รู้จัก “ESSO” ปั๊มน้ำมันชื่อดัง ที่ทำธุรกิจในไทยมานาน 129 ปี ก่อนโดน “บางจาก” ฮุบ
‘บางจาก’ (BCP) ใกล้ได้เป็นเจ้าของปั๊มน้ำมันชื่อดัง ‘เอสโซ่’ (ESSO) แบบเต็มตัว หลังเข้าซื้อหุ้นโดยตรงจาก ‘เอ็กซอน โมบิล’ ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานสัญชาติอเมริกัน คาดธุรกรรมจะเสร็จสิ้นภายใน 31 ส.ค. 66 และจะเริ่มทยอยปิดปั๊มเอสโซ่ เปลี่ยนป้ายมาเป็นปั๊มบางจาก แต่รู้หรือไม่ ‘เอสโซ่’ และบริษัทในเครือดำเนินธุรกิจน้ำมันในไทยมานานถึง 129 ปี
จากกรณี บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ได้เข้าซื้อกิจการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO ด้วยวิธีการเข้าซื้อหุ้นโดยตรงจากผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ ExxonMobil Asia Holding Pte. Ltd (เอ็กซอน โมบิล) บริษัทด้านพลังงานสัญชาติอเมริกัน ในสัดส่วน 65.99% ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด มูลค่า 22,605 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน BCP จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมด (Tender Offer) ของ ESSO จากผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ ในสัดส่วน 34.01% มูลค่ารวม 11,651 ล้านบาท
ซึ่งหลังการซื้อขายหุ้นรวมทั้งหมด 34,257 ล้านบาท เสร็จสิ้นลง จะส่งผลให้ BCP ถือหุ้นในสัดส่วน 100% ของ ESSO ในประเทศไทย
สำหรับ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) เป็นหนึ่งในบริิษััทในเครือเอ็กซอน โมบิล คอร์ปอเรชั่่น (Exxon Mobil Corporation) เดิมเกิดขึ้นจาก บริษัท แสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์ก ที่ขายน้ำมันก๊าด และบริษัท แว๊คคั่มออยล์ ร่วมกันจัดตั้ง บริษัท โซโกนีแว๊คคั่ม คอร์ปอเรชั่น เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์หล่อลื่น ก่อนจะไปร่วมทุนกับบริษัทแสตนดาร์ดออยส์ (นิวเจอร์ซี) และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท แสตนดาร์ดแว๊คคั่มออยล์ จำกัด
จากนั้นในปี 2508 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอสโซ่ แสตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด และจัดตั้งโรงกลั่นน้ำมัน เอสโซ่ ศรีราชา ต่อมาภายหลังบริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เอ็กซอนโมบิล เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ โพรดักชั่น โคราช อิงค์
จนกระทั่งปี 2539 บริษัทได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชนจำกัด คือ เป็นบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ ESSO ก่อนจะเข้าจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2551
ปัจจุบัน บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) เป็นผู้ประกอบกิจการโรงกลั่นปิโตรเลียม และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รวมถึงประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน และอะโรเมติกส์ที่ศรีราชา เครือข่ายคลังน้ำมัน กิจการผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น และสถานีบริการน้ำมันทั่วตราเอสโซ่ประเทศ 802 แห่ง ณ สิ้นปี 65
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) ระบุว่า บริษัทฯ และบริษัทในเครือที่่เกี่่ยวข้องได้ประกอบธุุรกิจในประเทศไทยมาราว 129 ปี
ธ.กรุงเทพ ปล่อยกู้ BCP ซื้อหุ้น ESSO วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท
ภายหลังหากการควบรวมกิจการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย คาดภายในวันที่ 31 ส.ค. 66 จะส่งผลให้ BCP เป็นเจ้าของโรงกลั่นศรีราชา และคลังน้ำมันบางแห่ง ของ ESSO โดยมีกำลังการกลั่นติดตั้ง (Nameplate Capacity) เพิ่มขึ้นเป็น 2.94 แสนบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบัน1.2 แสนบาร์เรลต่อวัน กลายเป็นโรงกลั่นที่ขนาดกำลังการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
นอกจากนี้สถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ ก็เพิ่มขึ้นเป็น 2,145 สาขา แบ่งเป็น สถานีบริการน้ำมันบางจาก 1,343 สาขา รวมกับ สถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ 802 สาขา
เปิดงบการเงินย้อนหลัง 5 ปี ของ ESSO
- ปี 2562 มีผลขาดทุนสุทธิ 3,065 ล้านบาท
- ปี 2563 มีผลขาดทุนสุทธิ 7,911 ล้านบาท
- ปี 2564 มีกำไรสุทธิ 4,443 ล้านบาท
- ปี 2565 มีกำไรสุทธิ 9,508 ล้านบาท
- ล่าสุดช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มีผลขาดทุนสุทธิ 469.7 ล้านบาท
ข้อมูลและรูปภาพ : เอสโซ่ประเทศไทย, บางจาก, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย