ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยซ้ำได้ แม้เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนไปแล้ว


โดย BDMS

เผยแพร่




เป็นเวลากว่า 3 ปี มาแล้ว ที่ประเทศไทยมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดอัตราป่วยและเสียชีวิตของประชาชนสูงขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่กระทบต่อสุขภาพแต่ยังกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดยเริ่มแรกนั้น ไวรัสโควิด-19 ตัวแรก คือ สายพันธุ์อู่ฮั่น ซึ่งเริ่มต้นระบาดจากมณฑลอู่ฮั่นในประเทศจีนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2563 หลังจากนั้นไม่นานก็แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 3 ปี

เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา โดยธรรมชาติสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดิม 

โควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 หนีวัคซีนได้น้อยกว่า BA.1 เล็กน้อย

จับตาโควิด Ba.4 และ Ba.5 ทำปอดอักเสบ หนีภูมิ "ติดเชื้อ - วัคซีน" ได้

โควิด-19 BA.5 หลบภูมิคุ้มกันได้ดี เสี่ยงทำคนติดเชื้อซ้ำง่าย

ปัจจุบันจากไวรัสโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่นแรกเริ่ม ได้กลายพันธุ์เป็นเชื้อไวรัสโควิดต่าง ๆ กันอีกหลาย 10 ชนิด 

ล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่น่ากังวล สายพันธุ์ชนิดใหม่ลำดับที่ 5 ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในประเทศแถบแอฟริกา คือ สายพันธุ์โอไมครอน สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แต่มีความรุนแรงค่อนข้างต่ำ และมีสายพันธุ์ย่อยอีกหลากหลายชนิด เช่น สายพันธุ์ย่อย BA.1 BA.2 BA.3 BA.4 และ BA.5 สายพันธุ์ที่ได้รับการถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5

จากสถิติและข้อมูลล่าสุดของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่า 99% ของผู้ติดเชื้อทั่วโลกในขณะนี้ เป็นสายพันธุ์โอไมครอน เมื่อจำแนกโดยละเอียดพบว่า สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 เกินกว่าครึ่ง

ความต่างของสายพันธุ์โอไมครอน BA.4 และ BA.5 กับสายพันธุ์อื่นๆ คือ สามารถติดต่อและแพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่ความสามารถในการหลบการวินิจฉัยค่อนข้างต่ำ จึงสามารถตรวจใช้ได้การตรวจในห้องปฏิบัติการ การตรวจ RT-PCR และ ATK

อย่างไรก็ดี สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 นั้น การติดเชื้อและอาการโดยรวมไม่รุนแรง การรักษาโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ จึงใช้การรักษาแบบประคับประคอง ใช้ยาต้านไวรัสตามความจำเป็น ประเด็นที่น่าสนใจในสายพันธุ์นี้ คือ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อค่อนข้างสูงในผู้ที่เคยเป็นโควิดมาก่อนก็ยังสามารถติดซ้ำได้ ข้อมูลจากการวิจัยในห้องทดลองของหลากหลายสถาบันพบว่า วัคซีนในปัจจุบันอาจมีคุณสมบัติในการหยุดยั้งสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ได้น้อยกว่าสายพันธุ์โอไมครอนปกติ จึงเป็นเหตุที่ว่าบุคคลที่เคยติดเชื้อ โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้วยังคงสามารถติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยได้ซ้ำอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนมากนักเรื่องของวัคซีนเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่เพิ่งระบาดใหม่ จึงต้องใช้เวลาในการวิจัยเก็บตัวอย่างและทำงานในห้องทดลอง เพื่อจะได้คำตอบที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นในระหว่างนี้องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ประชาชนฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามมาตรฐานเกณฑ์กำหนด เพื่อป้องกันอาการรุนแรงระหว่างการติดเชื้อ และป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 แต่ควรจะหนักถึงการป้องกันตัวเองโดยเฉพาะการเข้าไปอยู่ในที่ที่มีคนแออัด ชุมชน ยังควรจะสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเว้นระยะห่างจากผู้อื่นและใช้ชีวิตแบบ New Normal

แพทย์ ชี้หลังหายอาการโควิด น้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้

"กัญชา - คาเฟอีน"  ใช้ไม่ถูกวิธีเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะ

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์