ข้อมูลจาก พญ.อัจจิมา สุวรรณจินดา แพทย์ผู้เชี่ยญชาญด้านเลเซอร์ ศัลยกรรมผิวหนัง มะเร็งผิวหนัง การแพทย์ผสมผสานและชะลอวัย ระบุว่า ภาวะหน้าแดง คือโรคชนิดหนึ่ง บางคนจะคิดว่าเป็นอาการสุขภาพดีเพราะแก้มมีเลือดฝาด ซึ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง ภาวะหน้าแดงเป็นปัญหาของหลอดเลือด เมื่อไหร่ก็ตามที่หลอดเลือดมีการขยายแล้วไม่หดกลับ หรือการถูกกระตุ้นก็ขยายแล้ว หรืออาจจะเกิดจากการหลั่งออร์โมนบางอย่าง
ปกติอาการหน้าแดงในคนทั่วไป จะเกิดจากเส้นเลือดฝอยขยายตัว ผิวหนังบริเวณใบหน้าและคอจะแดงไวกว่าบริเวณอื่น รอยแดงอาจเป็นชั่วคราว เพื่อระบายความร้อน เช่น อากาศร้อน แสงแดด หรือร้อนเป็นไข้ สุรา อาหารร้อนเผ็ด ยาหลายอย่างก็กระตุ้นให้หน้าแดง การเปลี่ยนแปลงอารมณ์ เช่น โกรธ อายก็ทำให้หน้าแดง
อาการหน้าแดงผิดปกติ
แต่โรคหน้าแดง "โรซาเซีย" (Rosacea) จะเป็นการแดงแบบถาวร พบบ่อยในฝรั่ง โดยเฉพาะคนผิวขาว อายุ 30-40 ปี ในคนไทยพบน้อย บริเวณที่เป็นผื่นแดงเรื้อรัง คือ ส่วนกลางของใบหน้า คือตรงบริเวณ จมูก แก้ม คาง หน้าผาก
กลุ่มที่พบได้บ่อย
โรคนี้อาจพบในวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นวัยที่พบโรคสิวบ่อย ถ้าแพทย์วินิจฉัยผิดว่าเป็นสิว รักษาด้วยยาทา เช่น เบนซอยเปอร์ออกไซด์ ยาทากรดวิตามินเอ ยาทาซึ่งมีแอลกอฮอล์ผสม จะทำให้ผื่นเห่อกำเริบ เพราะจะระคายง่าย หลายคนใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและเครื่องสำอางไม่ได้เลย ทำให้ผู้ป่วยกังวลใจว่ามีความผิดปกติ
สาเหตุของอาการหน้าแดง หรือโรคซาเซีย
สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด เข้าใจว่ามีความผิดปกติของหลอดเลือดฝอยขยายตัวผิดปกติ เพราะพบผู้ป่วยเป็นไมเกรนร่วมด้วยสูง 2-3 เท่า อาจเป็นผลจากสารหลั่งกระตุ้นหลอดเลือดฝอย เช่น ฮีสตามีน (พรอสตาแกลนดิน) หรือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด ความร้อน ความเครียด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเกิดการรั่วของสารหลั่งตามมา เมื่อชั้นหนังแท้ถูกกระตุ้นเกิดการอักเสบแบบเรื้อรัง ผิวหนังจะบวมหนาขรุขระ และมีการอักเสบในต่อมขน
อาการที่สังเกตได้
ผื่นในระยะแรกพบผื่นเป็นรอยแดงของผิวหน้าจากการขยายตัวของหลอดเลือด มีอาการแสบคันยิบ ๆ และเปลี่ยนเป็นตุ่มแดงและตุ่มหนองคล้ายสิวร่วมกับผิวหน้าแดง เมื่อเป็นเรื้อรังนาน ๆ หนังจะหนาไม่เรียบเป็นตุ่มเป็นก้อนตะปุ่มตะป่ำ
สิ่งกระตุ้นอาการหน้าแดง หรือโรคซาเซีย ที่ควรหลีกเลี่ยง
- แสงแดด
- เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
- อาหารร้อนจัด เผ็ดจัด
- ควบคุมอารมณ์ไม่เครียด
- ควรพักผ่อนและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- เลือกใช้สบู่อ่อนที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และถ้ายังมีอาการระคายอาจใช้เพียงน้ำเปล่าล้าง
การรักษาส่วนใหญ่จะให้ยารับประทาน คือ เตตราซัยครินช่วยลดการอักเสบ ยารับประทานกลุ่มกรดวิตามินเอควรใช้เฉพาะราย ส่วนยาทาที่ปลอดภัย คือ ยาเมโทรนิคาโรล หรือแป้งน้ำคาลาไมด์ทาให้เย็น ไม่ควรใช้ยาทาสเตียรอยด์ เพราะจะทำให้ผิวเห่อมากขึ้น
เมื่อผิวเห่อมากให้ใช้ผ้าเย็นประคบจะช่วยลดอาการแสบคันยุบยิบได้ และอย่าคิดว่าอาการยุบยิบเป็นการเคลื่อนไหวของไร เพราะโรคความกลัวจะทำให้เกิดความเครียดตามมาทำให้ผื่นเห่อซ้ำเติม