ผ่านมาเกือบ 2 ปีแล้วกับวิกฤตโควิด-19 โดยรัฐบาลพยายามเร่งฉีดวัคซีนเพื่อให้ทุกคนได้มีภูมิคุ้มกัน แต่สำหรับใครที่รับวัคซีนแล้ว มักจะมีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล และชนิดของวัคซีนที่ได้รับ บ้างมีไข้ ปวดหัวเล็กน้อย อาเจียน หรือท้องเสีย
หนึ่งในอาการที่เรามักจะเจอเสมอหลังฉีดเสร็จได้ไม่นาน คือ อาการปวดที่ต้นแขนข้างที่ฉีด หลายคนอาจจะเจ็บแค่รอบบริเวณจุดที่ฉีด บางคนปวดร้าวไปทั้งแขน หรืออาจจะลามมาถึงไหล่ เราสามารถเตรียมตัวรับมือกับอาการปวดแขน ด้วย 6 วิธี ดังนี้
8 อาการติด "โอมิครอน" สธ.ชี้ เกินครึ่งไม่แสดงอาการ
10 ข้อแนะนำในการเตรียมพร้อม “ก่อน-ระหว่าง-หลัง” ฉีดวัคซีนโควิด-19
1. เลือกแขนให้ถูกข้าง
อาจจะเลือกแขนข้างที่ไม่ถนัด เพื่อที่เวลาเราใช้แขนจะกระทบกับผลข้างเคียงได้น้อยลง หรือถ้าเรานอนตะแคงอาจจะเลือกรับวัคซีนฝั่งตรงข้ามที่เราชอบนอนตะแคง เช่น นอนตะแคงขวา ก็รับวัคซีนที่แขนซ้าย เป็นต้น
2. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อแขน
หลีกเลี่ยงที่จะเกร็งแขนในขณะกำลังฉีด อาจจะหาจุดสนใจอื่น ที่จะดึงให้เราไม่สนใจกับการถูกฉีดวัคซีน เช่น เล่นมือถือ ดูป้าย หรือข้อความต่าง ๆ ที่พบในจุดรับวัคซีน
3. ประคบร้อน หรือเย็น
หลังฉีดหากรู้สึกปวด ให้ลองประคบเย็นอาจจะเป็นแผ่นประคบเย็น หรือผ้าชุบน้ำเย็นประคบจุดที่ฉีด จะช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ในระดับหนึ่ง ในบางคนการประคบร้อนส่งผลดีกว่า เพราะความร้อนจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ทดลองดูว่าร้อน หรือเย็น แบบไหนที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ได้ดีที่สุดสำหรับเรา
4. เคลื่อนไหวแขนข้างที่ฉีด
หลังฉีด 1 ชั่วโมง ยืด และเคลื่อนไหวแขนจะช่วยให้เลือดไหลเวียนที่แขนได้ดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดลดลงได้ อาจจะเป็นการใช้นิ้วค่อย ๆ ไต่บนกำแพง หรือหมุนแขนเป็นวงกลม
5. เลือกเวลาที่ใช่
เลือกวัน หรือเวลาฉีดวัคซีนให้ใกล้ช่วงวันหยุด จะช่วยให้เราฟื้นฟูผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เนื่องจากการกลับไปทำงานทันทีอาจทำให้เรามีเวลาฟื้นฟูน้อย ผลข้างเคียงอาจส่งผลรุนแรงขึ้นได้
6. ทานยาแก้ปวด
อย่าลืมพกยาสามัญประจำบ้านอย่าง “พาราเซตามอล” ในวันฉีดวัคซีน หลังฉีดเสร็จสามารถทานได้เลยไม่ควรทานก่อนรับวัคซีนอาจส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายเราได้
เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in
"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด
บูสเข็ม 4 ฉีดวัคซีนยี่ห้อไหนดี ศบค. เปิดสูตรวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็ม 4