการที่ว่าขึ้นมาอีกแน่

   

อ้างอิงข้อมูล

- โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

- โรงพยาบาลพญาไท 

- นพ.เกรียงศักดิ์ เล็กเครือสุวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อเข่า ข้อสะโพก และข้อไหล่ ศูนย์ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์เฉพาะทาง ชั้น 2 

 

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ