เมื่อถึง “วันแม่แห่งชาติ” ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2567 ทุกคนจะเห็นสัญลักษณ์หรือของขวัญที่ถูกตกแต่งประดับประดาด้วย “ดอกมะลิ” อยู่เสมอ หรือบางคนถ้ามีโอกาสก็มักจะหา “ดอกมะลิ” เข้าไปกราบไหว้แม่ แต่ทำไมดอกมะลิถึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ได้ แล้วมะลิก็มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ไหนกันแน่ที่หมายถึง
พีพีทีวี ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกัน!
ทำไมวันแม่ถึงต้องเป็นดอกมะลิ
ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอใช้บำรุงรักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย อาทิ แก้หืด บำรุงหัวใจ ปวดท้อง แก้พกช้ำ บำรุงสายตา คุณสมบัติเหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยเมาตตากรุณาไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ
มะลิสายพันธุ์ไหนที่สื่อความหมายถึงวันแม่
ดอกมะลิ มีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่รู้จักกันในนามดอกไม้สื่อความหมายในวันแม่ด้วยลักษณะต่างๆ คือ “ดอกมะลิซ้อน” นั่นเอง โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจสรุปกันให้เห็นภาพมากขึ้นดังนี้
- ดอกสีขาว = รักที่บริสุทธิ์
- ออกดอกตลอดปี กลิ่นหอมนาน = ความรักที่ยาวนานไม่เสื่อมคลาย
- กลีบเรียงซ้อนอัดแน่น โดยปลายกลีบห่อเข้ากลางดอก = อ้อมแขนของแม่ที่โอบลูกน้อยไว้
มะลิสายพันธุ์อื่น มีกลิ่นหอม-เอกลักษณ์โดดเด่นไม่แพ้กัน
นอกจากมะลิทั่วไปหรือมะลิซ้อนที่เราคุ้นตาและเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แล้ว ยังมีมะลิอีกหลากหลายพันธุ์ที่มีกลิ่นหอมไม่แพ้กัน และมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกันไป
- มะลิที่เป็นทั้งดอกและผัก = มะลิวัลย์หรือผักแส้ว เป็นมะลิที่เป็นทั้งดอกและเป็นทั้งผัก ชาวบ้านภาคเหนือมักจะเด็ดยอดอ่อนใส่แกง
- มะลิที่ให้ดอกดก = มะลิหลวง มะลุลี มะลิงาช้าง หรือ มะลิที่มีกลิ่นหอมแรง อย่าง มะลิไส้ไก่ มะลิภูหลวง มะลิไส้ไก่ก้านแดง
- มะลิที่เป็นพุ่มไม้สวยงามและใช้เป็นไม้กระถาง = มะลิสยาม มะลิซ้อน มะลิลา
- มะลิที่ไม่ใช่สีขาว..แต่เป็นสีเหลือง เช่น มะลิพริมโรส มะลิเหลือง มะลิหอมละไม มะลิชัยชนะ
ข้อมูลจาก : อุทยานหลวงราชพฤกษ์ และ เทศบาลตำบลบางกระบือ