เมื่อร่างกายผู้หญิงเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือน มักเกิดอาการต่างๆเนื่องมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงจากการทำงานของรังไข่ โดยผู้หญิงประมาณ 15-20 % จะไม่มีอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ นอกจากประจำเดือนหมดไปเท่านั้น ขณะที่บางคนอาจมีอาการรุนแรง จนกระทบกับวิถีชีวิตประจำวัน
ซึ่งวิธีสังเกตุว่า ร่างกายของคุณเข้าสู่วัยทองแล้วหรือไม่สามารถเช็กได้จาก 8 อาการนี้
1. การมาของประจำเดือน ผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทองจะแตกต่างกันออกไป บางรายประจำเดือนอาจขาดและหายไปเลย ในขณะที่บางรายจะค่อยๆ น้อย และหมดลงถือว่าปกติ
ไขข้อข้องใจ ผู้ชายวัยทอง กับคุณหมอสุกมล
4 โรคต้อ ทำร้ายดวงตา รีบตรวจหาว่าคุณเป็นต้อชนิดไหน
เริ่ม! 27 ธ.ค. นี้ "ศิริราช" เปิดจองวัคซีน "ไฟเซอร์" เข็ม 1, 2 และ 3
3 จาก 5 อาการหลักต้องสงสัย "โอมิครอน" ถ้ามีอย่าเพิ่งไปฉลอง
2. ร้อนวูบวาบ และเหงื่อออกในตอนกลางคืน โดยอาการร้อนวูบวาบนี้มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณหน้าอกขึ้นไปที่ลำคอและใบหน้า มักเกิดร่วมกับอาการเหงื่อออกและตามมาด้วยอาการหนาวสั่น
3. หงุดหงิดง่าย การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่ออารมณ์และจิตใจ อาจทำให้มีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า และซึมเศร้า
4. ช่องคลอดแห้ง ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ในสตรีอาการที่พบคือ ช่องคลอดแห้ง การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบๆ ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะมีการฝ่อลีบ และหย่อนตัว เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม หรือหัวเราะ รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
5. กระดูกพรุนเปราะง่าย โดยปกติร่างกายจะมีการสร้างกระดูกใหม่และสลายกระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา โดยในวัยเด็กและวัยรุ่นการสร้างกระดูกจะเกิดขึ้นมากกว่าสลายกระดูก แต่หลังอายุ 35 ปี มวลกระดูกจะเริ่มลดลง อย่างช้าๆ ประมาณร้อยละ 0.3 - 0.5 ต่อปี
6. อาจมีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ผลต่อไขมันและระบบหลอดเลือด การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้ระดับไขมัน Cholesterol และไขมันเลว LDL เพิ่มสูงขึ้น ส่วนไขมัน HDL จะลดต่ำลง ทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดได้มากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
ผลทดสอบเบื้องต้น “โมเดอร์นา 3 เข็ม” กระตุ้นภูมิต้าน “โอมิครอน” ได้
7. หลงลืมง่าย เมื่อเข้าสู่วัยทองอาจมีอาการหลงลืมง่าย ความสามารถในการจำชื่อคน หรือข้อมูลสำคัญลดลง และอาจส่งผลให้กลายเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) ดังนั้นสตรีวัยทองไม่ควรปล่อยสมองให้อยู่นิ่ง ควรมีกิจกรรมให้สมองได้ทำงานบ่อยๆ เช่นการคิดเลข ต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น
8. ภาวะนอนไม่หลับ บางรายอาจรู้สึกนอนไม่หลับเลยจนสว่าง หรือบางรายอาจนอนหลับๆ ตื่นๆ หลายรอบในแต่ละคืน ซึ่งอาการทั้งหมดจะให้ทำสมองไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จึงส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมอย่างมาก และส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้
ที่มา
อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลเปาโล
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล