ขั้นตอนการสรงน้ำพระ รับเทศกาลสงกรานต์ 2566 พร้อมบทสวดขอขมา คำกล่าวขอพร


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การสรงน้ำพระ ขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติมาอย่างยาวนาน แท้จริงแล้วแฝงอานิสงส์อะไรอยู่ และทำไมต้องทำ พร้อมเปิดขั้นตอนการสรงน้ำพระแบบละเอียด

สงกรานต์ คือ การเคลื่อนขึ้นของปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันกำหนดวันเวลาอยู่ในช่วงวันที่ ๑๓ , ๑๔ , ๑๕ เมษายน ของทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ ส่วนวันที่ ๑๔ เป็นวันเนา และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีพิธีสำคัญตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย นั่นคือ "การสรงน้ำพระ" แม้จะเป็นสิ่งที่ทำสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน แต่ก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า แล้วขั้นตอนการสรงน้ำพระที่ถูกต้อง ต้องทำอย่างไร?

คอนเทนต์แนะนำ
50 คำอวยพร "สงกรานต์ 2566" ความหมายดี ผู้ใหญ่เอ็นดู
สงกรานต์ 2566 ชวนเที่ยว 19 วัด เสริมโชคลาภ สิริมงคลชีวิต
10 ไอเดีย ของขวัญให้ผู้ใหญ่ใน "สงกรานต์ 2566" การันตีความน่าเอ็นดู

ทำไมต้องสรงน้ำพระ?

ตามความเชื่อโบราณ การสรงน้ำพระเป็นการแสดงให้เห็นถึง การเคารพและสักการะต่อ พระพุทธศาสนาครบทั้ง 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นการเริ่มต้นสิ่งที่เป็นมงคลในวันปีใหม่ด้วย จะทำให้เกิดความสุขความร่มเย็นตลอดปีใหม่  ขณะเดียวกัน ยังมีความเชื่อว่า การสรงน้ำพระพุทธรูปเป็นการทำความสะอาดพระที่ตลอดทั้งปีเราได้กราบไหว้ ขณะที่การสรงน้ำพระสงฆ์เป็นการช่วยให้ท่านเย็นสบายในช่วงฤดูร้อนที่ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของปีด้วย

อานิสงค์ตามความเชื่อหลังการสรงน้ำพระ

ผลบุญจะส่งผลให้เราปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและมีความสุข  จิตใจผ่องใส สดชื่น สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว รวมถึงแผ่ผลบุญให้บรรพบุรุษ ญาติมิตร สรรพสัตว์และเจ้ากรรมนายเวรได้อีกด้วย

การสรงน้ำ เนื่องในประเพณีสงกรานต์ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต โดยจะทำการสรงน้ำพระพุทธรูปก่อน แล้วจึงสรงน้ำพระสงฆ์ภายหลัง รวมทั้งมีการก่อพระเจดีย์ทราย และทำบุญทำทานเพื่อความเป็นสิริมงคล ย้อนกลับไปในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์จะเสด็จฯ ไปสรงน้ำพระพุทธปฏิมากรพระศรีสรรเพชญ์ และเทวรูปพระพิฆเนศวร จากนั้นจะโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะเข้ามาสรงน้ำในพระราชวัง ส่วนชาวบ้านทั่วไปก็พากันไปสรงน้ำพระตามวัดต่าง ๆ การสรงน้ำพระนั้นต้องเตรียมน้ำอบไทย เครื่องหอม ผ้าอาบหรือสบงแล้วแต่ศรัทธา เมื่อสรงน้ำพระแล้วก็ถวายของ

 

การสรงน้ำพระ มี ๒ แบบ คือ 
         ๑) การสรงน้ำพระพุทธรูป 
         ๒) การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร

คอนเทนต์แนะนำ
วันหยุดเดือนเมษายน 2566 เช็กวิธีลางานอย่างไรให้คุ้มที่สุด
“ราชพฤกษ์” ดอกไม้ประจำชาติ สัญลักษณ์เทศกาลสงกรานต์

ขั้นตอนการสรงน้ำพระ         

๑. การสรงน้ำพระพุทธรูป

๑.๑ สวดบทขอขมา (ก่อนการเคลื่อนย้ายองค์พระ)

ตั้งนะโมฯ 3 จบ ตามด้วย "ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ ทะวารัตตะเยนะ สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต"

ซึ่งมีคำแปลว่า กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 ที่ข้าพเจ้าได้ประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย ด้วยความตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ขอพระรัตนตรัยได้โปรดยกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๑.๒ ทำความสะอาดองค์พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนนำมาสรงน้ำ
เนื่องจากพระเป็นของสูงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แน่นอนว่าสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเป็นของใหม่ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย 
- ขั้นตอนแรกให้ใช้แอลกอฮอล์ชโลมเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อน แล้วจึงสรงด้วยน้ำอุ่น โดยใช้สำลีชุบน้ำอุ่น ลูบไล้ตามซอกต่าง ๆ ให้ทั่ว แล้วนำไปผึ่งลม
- ให้ใช้คอตตอนบัดลูบเบา ๆ หมั่นปัดในซอกลึก ๆ ฝุ่นละอองจะหมดไป วิธีนี้เหมาะสำหรับพระที่จะเก็บเข้ากล่องนาน ๆ
- การขัดพระ ล้างพระ ควรทำด้วยความระมัดระวัง การใช้กรดอย่างอ่อน เช่น มะนาว และมะขาม 

๑.๓ เตรียมน้ำอบสำหรับสรงน้ำพระ
ให้เตรียมน้ำสะอาดใส่ขันใบใหญ่ ใส่เครื่องหอมลงไป เช่น น้ำหอม น้ำอบ น้ำปรุง และดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม มีสีสันสวยงาม เช่น ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ และดอกดาวเรือง เป็นต้น และเตรียมขันใบเล็กไว้สำหรับตักน้ำสรงองค์พระ

๑.๔ จัดเรียงองค์พระและประดับโต๊ะด้วยดอกไม้  
เมื่อทำความสะอาดเสร็จให้นำองค์พระจัดเรียงไว้บนโต๊ะเพื่อเตรียมทำการสรงน้ำ แต่ก่อนจะทำองค์พระวางที่โต๊ะต้องรองด้วยผ้าขาวบางเสียก่อนเพื่อความสะอาดและประดับตกแต่งโต๊ะด้วยดอกไม้หรือกลีบดอกไม้โรยให้สวยงาม

๑.๕ คำกล่าวระหว่างสรงน้ำพระ
ให้ตั้งนะโม ๓ จบ ตามด้วย "อิมินา สิญฺจะเนเนวะ โรโค โสโก อุปัทวะโท นิพพันตุ สัพพะโส เอเต สุขี โหนตุ นิรันตะรัง"
ขอสรงน้ำเพื่อให้ทุกข์โศกโรคภัยต่าง ๆ อันตรธานหายไป หลังจากนั้นจึงขอพรพระท่าน

๑.๖ ย้ายองค์พระกลับสู่โต๊ะหมู่บูชา
หลังเสร็จพิธีทุกคนในบ้านรดน้ำครบแล้ว ก็ได้เวลาย้ายท่านกลับไปที่โต๊ะหมู่บูชาดังเดิม แต่ก็อย่าลืมทำความสะอาดโต๊ะเดิมก่อน แล้วเปลี่ยนผ้ารองฐานที่โต๊ะใหม่ทุกครั้ง แล้วจึงน้ำท่านกลับไปวางที่จุดเดิม ก็เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี แต่อย่างไรก็ดีชาวพุทธเองก็ควรไหว้ท่านทุกวันพระเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อไปในทุกวัน

๒. การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร

๒.๑ จะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม

๒.๒ หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผ้าสบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย

เมื่อทำพิธีสรงน้ำเรียบร้อยแล้ว ควรปฏิบัติตนไปในทางที่ดี คิดดี ทำดี พูดดี เพื่อทวีคูณอนิสงค์ผลบุญ คุณความดีที่จะเกิดกับตนเองในภายภาคหน้า และเพื่อเป็นการเริ่มต้นสิ่งดี ๆ ในวันมหามงคลปีใหม่ของไทยนะคะ

คอนเทนต์แนะนำ
รวมที่เที่ยว "สงกรานต์ 2566" คัดมาแล้ว เล่นน้ำทั่วไทย ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น!
50 คำอวยพร "สงกรานต์ 2566" ความหมายดี ผู้ใหญ่เอ็นดู

ขอบคุณข้อมูลจาก ศิลปวัฒนธรรม

เรียบเรียงโดย พีพีทีวี

คอนเทนต์แนะนำ
นายกฯ ขอบคุณโพลอันดับ 1 ที่คนกทม. อยากชวนเล่นน้ำสงกรานต์ด้วย
เช็กให้ชัวร์ก่อนส่งของ บริษัทขนส่งหยุดสงกรานต์ 2566 วันไหนบ้าง?
วันหยุดเดือนเมษายน 2566 เช็กวิธีลางานอย่างไรให้คุ้มที่สุด

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP ไลฟ์สไตล์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ