อายุยิ่งเยอะยิ่งเตี้ย! สัญญาณกระดูกพรุน อายุน้อยก็เป็นได้!
รู้หรือไม่ ? ผู้สูงอายุหลายคนมี “โรคกระดูกพรุน” ซึ่งผู้หญิงที่เสี่ยงมากกว่าผู้ชาย หลายคนเข้าใจว่า อายุเยอะยิ่งเตี้ยลงเป็นเรื่องปกติ แต่ที่จริงนั้นคือสัญญาณโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่มวลกระดูกมีการลดหรือบางลงเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมากกว่าผู้ชายเนื่อจากฮอร์โมนเพศสำคัญที่มีหน้าที่คงมวลกระดูกไว้ลดลง จึงนับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย โดยองค์กรอนามัยโลกได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยไว้ว่า
ผู้ที่มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของมวลกระดูกเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 จากการตรวจด้วยเครื่อง DXA ทางรังสี ถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุน
อย่ารอให้ "กระดูกพรุน" แล้วค่อยตรวจมวลกระดูก รู้เร็วป้องกันได้
โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่มองไม่เห็น รู้ทันป้องกันหัก
จึงถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่ยิ่งอายุเพิ่มขึ้นยิ่งต้องระวัง ของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้ ควรรับการตรวจมวลกระดูกเพื่อหาภาวะโรคกระดูกพรุน
- ชายที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป
- หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- หญิงที่หมดประจำเดือนเมื่ออายุ 45 ปี หรือน้อยกว่า
- หญิงหมดประจำเดือนที่มีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 20 กก./ตรม.
- หญิงหมดประจำเดือนที่มีความสูงลดลงตั้งแต่ 4 ซม.ขึ้นไป
- หญิงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติกระดูกหักจากการหกล้ม
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์ วันละ 7.5 มิลลิกรัม ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน
โรคกระดูกพรุนสามารถสร้างความทุพพลภาพให้แก่ผู้ป่วยได้เพราะมวลกีระดูกที่น้อยลง เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะบริเวรข้อสะโพก จากการศึกษาพบว่า อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกข้อสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนนั้น สูงถึง 20% ใน 1 ปี นอกจากนี้ การเกิดกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุน ยังอาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาหลังโก่งผิดรูป กระดูกสันหลังเบียดทับเส้นประสาท ทำให้มีปัญหาต่อการเดิน
แม้ว่าผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนบางรายจะไม่มีกระดูกหัก แต่โรคกระดูกพรุนก็จะส่งผลให้การผ่าตัดรักษาโรคกระดูกและข้อนั้นทำได้ยากยิ่งขึ้น อาทิ
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ในรายที่มีภาวะข้อเสื่อม เป็นต้น
เนื่องจากกระดูกมีลักษณะบาง และเปราะ การใส่ข้อเทียมจะยิ่งทำให้เสี่ยงเกิดกระดูกหักระหว่างการผ่าตัด นำมาสู่ความซับซ้อนของการผ่าตัดที่มากขึ้น และอาจได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเท่าที่ควร
กระดูกข้อมือหัก สัญญาณเตือนโรคกระดูกพรุน
การศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกข้อมือหักจากการหกล้ม มีโอกาสที่จะเกิดกระดูกข้อสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ ในอีก 15 ปีข้างหน้า สำหรับการรักษากระดูกข้อมือหักสามารถทำได้ทั้งการรักษาแบบผ่าตัด และ ไม่ผ่าตัด แต่การศึกษาในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดได้ผลการรักษาดีกว่ากลุ่มไม่ผ่าตัด ทั้งในแง่ของการใช้งาน การฟื้นตัว และคุณภาพชีวิต
อายุเยอะแล้วตัวเตี้ยลง ?
อาจมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังยุบ ซึ่งเป็นผลจากโรคกระดูกพรุน ซึ่งการผิดรูปของกระดูกสันหลังตามที่กล่าวมา จะทำให้สรีระของผู้ป่วยเสียสมดุล เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม และมีความลำบากในการเดินมากขึ้น ซึ่งมีการเข้าใจผิดว่า เมื่อแก่ตัวลง กระดูกต้องเสื่อม หลังต้องคด ต้องเตี้ยลง เป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถมีกระดูกที่แข็งแรง มีสรีระที่ปกติได้ แม้อายุจะเยอะขึ้น ด้วยการดูแลสุขภาพ และเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อทุกครั้ง
รู้หรือไม่ ? ผอมไปก็เสี่ยงโรคได้ ทั้งไขมันในเลือดสูง – กระดูกพรุน
อายุน้อยก็เป็นโรคกระดูกพรุนได้ ? เนื่องจากมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน
- การขาดวิตามินดีขาดแคลเซียม
- ดื่มกาแฟมากเกินไป
- ไม่ออกกำลังกาย
- การสูบบุหรี่
- กลุ่มคนอายุน้อยที่ป่วยด้วยโรคบางอย่าง เช่น
- โรคอดอาหารจนเกิดความผิดปกติในการกิน
- โรคที่มีปัญหาในการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารรวมถึงผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนขาดหายไปเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้ท้อง
- รับยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะบางตัว ยารักษาโรคลมชักบางตัว ยารักษาเบาหวานบางตัว ตลอดจนยารักษาโรคมะเร็งหลายชนิดซึ่งก็มีผลให้เกิดกระดูกพรุนได้
นอกจากกระดูกแล้ว กล้ามเนื้อและข้อ ก็เป็นส่วนสำคัญในการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งสารอาหารที่มีประโยชน์และช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกมีความแข็งแรงควบคู่ไปด้วยกัน คือ วิตามินดี ที่จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและช่วยคงมวลกล้ามเนื้อด้วย หากดูแลตัวเองดี สูงวัยแค่ไหนก็เก๋าได้ไม่แพ้รุ่นลูกรุ่นหลาน !
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท และ โรงพยาบาลเปาโล
กลุ่มอาหารบำรุงกระดูกแข็งแรงไม่เปราะแตกหักง่าย ชะลอโรคกระดูกพรุน
กันล้มกระดูกหักในผู้สูงอายุ ด้วย “วิตามินดี-แคลเซียม-7 ท่าออกกำลัง”