ช่วงนี้ อาจจะได้ยินคำพูดนี้บ่อย ๆ "ขอบริจาคเลือดด่วน เลือดหมดสต๊อก..." ทั้งที่ก็เห็นมีคนบริจาคกันอยู่บ่อย ๆ แต่ทำไม๊ ทำไม เลือดขาดสต๊อกตลอดเลย...
ความสงสัยที่ว่า จะหมดสิ้นไป เมื่อได้รู้ว่า เลือดที่บริจาคจากบุคคลผู้หนึ่ง ไปสู่อีกคนที่รอรับบริจาคนั้น ไม่สามารถต่อสายให้เลือดจากคนหนึ่ง ไปสู่อีกคนหนึ่งได้ทันที เพราะ เลือด 1 ยูนิต หรือ 1 ถุง ที่ได้รับบริจาค มีการเดินทาง ที่ต้องการผ่านการทดสอบในห้องแลปอย่างละเอียดและอาจต้องใช้เวลามากกว่า 1 วัน
การเดินทางของเลือด 1 ถุง ที่ได้รับจากผู้บริจาค จะมีปริมาณ 350-450 ซีซี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค คือ ถ้ามีน้ำหนัก 45-50 กก. บริจาคเลือดได้ 350 ซีซี แต่ถ้ามีน้ำหนัก 50 กก.ขึ้นไป บริจาคได้ 450 ซีซี
จุดเริ่มต้นการเดินทางของเลือด 1 ถุง เริ่มจากผู้ต้องการบริจาค แจ้งความความที่จุดรับบริจาค หลังจากนั้นผ่านการตรวจกรุ๊ปเลือด ดูสีและความหนักของเลือด ว่า มีสมบูรณ์หรือไม่ เลือดที่สมบูรณ์พร้อมบริจาค ต้องสีแดงชาด และจมน้ำ ถ้าเลือดเป็นสีชมพูอาจมีภาวะเลือดจาง ถ้าเลือดลอยน้ำ คือ เม็ดเลือดแดงต่ำ ไม่สามารถบริจาคได้
จากนั้นก็ขึ้นเตียงเพื่อบริจาคเลือด เมื่อจบสิ้น จะได้เลือด 1 ยูนิต พร้อมกับอีก 4 หลอด ซึ่งเลือดจากทั้ง 4 หลอดนี้ จะถูกนำไปห้องแลปเพื่อตรวจด้วยน้ำยา หา 4 โรคร้าย ได้แก่ โรคเอดส์ ซิฟิลิซ ไวรัสตับอักเสบ B และ C
ถ้าตรวจพบ ต้องยกเลิกเลือดถุงนั้น พร้อมแจ้งให้ผู้บริจาคทราบ
ส่วนเลือด 1 ยูนิต จะถูกนำมาเข้าห้องแลปเช่นกัน เพื่อเข้าสู่กระบวนการปั่นเลือด แยกเม็ดเลือดแดง (โลหิต) ที่จะอยู่ก้นถุง เกร็ดเลือด อยู่กลางถุง และพลาสมา อยู่ชั้นบนสุดของถุง
หลังจากแยกได้เลือด เกร็ดเลือด และ พลาสมา จะถูกเก็บรักษาด้วยวิธีการต่างกันไป เลือด เก็บในห้องเก็บเลือดอุณภูมิ 1-6 องศา , เกร็ดเลือด เก็บที่อุณหภูมิ 20-24°ซ. เขย่าตลอดเวลา เพื่อรอเวลาคนมารับบริจาค
รวมกระบวนการ การเดินทางของเลือดจนกว่าจะมีคนมารับไปใช้ได้ คือ ใช้เวลา 1-3 วัน
ในความเป็นจริง ควรมีเลือดในคลังเลือดวันละ 5,000 ยูนิต แต่ปัจจุบันมีเลือดอยู่เพียง 1,600 ยูนิตต่อวัน จึงไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการการใช้เลือดในประเทศ
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมาว่า สภาการขาดไทยฯ ได้เปิดเผยว่า เลือดที่สำรองไว้หมดคลังโลหิต จนผลให้เกิดภาวะขาดเลือดในระดับวิกฤตทั่วประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้ แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ปัญหาการขาดเลือดนั้นมีมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนปีใหม่ สงกรานต์ หรือช่วงปิดเทอม ซึ่งจะมีการเดินทางหรือการสังสรรค์มากกว่าปกติ
ทั้งนี้ เพราะทุกๆวัน จะมีคนไข้เข้ารับการรักษา ทั้งจากอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ จนถึงผู้ป่วยโรคโลหิตจาง หรือธาลัสซีเมีย กรณีเหล่านี้ล้วนแต่มีความต้องการใช้เลือดในปริมาณมาก ทำให้เลือดจากคลังของสภากาชาดไทยมีไม่เพียงพอ จนเกิดเหตุการณ์วิกฤตขาดเลือด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับการรักษาได้ จนบางรายต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไป
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2557 พบว่า มีเลือดอยู่ในคลังประมาณ 1,700,000 ยูนิต ขณะที่มีความต้องการใช้เลือดในปริมาณราว 2,000,000 ยูนิตต่อปี
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาโลหิตให้ได้ 1,600 - 2,000 ยูนิตต่อวัน และต้องมีโลหิตสำรองคงคลัง วันละ 3,000 ยูนิต เพื่อจัดหาโลหิตให้เพียงพอกับผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ
ขณะที่มีคนมาบริจาคเลือดเฉลี่ยน 600-1,000 คนต่อวัน ขณะที่ความต้องใช้จริง อยากให้มีคนบริจาค 2,000 คนต่อวัน
"เลือดที่เข้ามา ไม่ได้เอาเก็บไปไว้เหมือนการฝากเงินสะสมในธนาคาร แต่มีการเบิกใช้ทุกวัน สมมุติวันนี้ได้เลือดมา 2,000 ยูนิต แต่วันรุ่งขึ้นคนเบิกไป 1,600 ยูนิต เหลือ 400 ยูนิต มันก็เท่ากับว่า ถ้าคนเบิกไปแล้ว ถ้าไม่ได้มีเลือดเข้ามาใหม่ก็หมด จึงอยากให้คนมาบริจาคทุกวันให้ได้ประมาณ 1,500 - 1,600 ยูนิตทุกวัน" แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ กล่าว
ทั้งที่ความเป็นจริง ควรมีเลือดในคลังวันละ 5,000 ยูนิต แต่ปัจจุบันมีเลือดอยู่เพียง 1,600 ยูนิตต่อวัน จึงไม่เคยเพียงพอต่อความต้องการการใช้เลือดในประเทศ
เลือดกรุ๊ป O และ กรุ๊ป A เป็นเลือดที่มีปัญหาขาดแคลนมากที่สุด โดยเลือด O Rh+ ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่สุดที่พบในเมืองไทยคือมีปริมาณถึง 37 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นหมู่เลือดที่มีความต้องการในหมู่ผู้ป่วยมากสุดด้วยเช่นกัน
หมู่เลือด A Rh+ เป็นที่ต้องการรองลงมา ขณะที่เลือดกลุ่ม O Rh- และ A Rh- กรุ๊ปเลือดหายากหรือ "กรุ๊ปเลือดพิเศษ" ที่มีจำนวน 0.3 เปอร์เซ็นต์ในคนไทย ก็เป็นที่ต้องการมากเช่นกัน