นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงการกลายพันธุ์ของโควิด -19 สายพันธุ์มิว (B.1.621) ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้อยู่ในสายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือ Variant of Interest (VOIs) ว่า ขณะนี้ยังไม่พบในประเทศไทย และ ยังไม่น่ากังวลต่อสายพันธุ์นี้ แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าติดตามดูอย่างต่อเนื่อง
WHO ยกระดับโควิด-19 สายพันธุ์โคลอมเบีย มอบโค้ดเนม “สายพันธุ์มิว”
ญี่ปุ่นพบโควิดสายพันธุ์ “มิว” ครั้งแรก หลัง WHO เฝ้าจับตา
เนื่องจาก สายพันธุ์มิว (B.1.621) ขณะนี้พบใน 39 ประเทศทั่วโลก
โควิด-19 โคลอมเบียเริ่มคลี่คลาย ท่ามกลางกระแสหวาดกลัว “สายพันธุ์มิว”
เช่น สหรัฐอเมริกา พบ 2,400 ตัวอย่าง (37%) โคลัมเบีย 965 ตัวอย่าง (13%) สเปน 512 ตัวอย่าง (11%) เม็กซิโก 367 ตัวอย่าง (13%) เอกวาดอร์ 170 (6.0%) รวมถึงสหราชอาณาจักร และในเอเชียคือ ญี่ปุ่น แต่ยังไม่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำหรับ สายพันธุ์มิว (B.1.621) พบครั้งแรกที่ โคลัมเบีย คิดเป็น 40% ของผู้ป่วยโควิด-19สะสม ที่เป็นสายพันธุ์นี้
และหากมาดูที่ความรุนแรงของ สายพันธุ์มิว (B.1.621) นพ.ศุภกิจ ระบุว่า หน่วยงานด้านสาธาณสุขของอังกฤษ หรือ Public Health England (PHE) ประเมินความเสี่ยงว่า สายพันธุ์มิว (B.1.621) มีการหลีกหนีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติได้ดีกว่าเดิมเนื่องจากพบการกลายพันธุ์ที่ส่งผลให้ Antigenic change ได้แก่ E484K ซึ่งพบว่าการกลายพันธุ์จุดนี้มักจะดื้อวัคซีน
ส่วนข้อมูลของการแพร่หรือติดเชื้อเร็วและง่ายขึ้นหรือไม่ เมื่อเทียบกับเดลตา ขณะนี้ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ส่วนการต้านวัคซีนก็ยังมีข้อมูลอยู่ในระดับต่ำ
นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึง สายพันธุ์ C.1.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีอัตราการกลายพันธุ์สูงกว่าสายพันธุ์อื่น ประเทศไทยยังไม่ต้องตื่นตระหนก เนื่องจากยังไม่มีการค้นพบในไทย และมีการค้นพบเพียง 3% เท่านั้นในการแพร่ระบาดที่ประเทศแอฟริกาใต้
ส่วนผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 28 ส.ค.-3 ก.ย. 64 จากการสุ่มตรวจพบผู้ติดเชื้อทั้งหมดกว่า 1,523 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตาจำนวน 1,417 ราย (93%), สายพันธุ์อัลฟาจำนวน 75 ราย (5%) และสายพันธุ์เบตาจำนวน 31 ราย (2%) ส่วนในพื้นที่กทม.พบเชื้อเดลตาแล้ว 97.6%