18 มีนาคม "วันนอนหลับโลก" ถามตัวเองดู วันนี้คุณนอนเพียงพอหรือยัง?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทุกวันศุกร์ที่ 2 ของสัปดาห์ในเดือนมีนาคมของทุกปี สมาคมการแพทย์เพื่อการนอนหลับ ( WASM ) กำหนดให้เป็น “วันนอนหลับโลก” หรือ “World Sleep Day” โดยในปีนี้ ตรงกับวันที่ 18 มีนาคม 2559

วันนอนหลับโลก มีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการนอนหลับของคนในสังคม เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมความผิดปกติด้านการนอน สำหรับในปีนี้มีสโลแกนว่า “Good Sleep is a Reachable Dream” แปลว่า นอนหลับสบายเป็นความฝันที่สามารถเอื้อมถึง

เคยสงสัยกันไหมว่า? วันไหนที่นอนหลับเพียงพอ ตื่นเช้ามาจึงรู้สึกสดชื่น เพราะการนอนหลับนั้นมีประโยชน์มากมาย อาทิ 

1. ร่างกายมีเวลาซ่อมแซมตัวเองมากขึ้น     

2. ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้มีความสุข

3. ทำให้หน้าดูอ่อนกว่าวัย ด้วยโกรทฮอร์โมน

4. ความจำดีขึ้น

5. ช่วยควบคุมความดันโลหิต                      

6. ทำให้อารมณ์ดี มีความสุขและไม่อ้วนง่าย

ในหนึ่งวันควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน และช่วงเวลาในการนอนหลับที่ถือว่าดีที่สุด อยู่ในช่วงเวลาก่อน 4 ทุ่มและไม่เร็วกว่า 2 ทุ่ม หรือ 20.00 น.–22.00 น. นั่นเอง

ทั้งนี้หลายคนอาจกำลังกังวลกับอาการนอนไม่หลับ ซึ่งรู้หรือไม่ว่าอาการดังกล่าวถูกจัดอยู่ใน “โรคนอนไม่หลับ” หรือ Insomnia วันนี้ทางทีมนิวมีเดีย PPTV จะพาทุกท่านไปรู้จักกับโรคนี้กัน

โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia อินซอมเนีย

อาการนอนไม่หลับหรือหลับลำบาก หรือหลับไม่สนิท เรียกว่า “โรคนอนไม่หลับ” ถ้าคุณประสบปัญหาจากโรคนอนไม่หลับ มันจะมีผลกระทบกับคุณในช่วงกลางวัน และกลางคืน ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวัน และเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในการทำงาน

ซึ่งสาเหตุของโรคนอนไม่หลับนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาด้านร่างกาย ปัญหาด้านจิตใจ และการใช้ชีวิตประจำวัน เราจะมาแยก 3 ประเด็นดังกล่าวให้มองเห็นชัดยิ่งขึ้น

1.ปัญหาด้านร่างกาย คือ อาการเจ็บป่วย เป็นไข้ ปวดท้อง หรือโรคอื่นๆที่มารุมเร้า

2.ปัญหาด้านจิตใจ คือ ความเครียด ความวิตกกังวลต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งรอบข้าง ที่เข้ามาในแต่ละวัน

3.ปัญหาจากการใช้ชีวิตประจำวัน คือ การใช้สารกระตุ้นอย่างเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน การใช้ยานอนหลับเป็นประจำ รวมถึงสิ่งรบกวนภายนอกที่ต้องเจอเช่น เสียงรบกวนและแสงสว่าง

หากใครที่คิดว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นโรคนอนไม่หลับ ลองศึกษาหาสาเหตุเบื้องต้น และมาดูวิธีการรักษากัน !!

วิธีการรักษาที่ทำได้ด้วยตัวเองคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4 ข้อดังต่อไปนี้

1. Sleep restriction “จำกัดการนอน” การนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานจะทำลายการนอนหลับ และเพิ่มความวิตกกังวล การจำกัดการนอนจะลดเวลาที่ใช้บนเตียงและช่วยให้การหลับมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. Stimulus control “ควบคุมสิ่งเร้า” วิธีการควบคุมสิ่งกระตุ้นคือลดกิจกรรมในห้องนอนที่ทำให้ตื่นเช่นการคิดงาน รวมถึงการนอนบนเตียงในขณะที่ยังไม่ง่วง

3. Relaxation therapy “การบำบัดด้วยการผ่อนคลาย” การบำบัดด้วยการผ่อนคลายจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

4. Cognitive therapy “การบำบัดโดยการประมวลความคิด” ใช้กระบวนการของการใช้เหตุผลเพื่อแก้ไขความคิดที่ว่าต้องนอนให้ได้อย่างน้อยวันละกี่ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดัน และทำให้ให้หลับได้ง่ายขึ้น รวมถึงสามารถลดความกังวลในช่วงกลางวันและการตื่นในช่วงกลางคืน

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ “วันนอนหลับโลก”

1.วันนอนหลับโลกนั้นมีตัวแทนจากทั่วโลกเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 331 จาก 68 ประเทศ

2.ในปีนี้ 2016 วันนอนหลับโลกได้มีตัวแทนเพิ่มเข้ามาอีกกว่า 89 คน จาก 33 ประเทศที่ไม่ซ้ำกับ 68 ประเทศก่อนหน้า

3.ในปีนี้ 2016 วันนอนหลับโลกมีตัวแทนเพิ่มเข้ามาอีก 9 ประเทศได้แก่ คอสตาริกา , กือราเซา , กาน่า , อินโดนีเซีย , มอลโดว่า , เปอร์โตริโก , ไต้หวัน , อุรุกวัย และบังกลาเทศ

4. #worldsleepday มียอดผู้เข้าชมถึง 50,000 ครั้งแล้วในทวิตเตอร์ @_worldsleepday และโปรดแบ่งปัน #worldsleepday และ #sleep ในสังคมออนไลน์ของคุณด้วย

 

หลับสนิท...ชีวิตมีสุข

ขณะที่วันนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมส่งเสริมการนอนหลับทั่วประเทศ กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงการนอนหลับและสุขอนามัยการนอนที่ดี เพราะการนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ในระยะเวลาที่เหมาะสมเพียงพอ จะส่งดีต่อทั้งสุขภาพกายและใจ

ต้องนอนหลับกี่ชั่วโมงถึงจะพอดีกับช่วงอายุของเรา?

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : worldsleepday.orgkamolchanokherbal.com     และ     www.sleepcenterchula.org

ขอขอบคุณภาพจาก : PublicDomainPictures@Pixabay     และ    fuzzyscience.wikispaces.com

 

 

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ