แจกลิสต์สำรับ “สงกรานต์” ตามรอยลิ้มรสอาหารเทศกาลปีใหม่ไทย

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ก่อนเที่ยวสงกรานต์ พีพีทีวีขอแจกลิสต์สำรับอาหารไทยโบราณคู่เทศกาลสงกรานต์ให้ทุกคนปักหมุดไปลิ้มลอง

วันหยุดสงกรานต์ครั้งนี้ เดินทางไปเที่ยวทั้งที คงดีไม่ใช่น้อยถ้าเราได้ไปลิ้มรสของโบราณแสนอร่อยด้วย เพราะนอกจากความอร่อยช่วยคลายความร้อนได้แล้ว ยังช่วยสืบสานอัตลักษณ์ท้องถิ่นไทยได้อีก

แต่อาหารไทยโบราณคู่เทศกาลสงกรานต์จะมีอะไรบ้าง และปัจจุบันจะสามารถไปลิ้มลองได้ที่ไหนบ้าง วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีได้รวบข้อมูลมาฝากทุกคนกัน!

คอนเทนต์แนะนำ
วันหยุดเมษายน 2567 แนะวิธีลาอย่างไรพักผ่อนยาวถึง 11 วัน
แจกที่เที่ยว “สงกรานต์ 2567” ทั่วไทย สาดน้ำสนุก อิ่มบุญได้ตลอดเดือน

ขนมจ๊อก

“ขนมจ๊อก” หรือ “ขนมเทียน” บางแห่งเรียกว่า “ขนมนมสาว” เป็นขนมพื้นบ้านของคนเมืองเหนือ

ก่อนเที่ยวสงกรานต์ พีพีทีวีขอแจกลิสต์สำรับอาหารไทยโบราณคู่เทศกาลสงกรานต์ให้ทุกคนปักหมุดไปลิ้มลอง Shutterstock/Charlad Laorlao
ข้าวแช่ อาหารคู่เทศกาลสงกรานต์

ที่นิยมทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และงานบุญสำคัญต่างๆ เช่น วันพระ วันเข้าพรรษา งานบวช เป็นต้น

โดยคำว่า “จ๊อก” เป็นคำเมือง หมายถึงการทำสิ่งของให้เป็นกระจุกมียอดแหลม ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันว่า “ขนมจ๊อก”

ตัวขนมทำจากแป้งข้าวเหนียว ข้าวจ้าว น้ำตาลปี๊บ เกลือ และน้ำมันพืช นำมาผสมๆ กันแล้วนวดให้เป็นก้อน แล้วเพิ่มรสหวานด้วยการทำไส้มะพร้าว แต่ในปัจจุบันผู้คนดัดแปลงทำไส้ขึ้นมาหลากหลายอย่างตามใจชอบ จึงมีให้เห็นทั้งไส้ถั่วเขียว ไส้ถั่วแดง ไส้เค็ม เหมือนไส้ซาลาเปา

ข้าวปุ้น

“ข้าวปุ้น” หรือ “ขนมจีน”ป็นอาหารพื้นเมืองที่อยู่คู่อีสานมาอย่างยาวนาน แม้ข้าวปุ้นจะหมายถึงขนมจีน และมีรูปลักษณ์ของอาหารดูคล้ายๆ กับขนมจีนซาวน้ำของภาคกลาง แต่ที่จริงแล้วแตกต่างกันอย่างชัดเจน

โดยข้าวปุ้นของชาวอีสาน คือเส้นข้าวปุ้นที่ราดด้วยน้ำปลาร้าปรุง แล้วใส่ผักแนม อย่างผักที่มีกลิ่นฉุน เสร็จแล้วปรุงรสตามด้วยน้ำปลา น้ำตาล และพริกป่นตามชอบ จะเหมือนกับขนมจีนซาวน้ำของภาคกลางตรงที่ต้องคลุกเคล้าให้เข้ากันดีเสียก่อน

นอกจากนี้ข้าวปุ้นของชาวอีสาน ก็ยังมีข้าวปุ้นน้ำแจ่ว ข้าวปุ้นน้ำนัว และข้าวปุ้นน้ำยาปลาร้า ที่มีน้ำซุปอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เอาไว้ราดกับเส้นข้าวปุ้น กินแล้วอร่อยไม่เหมือนที่ไหนๆ ด้วย

ข้าวแช่

เชื่อกันว่า “ข้าวแช่” เป็นอาหารไทยที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากชาวมอญในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่พวกเขามักทำขึ้นโดยเรียกว่า “เปิงซัง กรานต์” หรือ “ข้าวสงกรานต์” เพื่อนำไปไหว้บรรพบุรุษ สังเวยเทวดา และถวายพระสงฆ์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพราะเชื่อว่าหากไหว้ด้วยข้าวแช่และเครื่องเคียงที่ทำขึ้นมาจะสมปรารถนาตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้

จากข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า “ข้าวแช่” กลายมาเป็นเมนูที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ จากพระสนมเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ทำถวายพระองค์ จนกลายเป็นที่โปรดปรานของพระองค์มาก และด้วยความที่รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดแปรพระราชฐานพำนักแรมที่พระนครคีรี หรือเขาวังอยู่เสมอ จึงสันนิษฐานว่ามีส่วนที่ทำให้ “ข้าวแช่เมืองเพชร” มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ

และส่งผลให้เมนูนี้แพร่หลายไปหลายจังหวัดภาคกลาง กลายเป็นเมนูโบราณคลายร้อนยอดฮิตขึ้นชื่อของประเทศ จนร้านอาหารไทยหลายร้านทุกวันนี้ ต้องมีเมนูนี้เมื่อเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์

กะละแม

“กะละแม” เป็นขนมไทย ที่คนไทยในสมัยก่อนนิยมทำขึ้นในวันสงกรานต์ หรือในงานพิธีกรรมสำคัญต่างๆ เช่น งานอุปสมบท งานแต่งงาน เป็นต้น เพราะเชื่อว่าเนื้อขนมของกะละแมที่มีความเหนียวและต้องใช้เวลาในการกวนนี้ จะเสมือนกับความรัก ความอดทน และความสมัครสมานสามัคคีที่จะช่วยทำให้พรที่อยากขอในเรื่องความรักความเหนียวแน่น สัมฤทธิ์ผล

แม้จะไม่มีข้อมูลปรากฏแน่ชัดว่าขนมนี้มาจากที่ใด บ้างก็สันนิษฐานว่า มาจาก “ขนมกาลาเม็ก” ของฝรั่งเศส หรือ “คาราเมล” ของอังกฤษ ส่วนบางคนก็ตั้งข้อสังเกตว่าหรือจะมาจาก “ละไม” ของชาวมลายู รวมถึงท่านพุทธาสภิกขุ ตั้งข้อเสนอด้วยว่าน่าจะมาจาก “ขนมฮูละวะ” ของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็น นม แป้ง และน้ำตาล ขณะที่ราชบัณฑิตยสถานกล่าวว่า ขนมชนิดนี้ได้มาจากมอญและพม่า

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่กะละแมนี้ ทำขึ้นมาจากข้าวเหนียว เคี่ยวร้อนๆ กับน้ำผึ้งหรือน้ำกะทิจนเกือบแห้ง จากนั้นใส่น้ำตาลปี๊ปกวนด้วยไฟอุ่นๆ ต่อไปประมาณ 9 ชั่วโมง ยิ่งทำให้ตัวขนมนั้นเหนียวนุ่ม มีรสชาติกลมกล่อม และกลายเป็นของขึ้นชื่อของคนสมุทรสงครามในภาคกลาง

ขอบคุณข้อมูลจาก : KRUA , RMUTT และ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Bottom-PL-HLW Bottom-PL-HLW

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ