แนะ 4 สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่เหมาะกับคนเป็นเบาหวาน - ควบคุมน้ำหนัก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ถือเป็นทางเลือกหนึ่งคนที่ไม่ต้องการพลังงาน หรือคนที่เป็นโรคเบาหวานควรใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือ น้ำตาลเทียม ถูกใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหาร หรือเครื่องดื่มให้เพื่อยังคงรสชาติหวานเหมือนรับประทานน้ำตาล แต่พลังงานต่ำ หรือแทบจะไม่ให้พลังงานเลย หากเทียบกับการรับประทานน้ำตาลจริง ซึ่งสารให้ความหวานนี้เหมาะกับการนำมาใช้ในกลุ่มผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก รวมไปถึงกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวานที่ต้องคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้อยู่ในเกณฑ์อันตราย

ตรวจเช็ก 8 สัญญาณเตือนจากร่างกาย ที่บ่งว่าตัวคุณเสี่ยงเป็นเบาหวาน

10 เข้าใจ และ ความเชื่อแบบ ผิดๆ เกี่ยวกับคนเป็นโรคเบาหวาน

ซึ่งในกลุ่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. สารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุกโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลจากผลไม้ มอลทิทอล ซอร์บิทอล และไซลิทอล แต่สารกลุ่มนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน 

2. สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งแบ่งเป็น 4 ชนิด ดังต่อไปนี้
    2.1 ซูคราโรส (Sucralose) เป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีพลังงาน โดยให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 600 เท่า ปลอดภัยไม่มีสารสะสมในร่างกาย 
    ข้อดี      ไม่มีรสขมติดลิ้นและไม่ให้พลังงาน ใช้ปรุงอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงได้ 
    ข้อเสีย   ทำให้กระเพาะไวต่อสิ่งกระตุ้น และอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ในบางคน
    2.2 สตีเวีย (Stevia) หรือ หญ้าหวาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 200 เท่า และมีพลังงานน้อยมาก 
    ข้อดีคือ สามารถทนกรดและทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียสโดยไม่สลายตัว ดังนั้น นอกจากจะใช้ใส่ในเครื่องดื่มแล้ว ยังสามารถเอามาทดแทนน้ำตาลในอาหารที่ต้องผ่านความร้อน และสตีเวียยังไม่มีรายงานผลแทรกซ้อน

    2.3 แอสพาร์แตม (Aspartame) ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 180-200 เท่า 
    ข้อดี      มีรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทราย ทั้งยังไม่ให้เกิดภาวะฟันผุและไม่กระตุ้นน้ำตาลในเลือดสูง 
    ข้อเสีย  สลายตัวในอุณหภูมิที่สูง หากรับประทานแอสพาร์แตมในระหว่างที่ตั้งครรภ์ อาจมีอาการมึนงง ซึมเศร้า นอนไม่หลับ และยังห้ามใช้ในผู้ป่วยสภาวะฟินิลคีโตนูเรีย

    2.4 แซคคารีน (Saccharin) เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 200-700 เท่า มีรสชาติหวานแต่ให้พลังงานต่ำมาก แต่ข้อเสียก็คือ เมื่อใช้มากมักจะมีรสขม ถ้าหากรับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๆ ในปริมาณสูง คือวันหนึ่งประมาณ 6 ครั้ง ก็อาจจะมีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้

และแม้สารให้ความหวานเหล่านี้ จะเหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จริง แต่หากรับประทานมากไปก็จะเป็นอันตราย ได้เช่นกัน

แพทย์แนะ “ผู้ป่วยเบาหวาน” รีบฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 หวั่นติดเชื้อแล้วป่วยหนัก

เช็กที่นี่ ! รวมจุดฉีดวัคซีนโควิด ทั้งแบบลงทะเบียน และ Walk in

ที่มา 
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข
 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ