การแพร่ระบาดของโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ที่พบแล้วในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทำให้หลายคนเกิดคำถาม 4 ประเด็น คือ แพร่เร็วระบาดเร็วหรือไม่ รุนแรงขึ้นหรือไม่ มีอาการอะไรบ้าง และหลบวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
ในประเด็นความสามารถในการแพร่ระบาดนั้น ขณะนี้ทั่วโลกยังมีข้อมูลน้อยเกินกว่าจะชี้ชัดได้ว่า โอมิครอน BA.2 แพร่ได้เร็วกว่า BA.1 หรือไม่ ขณะที่เรื่องของความรุนแรง ข้อมูลจากไทยระบุว่า มีอัตราการเสียชชีวิตค่อนข้างต่ำ ส่วนรายละเอียดเรื่องอาการอยู่ระหว่างการศึกษาโดยกรมการแพทย์
อัปเดต สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน(BA.2) เจออีกรวม 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย
ผลศึกษาล่าสุด ชี้ไฟเซอร์-โมเดอร์นา "โดส 3" สร้างภูมิสกัดโอมิครอน
จับตา “โอมิครอน BA.2” หวั่นเป็นสายพันธุ์ใหม่แทนที่โอมิครอนตัวปัจจุบัน
แต่สำหรับประเด็นความสามารถในการหนีวัคซีนของโอมิครอน BA.2 เทียบกับ BA.1 นั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ม.ค. ที่ผ่านมา หน่วยงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) ได้เผยแพร่รายงานวัคซีนโควิด-19 ซึ่งมีข้อมูลเบื้องต้นในประเด็นดังกล่าว
โดย UKHSA ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนที่ฉีดวัคซีนแล้ว (คละยี่ห้อ แอสตร้าเซเนก้า ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ไม่ได้ศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง) แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้วอย่างน้อย 25 สัปดาห์ และกลุ่มที่ได้รับเข็มกระตุ้นแล้วอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ในจำนวนนี้มีกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 2021 – 21 ม.ค. 2022 รวมอยู่ด้วย
ผลศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ต่อการป้องกันการเจ็บป่วยแบบแสดงอาการ พบว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในสหราชอาณาจักรมีประสิทธิภาพคล้ายคลึงเมื่อต้องเจอกับโควิด-19 โอมิครอน BA.1 และ BA.2
สำหรับกลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มผ่านไป 25 สัปดาห์ สามารถป้องกัน BA.1 ได้เฉลี่ย 9% ป้องกัน BA.2 ได้เฉลี่ย 13% ส่วนกลุ่มที่ได้รับวัคซีน 3 เข็มผ่านไป 2 สัปดาห์ ป้องกัน BA.1 ได้เฉลี่ย 63% และป้องกัน BA.2 ได้เฉลี่ย 70%
แจกถุงยางอนามัย-ยาคุม ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป เริ่ม 1 ก.พ.65
จากข้อมูลจึงมีการอนุมานเบื้องต้นว่า ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 แทบไม่แตกต่างกันสำหรับสายพันธุ์ย่อยทั้งสองของโอมิครอน หรือพูดโดยง่าย ความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนของ BA.1 และ BA.2 ไม่แตกต่างกันมากนัก และเหมือน BA.2 จะหนีน้อยกว่าด้วย
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ยังไม่มีรายงานการวิจัยออกมาอย่างเป็นทางการ ยังคงต้องรอผลการศึกษาฉบับเต็ม และใช้กลุ่มตัวอย่างที่เพิ่มขึ้น จึงจะสรุปผลได้ว่า โควิด-19 โอมิครอน BA.1 และ BA.2 มีความสามารถในการหนีวัคซีนไม่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจที่เราสังเกตเห็นได้คือ ประสิทธิภาพของวัคซีน 2 เข็มต่อโอมิครอนนั้นดูไม่ค่อยดีเท่าไร แต่อาจเป็นผลจากการระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ควรต้องมีข้อมูลประสิทธิภาพฉีดเข็ม 3 หลังฉีดไป 25 สัปดาห์เช่นกัน เพื่อดูว่าประสิทธิภาพจะลดลงหรือไม่อย่างไร
เช็กรายละเอียด คลังโอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก.พ. – เม.ย. 65
สำหรับโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 นั้น ปัจจุบันมีรายงานว่าพบมากในบางส่วนของอินเดีย บางส่วนของฟิลิปปินส์ และเริ่มพบมากในสหราชอาณาจักร เยอรมนี และเดนมาร์ก
สำหรับเดนมาร์กมีรายงานว่า โควิด-19 โอมิครอน BA.2 นี้ มีสัดส่วนการระบาดอยู่ที่ 83% ของการระบาดใหม่ทั้งหมด
เรียบเรียงจาก UK Health Security Agency
ภาพจาก AFP