เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปในปาก อาหารจะเดินทางผ่านหลอดอาหารลงไปสู่กระเพาะอาหารด้วยกันเดินทางแบบวันเวย์(ทางเดียว) เพราะว่ารอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารจะมีกล้ามเนื้อหูรูดอยู่ เมื่ออาหารผ่านเข้าไปสู่กระเพาะอาหารแล้วกล้ามเนื้อหูรูดก็จะปิด อาหารก็จะเดินทางต่อไปยังลำไส้ จะไม่เดินทางย้อนกลับ ยกเว้นเมื่อเราอาเจียน (ซึ่งเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช้กรดไหลย้อน)
รู้ทัน ! "กรดไหลย้อน" โรคน่ารำคาญใจรบกวนคุณภาพชีวิต
สายตรวจพิชิตโรค : กินก่อนนอน 4 ชั่วโมง เสี่ยง “กรดไหลย้อน” (คลิป)
"กรดไหลย้อน" อาการใกล้ตัวที่ไม่เลือกวัย | อาการน่าเป็นห่วง EP.17
แต่เมื่อไหร่ก็ตามถ้ามีอะไรทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวหรือมีการหย่อนตัวจะทำให้สิ่งต่างๆที่อยู่ในกระเพาะสามารถที่จะไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ เราจึงเรียกอาการนี้ว่า กรดไหลย้อน
สาเหตุของกดไหลย้อน คือ กล้ามเนื้อหูรูดตรงกระเพาะอาหารมีการหย่อนหรือคลายตัว ไม่สามารถที่จะปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ของต่างๆในกระเพาะย้อนกลับขึ้นมา ซึ่งสาเหตุมีหลายอย่างหลักๆ คือ เรื่องของน้ำหนักตัวเยอะ โดยเฉพาะคนที่มีพุง ทำให้แรงดันในช่องท้องเยอะอาจทำให้ไปดันกระเพาะให้ของต่างๆไหลย้อนขึ้นมาได้
และพบได้ในสุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อมีทารกอยู่ในครรภ์ อาจส่งผลให้เกิดแรงดันภายในท้องมากกว่าปกติ แต่สำหรับสุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์ คลอดบุตรแล้ว อาการกรดไหลย้อนมักจะหายได้เอง
มีวิจัยทางการแพทย์หลายฉบับที่ยืนยันว่าการสูบบุหรี่ต่อเนื่องเป็นประจำนั้น สารนิโคตินในบุหรี่ จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหูรูดคลายตัวได้ง่ายกว่าปกติ และทำให้เกิดกรดไหลย้อน
การรับประทานอาหารดึกๆ มื้อใหญ่ เช่น บุฟเฟต์ ก็ทำให้แรงดันในท้องมีมาก โดยเฉพาะ อาหารประเภทมัน อาหารทอด จะกระตุ้นให้เกิดกรดไหลย้อนได้
อาการของกรดไหลย้อน คือ ปวดจุกแน่น บริเวณลิ้นปี่ ลักษณะของการปวดเกิดเพราะกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและทำให้เกิดการระคายเคืองร่างกายก็จะรู้สึกปวดแต่เป็นความรู้สึกแบบปวดแสบ อาจจะมีอาการอาเจียนร่วมได้ บางรายอาจรู้สึกแน่นหน้าอก หรือรู้สึกมีก้อนจุกอยู่
แต่กรดไหลย้อนไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยมักไม่ค่อยรอให้มีอาการหนัก ส่วนใหญ่หากพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการจุกเสียดจะมีการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการและพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ที่มา : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS