4 โรคต้อ ทำร้ายดวงตา รีบตรวจหาว่าคุณเป็นต้อชนิดไหน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เช็คด่วน ! คุณเป็นโรคตาต้อชนิดไหน แต่ละแบบมีอาการที่แตกต่างกันออกไป โปรดอย่าชะล่าใจไปเพราะหากไม่ถนอมดวงตาให้ดี โรคนี้อาจมาเยือน

1. ต้อลม (Pinguecula)

ลักษณะเป็นเนื้อนูนที่เยื่อบุตาด้านข้างกระจกตาหรือตาดำโดยอยู่เฉพาะที่เยื่อบุตาขาว (Conjunctiva) ส่วนใหญ่มักเกิดอยู่ที่บริเวณหัวตาด้านในใกล้จมูกแต่อาจจะเป็นได้ทั้งด้านหัวตาและหางตาพร้อมกันได้  เมื่อเยื่อบุตานูนขึ้นส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตามากขึ้นได้    ส่วนสาเหตุของต้อลมมาจากรังสียูวี  อาการที่เกิดขึ้นคือตาแห้งเคืองตาแสบตาคันตา และตาแดง

ระวัง! "โรคต้อลมต้อเนื้อ" หยุดพฤติกรรมเสี่ยงเป็นแล้วหายขาดยาก

“วุ้นตาเสื่อม” ภัยเงียบสังคมก้มหน้าวัยทำงาน

คุณเสี่ยงเป็น “โรคตา” หรือไม่? เช็ก 8 โรคตาต้องระวัง

 

 

การรักษาต้อลมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคหากโรคยังไม่รุนแรงคือต้อมีขนาดเล็กผู้ป่วยไม่รู้สึกระคายเคืองการรักษาในระยะนี้แพทย์มักแนะนำให้ป้องกันเพื่อไม่ให้เป็นมากขึ้นโดยปกป้องดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเลตอย่างเคร่งครัดด้วยการสวมแว่นกันแดดอย่างสม่ำเสมอเมื่อมีกิจกรรมนอกอาคารเพื่อไม่ให้ต้อเติบโตลุกลาม

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

                                                              สั่งซื้อได้ที่ >> คลิก

2.ต้อเนื้อ (Pterygium)

ลักษณะเห็นเป็นเนื้อสามเหลี่ยม โดยมีหัวอยู่ที่กระจกตา เนื้อเยื่อเหมือนเยื่อบุตาซึ่งมีเส้นเลือดวิ่งเข้าไปเกาะอยู่บนกระจกตาดำ อาจใหญ่หรือเล็กก็ได้ จะแดงมากน้อยขึ้นอยู่กับมีปริมาณเส้นเลือดมากหรือน้อย ทั้งต้อลมและต้อเนื้อส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณหัวตาด้านในใกล้จมูก แต่อาจจะเป็นได้ทั้งด้านหัวตาและหางตาพร้อมกัน และต้อเนื้อเกิดจากการถูกแสงอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นเวลาต่อเนื่องกันนาน  ในกรณีของต้อเนื้อที่มีการลุกลามเข้าไปบนกระจกตามากมีขนาดใหญ่และอักเสบเรื้อรังการมองเห็นแย่ลงเพราะกดกระจกตาจักษุแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อเนื้อเพื่อลอกเอาเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากเยื่อตาและผิวกระจกตาต้อเนื้อเป็นโรคที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูงหลังการผ่าตัดโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อยและผู้ที่ยังคงได้รับรังสีUVอย่างต่อเนื่องดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดต้อเนื้อซ้ำแพทย์มักผ่าตัดด้วยวิธีปลูกถ่ายเนื้อเยื่อใหม่โดยใช้เยื่อบุตาขาวของผู้ป่วยเองหรือเยื่อหุ้มรกที่เตรียมพิเศษซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในปัจจุบันโดยอาจใช้วิธีเย็บเนื้อเยื่อหรือใช้ Fibrin Glue  ส่วนการป้องกันการเกิดต้อเนื้อเหมือนกับต้อลมคือควรหลีกเลี่ยงแสงแดด

 

3.ต้อกระจก (Cataract)

เป็นโรคที่มีเลนส์แก้วตาขุ่นลง สาเหตุหลักคือจากการเสื่อมของเลนส์ตาตามอายุ มักพบในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่เกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน เช่น เป็นตั้งแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุกับดวงตา หรือการได้รับยากลุ่ม Steroid เป็นต้น อาการที่มักพบคือ มองเห็นมัวเหมือนมีฝ้า มองเห็นสีเพี้ยน ภาพซ้อน ตามัวในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน เมื่ออยู่กลางแดดตาจะสู้แสงไม่ได้ 

ผลทดสอบเบื้องต้น “โมเดอร์นา 3 เข็ม” กระตุ้นภูมิต้าน “โอมิครอน” ได้

 

ส่วนการรักษานั้นยังไม่มียาหยอดตาหรือยารับประทานเมื่อมองเห็นมัวลงมีผลต่อการใช้ชีวิตควรได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดปัจจุบันวิธีที่เป็นมาตรฐานที่นิยมคือวิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อและใส่เลนส์แก้วตาเทียม (Phacoemulsification with Intraocular Lens) โดยส่วนใหญ่ใช้เพียงแค่ยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเร็วแผลมีขนาดเล็กกลับมามองเห็นเร็วไม่ต้องนอนโรงพยาบาลเลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่ทดแทนเมื่อนำต้อกระจกออกแล้วในปัจจุบันมีให้เลือกหลายชนิดตามความต้องการของคนไข้มีทั้งเลนส์ที่ชัดระยะเดียวมองไกลได้ชัดเจนมากขึ้นหรือเลนส์ชัดหลายระยะที่หลังผ่าตัดลดการพึ่งพาแว่นลงทำให้กลับมาใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น  หรือถ้าคนไข้มีสายตาเอียงสามารถแก้สายตาเอียงไปพร้อมกันได้จากการเลือกเลนส์ให้เหมาะสม

สำหรับ การป้องกันต้อกระจกแนะนำให้ใส่แว่นกันแดดทุกครั้งเมื่ออยู่กลางแจ้งเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตระมัดระวังไม่ให้ดวงตาถูกกระแทกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น

 

4. ต้อหิน (Glaucoma)

เป็นโรคที่มีความเสื่อมของขั้วประสาทตาที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้เพราะไม่มีอาการบอกล่วงหน้า  มักพบความดันในลูกตาสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้โรคแย่ลง ส่งผลทำลายเส้นประสาทตาและขั้วประสาทตา ทำให้เกิดการสูญเสียลานสายตาอย่างถาวรได้  ต้อหินบางชนิดความดันลูกตาไม่สูง แต่ต้องคุมความดันตาให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมมากขึ้น ถ้าหากไม่ทำการรักษาจะทำให้ลานสายตาค่อย ๆ แคบลงจนตาบอดได้ในที่สุด พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ที่พบมากคืออายุ 40 ปีขึ้นไป   ส่วนวิธีการรักษาต้อหินแม้ไม่ได้ช่วยให้หายขาดแต่ช่วยควบคุมไม่ให้อาการแย่ลงส่วนใหญ่รักษาเพื่อควบคุมความดันตาให้เหมาะสมโดยมีทั้งการใช้ยาหยอดตายารับประทานการใช้เลเซอร์รักษาตามชนิดต้อหินและการผ่าตัดที่ใช้เมื่อรักษาด้วยยาและเลเซอร์ไม่ได้ผลโดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของจักษุแพทย์เพื่อคุมความดันลูกตาให้อยู่ในเกณฑ์ดี

เริ่ม! 27 ธ.ค. นี้ "ศิริราช" เปิดจองวัคซีน "ไฟเซอร์" เข็ม 1, 2 และ 3

                                                              สั่งซื้อได้ที่ >> คลิก

อย่างไรก็ตามการตรวจเช็กดวงตากับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำทุกปี เป็นเรื่องสำคัญ  นอกจากจะช่วยประเมินสุขภาพดวงตาได้อย่างละเอียดแล้ว หากตรวจพบว่าดวงตามีปัญหาโรคต้อสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่จะร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ