นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ อย.ได้ขึ้นทะเบียนและพิจารณาอนุญาต ATK แล้วรวมทั้งสิ้น 193 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พ.ย.64) สำหรับใช้โดยประชาชน (Home use) 100 รายการ สำหรับใช้บุคลากรทางการแพทย์ (Professional use) 93 รายการ
สธ.เร่งตรวจสอบชุด ATK ผิดพลาด ครู-นร.ในมุกดาหาร เจอผลบวกปลอม ทำป่วน
รอดหมด! รร.คำสร้อยพิทยาสรรค์ ผลตรวจโควิดซ้ำ "เป็นลบ" ปล่อยเด็กกลับบ้านแล้ว - สั่งปิดเรียน on site
โดยสามารถตรวจสอบได้ ซึ่ง ATK สำหรับใช้โดยประชาชน (Home use) จะมีรูปภาพและวิดีโอคลิปให้ตรวจตรวจสอบเมื่อความมั่นใจ
ในส่วนของ ชุดตรวจ ATK ที่ใช้น้ำลาย ปัจจุบันที่ขึ้นทะเบียนกับ อย. มีอยู่ประมาณ 10 กว่ารายการ สามาถตรวจสอบใน เว็บไซต์ของ อย. https://www.fda.moph.go.th ซึ่งคุณภาพเทียบเท่ากับแบบแยงโพรงจมูกเช่นกัน แต่ราคาอาจยังสูงเนื่องจากยังมีจำนวนไม่มาก
ด้าน ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า องค์การเภสัชกรรมทำโครงการ ATK คุณภาพเพื่อสังคมไทย เพื่อจำหน่ายให้จำหน่ายชุดตรวจโควิด-19 ATK ที่มีคุณภาพ ราคาถูก ประชาชนเข้าถึงได้ และสอดรับกับนโยบายรัฐบาลจะเปิดประเทศ รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ
ซึ่งทางองค์การเภสัชกรรม จะมีข้อกำหนดในการจัดซื้อ ตรวจสอบเอกสารและต้องผ่านมาตรฐาน อย. รวมถึงเอาตัวอย่างจริงไปทดสอบด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าที่ได้ขึ้นทะเบียนมีคุณภาพจริง เป็นการช่วยคัดสรรได้อีกทางหนึ่งก่อนนำมาวางจำหน่าย
การที่องค์การเภสัชกรรมสามารถจำหน่ายได้ในราคาถูก เนื่องจากเป็นการเปิดประมูลและสั่งซื้อเป็นจำนวน มาก จึงได้ในราคาพิเศษ แต่ขอย้ำว่า “ชุดตรวจ ATK ทีมีราคาถูกไม่ได้หมายถึงคุณภาพจะต่ำไปด้วย”
ขณะเดียวกัน อยากให้ผู้บริโภคเมื่อซื้อไปแล้วให้ดูวิธีการจัดเก็บโดยเฉพาะอุณหภูมิที่กำหนดข้างกล่อง ไม่เช่นนั้นแล้วจะส่งผลต่อคุณภาพของชุดตรวจหากเก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม นอกจากนั้นต้องอ่านคู่มือวิธีการใช้อย่างละเอียด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีความต้องการสูงมาก ทางองค์การเภสัชกรรมเพิ่มช่องทางการขายผ่านออนไลน์ผ่าน https://www.gpoplanet.com/ ซึ่งหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง ทางองค์การเภสัชกรรมจึงจะทยอยสั่งมาจำหน่ายเรื่อยๆ และจำกัดการซื้อได้คนละ 1 กล่อง
ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ชุดตรวจโควิด-19 หรือ ATK นั้นจะใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการหลังจากสัมผัสโรคมาภายใน 3-5 วัน หรือตามความจำเป็น
ผู้ที่ต้องสงสัยติดเชื้อทางเดินหายใจ มีไข้ อุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรถ หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือ ลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
สำหรับการเฝ้าระวังการติดเชื้อในสถานประกอบการ สถานบริการ หรือสถานที่ต่างๆ (COVID Free Setting) โดยมีความถี่ในการตรวจตามข้อแนะนำ เบื้องต้นสามารถตรวจได้ทุกสัปดาห์หรือถี่กว่านั้นตามความจำเป็น
ซึ่งการเก็บตัวอย่างที่เหมาะสมตามที่ชุดตรวจกำหนด คือ
ตัวอย่างที่เก็บจากโพรงจมูก (Nasal swab) เก็บตัวอย่างจากรูจมูกทั้งสองข้าง ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปั่นข้างละ 5 รอบ
ตัวอย่างน้ำลาย (Saliva) ใช้กับชุดทดสอบที่ระบุว่าใช้กับน้ำลายได้เท่านั้น
อ่านเอกสารกำกับทั้งก่อนและหลังใช้ชุดทดสอบอย่างเคร่งครัด สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ "อ่านผลตามระยะเวลาที่กำหนด"
สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผลตรวจไม่ถูกต้อง เป็นผลบวกปลอม (ไม่ติดเชื้อแต่ผลทดสอบเป็นบวก) คือ ชุดตรวจไม่ผ่านมาตรฐาน อย. การปบเปื้อนจากสถานที่ทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ การติดเชื้อไวรัส หรือจุลชีพอื่นๆ ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น อ่านผลเกินเวลาที่กำหนด และสภาพสิ่งตรวจไม่เหมาะสม
กรณีผลลบปลอม (ติดเชื้อแต่ผลทดสอบเป็นลบ) เพิ่งติดเชื้อระยะแรกปริมาณไวรัสต่ำ การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง ดำเนินการตามขั้นตอนการทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น ไม่อ่านผลในช่วงเวลาที่กำหนด ปริมาณตัวอย่างที่หยดไม่เป็นไปตามที่กำหนด