หลายพื้นที่ยังเผชิญกับระดับน้ำท่วมสูง ทำให้ต้องอยู่กันอย่างยากลำบาก บางคนก็ออกมาพักพิงชั่วคราวบนถนน หรือยังปักหลักอยู่บนชั้นสองของบ้านเพื่อเฝ้าทรัพย์สิน ซึ่งนอกจากจะขาดแคลนเรื่องของอาหารการกินและน้ำดื่มแล้ว น้ำใช้สะอาด ๆ เองก็หาใช้ยากด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในบ้าน เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางมวลน้ำที่ท่วมขังหลายวัน อาจทำให้ไม่มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ซักเสื้อผ้า ล้างจาน อาบน้ำ หรือทำความสะอาดใด ๆ เนื่องจากระบบประปาหรือน้ำบ่อตื้นไม่สามารถใช้งานได้
เตรียมความพร้อม รับมือน้ำท่วมอย่างปลอดภัยด้วย 10 ขั้นตอนนี้
8 สิ่งที่ควรทำหลังน้ำลด ให้กลับเข้าไปอยู่ในบ้านได้อย่างปลอดภัย
วิธีดูแลรักษา รองเท้าผ้าใบ ให้ดูใหม่ พร้อมลุยทุกฤดู
นักธรณีฯ ชี้ ชั้นดินไม่แข็งตัวทำบ้านถล่ม
แต่ยังไม่หมดหนทาง ยังมีวิธีง่าย ๆ 6 ขั้นตอน ที่เราสามารถทำน้ำสะอาดจากน้ำท่วมมาใช้ได้เป็นการชั่วคราว ด้วยวิธีต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตักน้ำในบริเวณที่น้ำไม่เน่าเสีย หรือมีกลิ่นเหม็น หรือบริเวณที่น้ำไหลไกลจากห้องน้ำห้องส้วม มาใส่ถังที่มีลักษณะทรงกระบอก เช่น ถังพลาสติก 50 – 100 ลิตร
ขั้นตอนที่ 2 ตักเอาเศษสิ่งของที่ปนมากับน้ำออกให้หมด เช่น ใบไม้ เศษไม้ เศษวัชพืช
ขั้นตอนที่ 3 ใช้มือจับก้อนสารส้มจุ่มลงไปในน้ำลึกประมาณ 2 ใน 3 ของความลึกน้ำในถัง
ขั้นตอนที่ 4 ใช้มือที่จับสารส้มกวนน้ำเป็นแนววงกลม ให้สารส้มละลาย โดยช่วงแรกให้กวนเร็วจนสังเกตเห็นตะกอนที่เกิดขึ้นมีปริมาณมากแล้วจึงค่อยลดความเร็วในการกวนลง จนตะกอนมีขนาดใหญ่ให้หยุดกวนตั้งทิ้งไว้ประมาณครึ่งชัวโมงจนตะกอนตกสู่ก้นถัง
ขั้นตอนที่ 5 ค่อยๆ ตักน้ำใสส่วนบน หรือใช้วิธีกาลักน้ำ ถ่ายเทน้ำใสส่วนบนใส่ภาชนะที่สะอาด และวัดปริมาตรน้ำที่ได้
ขั้นตอนที่ 6 หยดคลอรีนน้ำ 2 เปอร์เซ็นต์ หรือหยดทิพย์ที่กรมอนามัยจัดทำขึ้น ในปริมาณ 1 หยด ต่อน้ำ 1 ลิตร ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที โดยให้คลอรีนละลายในน้ำและฆ่าเชื้อโรคอย่างทั่วถึงก่อนนำน้ำมาใช้
แม้เราจะได้น้ำสะอาดเพื่อนำมาใช้ภายในบ้านจาก 6 ขั้นตอนนี้ แต่ว่ายังไม่สะอาดพอที่จะนำมาใช้ดื่มได้ เพราะอาจจะมีสารเคมีบางชนิดปนเปื้อนมากับน้ำท่วม จึงเหมาะสำหรับนำใช้ภายในครัวเรือนเท่านั้น ส่วนน้ำสำหรับการบริโภคควรใช้น้ำดื่มบรรจุขวดแทนจะปลอดภัยที่สุด
ที่มา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข