LONG COVID คืออะไร ?
อาการและอาการแสดงของโรคโควิด-19 คล้ายคลึงกับการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ มึนศีรษะ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว และอาจมีบางอาการที่มีความจำเพาะต่อเชื้อไวรัสตัวนี้ เช่น การไม่ได้กลิ่นหรือการไม่ได้รส อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อสามารถมีอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรักษาหายจากโรคแล้วได้ด้วย ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านั้นเรียกว่า ภาวะโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID)
LONG COVID อาการต่อเนื่องของคนเคยป่วยโควิด ที่ไม่ควรมองข้าม
55 อาการเรื้อรัง "ลองโควิด" (Long Covid) หลังหายป่วยโควิด-19
กลุ่มอาการหรือภาวะโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) นั้นมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไป เช่น COVID Long Hauler, Post – acute COVID syndrome, ภาวะหลังการติดเชื้อโควิด เป็นต้น
อาการ LONG COVID
กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อโควิดตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเกิดขึ้นได้กับหลายระบบในร่างกาย โดยมีอาการและอาการแสดในแต่ละระบบที่แตกต่างกันไปดังนี้ ระบบทางเดินหายใจ อาการเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก ระบบหัวใจและหลอดเลือด อาการใจสั่น แน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว ระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย ลดความอยากอาหาร อาการอื่น ๆ ที่ไม่จำเพาะเจาะจงต่อระบบใด ๆ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อ ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
สั่งซื้อได้ที่ >> คลิก
LONG COVID กับอาการทางระบบประสาท
อีกหนึ่งในกลุ่มอาการของโพสต์โควิด (Post – COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) ที่พบได้บ่อย คือ อาการในส่วนของระบบประสาทและจิตเวชศาสตร์ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ ภาวะสมองล้า (Brain Fog) ภาวะสับสน (Delirium) ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Dysfunction) ภาวะเครียดภายหลังภยันตรายหรือพีทีเอสดี (Post Traumatic Stress Disorder: PTSD) อาการซึมเศร้า กลุ่มอาการย้ำคิดย้ำทำ และภาวะวิตกกังวล (Anxiety) เป็นต้น
สำหรับภาวะสมองล้า คือ ภาวะที่สมองมีการทำงานลดลง โดยส่งผลให้การคิดและตัดสินใจช้าลง การวางแผนและแก้ปัญหาลดลง รวมถึงการลดลงของสมาธิ บางคนอาจเป็นมากจนส่งผลให้ลืมความจำระยะสั้น หรือทำให้ไม่สามารถทำงานที่เคยทำเป็นประจำได้
ทั้งนี้ มีกลุ่มอาการหนึ่งที่พบได้ไม่บ่อยในกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 21 ปี โดยเป็นภาวะที่พบได้หลังจากการติดเชื้อโควิด-19 เป็นเวลา 2 – 8 สัปดาห์ เรียกว่า กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children, MIS-C, โรคมิสซี) ซึ่งจะมีการอักเสบในหลายระบบและมีอาการต่าง ๆ คล้ายกับภาวะ Long COVID ได้
สั่งซื้อได้ที่ >> คลิก
อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงในการเกิด Long COVID ดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลจากผุ้ป่วยจำนวนไม่มาก หากเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีเป็นหลักล้านคน ดังนั้นอาจจะต้องรอการศึกษาในอนาคตที่มีการเก็บรวมรวมคนไข้ได้มากกว่านี้ ถึงจะสรุปได้แน่ชัดว่าปัจจัยเสี่ยงของภาวะดังกล่าวมีอะไรบ้าง
ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ