เมื่อพูดถึง ชา ปัจจุบันมี ชามากมายให้เราได้ลิ้มรสไม่ว่าจะเป็น ชาเขียว ชาดำ ชาขาว ชาอู่หลง ชาจีน หรือว่าชาสมุนไพรต่างๆด้วยความหอม และรสชาติ ของชาแต่ละชนิดที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงขั้นตอนในการรับประทานชา ที่ต้องใช้อุณหภูมิความร้อนที่แตกต่างกัน หรือน้ำที่ใช้ชงก็มีผลกับน้ำชาที่ดื่ม จึงส่งผลให้มันกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ
เตือนดื่ม “ชานมไข่มุก”บ่อย เสี่ยงโรคอ้วน-เบาหวาน-หัวใจ
กรมอนามัย หนุนคนไทยกินไข่วันละฟอง ดื่มนมวันละแก้ว เสริมโปรตีน-แคลเซียม
เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ จากความนิยมรับประทานชา บางครั้งก็เกิดความเชื่อที่สืบทอดต่อกันมามากมาย อาทิ พิธีการชงชา หรือประเพณีการรับประทานชา รวมไปถึง แนวความคิดเรื่องการับประทานชาเพื่อขับไขมัน
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การรับประทานชา ไม่ได้ช่วยขับไขมันแต่อย่างใด เนื่องจากระบวนการของร่างกาย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ก็จะมีการย่อย ดูดซึม และขับออก อยู่แล้ว ดังนั้นการกินชาไม่สามารถล้างไขมันจากอาหารที่เรากินมันก็ไปได้
ในขณะที่บางคน เชื่อว่า การกินชาร้อนๆ จะช่วยล้างไขมันได้ แต่ความจริงคือ ไม่สามารถทำได้ เพราะว่าร่างกายของเรามีกลไกในการปรับอุณหภูมิ เมื่ออาหารเข้าสู่ร่างกายของเราไม่ว่าจะเป็นอาหารเย็น หรืออาหารร้อน ร่างการก็จะปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้นการกินชาร้อนก็ไม่ได้ช่วยล้างไขมันในร่างกาย
ข้อมูลเกี่ยวกับชาที่ถูกนำเสนอมาก นั่นก็คือ การกินชาจะช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญและลดน้ำหนักได้
สำหรับข้อแนะนำในการดื่มชา
1. เราควรดื่มชาในปริมาณที่เหมาะสม โดยถ้าคิดในเรื่องของปริมาณกาเฟอีนที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะว่าตัวช้าเนี่ยก็ยังจะมีสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในเรื่องของสารคาเทชินก็จะช่วยในเรื่องของการป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือว่าในแง่ของการแก้เลี่ยนตัวคาเทชิน ก็จะกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย ซึ่งก็จะช่วยให้เราแก้เลี่ยนจากการรับประทานอาหารมันๆ ได้
ป้องกัน “โรคหัวใจ” ด้วย “เครื่องแกงและน้ำพริก
2. เราไม่ควรดื่มชาใกล้เคียงกับเวลานอน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอนหลังเพราะว่าตัวชาจะมีคาเฟอีน ซึ่งฤทธิของคาเฟอีนจะอยู่ในเลือดของเราประมาณ 6 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าเราจะนอนตอน 3 ทุ่ม หลัง บ่าย 3 เราไม่ควรจะดื่มชาเพื่อไม่ให้ตัวฤทธิของคาเฟอีนในชาขัดขวางการนอนหลับ
ที่มาข้อมูล
- ดร.วนะพร ทองโฉม นักวิชาการโภชนาการ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล