ภาวะออทิสติกเทียม เกิดขึ้นได้หากพ่อแม่ ปล่อยเด็กไว้กับจอ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปัญหาภาวะคล้ายออทิสติก สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กที่ขาดการใส่ใจดูแลจากพ่อแม่ โดยปล่อยลูกไว้กับหน้าจอโทรศัพท์ หรือแท็บแล็ต แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการกระตุ้นพัฒนาการ

ภาวะออทิสติกเทียม เป็นภาวะที่เกิดจากการที่เด็กขาดการถูกกระตุ้น ในการสื่อสารสองทางจึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้จากการที่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูก  เช่น ไม่พูดคุย ไม่เล่นกับลูก เป็นต้น แต่กลับปล่อยให้เด็กอยู่กับอุปกรณ์สื่อสาร อาทิ แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ส่งผลให้เด็กเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสังคม และมีพัฒนาการด้านการสื่อสารช้าตามไปด้วย 

จิตแพทย์เด็กแนะ 5 พฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ควรปฏิบัติกับลูกเวลาโกรธ

เลี้ยงลูกผ่านหน้าจอ ต้องระวัง 'ภาวะออทิสติกเทียม'

ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ลอตเตอรี่ 16/12/64

ภาวะออทิสติก กับภาวะออทิสติเทียม อาจจะคล้ายคลึงกัน แต่ทั้ง 2 มีความแตกต่างตรงที่ ภาวะออทิสติกนั้นเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา แต่ภาวะออทิสติเทียมนั้นเกิดจากการขาดการกระตุ้น โดยเด็กกลุ่มนี้หากได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม ถูกทางในระยะเวลาสั้น ๆ ก็จะสามารถกลับมาเป็นเด็กปกติได้ 

วิธีตรวจเช็กว่าลูกเข้าข่าย ออทิสติกหรือไม่ 

ช่วงอายุ 6 เดือน     ไม่ยิ้มหรือไม่แสดงอารมณ์สนุกสนาน
ช่วงอายุ 9 เดือน     ไม่มีการส่งเสียง ยิ้ม แสดงสีหน้า โต้ตอบกลับไปมา
ช่วงอายุ 12 เดือน     ไม่หันหาเสียงเรียกชื่อ ไม่เล่นน้ำลาย
ช่วงอายุ 18 เดือน     ไม่มีการเล่นสมมติง่าย ๆ ไม่มีการใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษาท่าทาง


วิธีป้องกันไม่ให้ลูกมีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก 

1. พูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อให้ลูกเรียนรู้การออกเสียงและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้เลี้ยงดู น้อยควรคุยกับเด็กวันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง

2.ไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เล่นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต 
3. หากเป็นเด็กอายุมากว่า 2 ปี จำกัดเวลาดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์  ควรเป็นเล่นไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน 
4. พ่อแม่ควรหากิจกรรม เสริมสร้างทักษะด้วยการเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการสมองและร่างกาย เช่น การต่อบล็อก ร้อยเชือก ระบายสี ปั่นแป้ง เตะบอล ขี่จักรยาน เป็นต้น
5. หมั่นพาลูกไปเข้าสัมคม พบปะกันคนอื่น 

ทั้งนี้ ถ้าเด็กมีพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะสามารถหายขาดและหายไวได้ถ้ารู้โดยเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่พบว่ามีพฤติกรรมคล้ายออทิสติกถ้าทำการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะดีขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน และกลับมาเป็นเด็กปกติได้

สำหรับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่กำลังสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าลูกเป็นออทิสติกหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายออทิสติกหรือไม่ ควรนำเด็กเข้ารับการตรวจเช็กพัฒนาการกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยอาการที่ถูกต้องและไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะวัย 5 ขวบแรกเป็นช่วงวัยที่สมองของเด็กมีพัฒนาการอย่างเต็มที่ต้องป้องกันและรีบรักษาให้ถูกวิธี

แนะ 5 เทคนิค ง่ายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ไว้รับมือเจ้าตัวน้อยเวลามีพฤติกรรมก้าวร้าว

รู้ลึก! ภาวะปัญญาอ่อนกับออทิสติก ความเหมือนที่แตกต่าง

ที่มา 

คลินิกพัฒนาการเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ