"นอนกัดฟัน" ปัญหาการนอนไม่มีคุณภาพ อาจสะท้อนความเครียด-สุขภาพฟันแย่
นอนกัดฟัน โบราณว่า เป็นคนอาภัพ แต่อันที่จริง ทางการแพทย์ยังไม่ได้สรุปว่า สาเหตุหลักของนอนกัดฟัน มาจากอะไร แล้วทำไมถึงนอนกัดฟัน?
ฟันของเรา มีหน้าที่เป็นระบบบดเคี้ยวก่อนส่งเข้าสู่ระบบอื่นของร่างกาย ซึ่งอาการนอนกัดฟัน เป็นการทำงานนอกหน้าที่ของระบบบดเคี้ยวในขณะนอนหลับ ที่ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวหดตัวผิดปกติ จึงเกิดการกัดฟัน จัดเป็นความผิดปกติของการนอนหลับอย่างหนึ่ง (Sleep disorders) ซึ่งมักเกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กส่งผลลากยาวถึงตอนโต โดยในปัจจุบันทันตแพทย์เองก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการที่ เด็กนอนกัดฟัน แต่พอประเมินได้จากปัจจัยเหล่านี้
นอนแบบไหน? ถึงเรียกว่านอนหลับดี สมองได้พัก ลดเลี่ยงอัลไซเมอร์
อาการนอนกระตุก-คล้ายตกเหว ปัญหาการนอนที่พัฒนาเป็นโรคได้
- สภาพจิตใจ เด็กๆ อาจมีความวิตกกังวลหรือแอบเครียดกับอะไรบางอย่าง ซึ่งมีส่วนไปกระตุ้นสมองจนให้เกิดอาการนี้
- ส่วนหนึ่งอาจมาจากพันธุกรรม
- เกิดจากร่างกายของตัวเด็กเองที่ระบบสมองและประสาทอัตโนมัติ อาจถูกกระตุ้นมากเกินไป
- ฟันของเด็กมีปัญหา เช่น ช่วงฟันแท้กำลังขึ้น การสบฟันที่ผิดปกติ
- ยาบางอย่าง เช่น ยาต้านโรคซึมเศร้าบางตัว อาจไปกระตุ้นทำให้เกิดการนอนกัดฟัน (แต่สาเหตุจากยามักเกิดกับผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก)
เด็กนอนกัดฟัน อาจพบโรคและพฤติกรรมอื่นที่ผิดปกติในขณะนอนหลับร่วมด้วยซึ่งอาจส่งผลให้ทางเดินหายใจอุดกั้น หยุดหายใจขณะหลับได้ และเด็กที่ชอบนอนกัดฟันอาจเป็นสมาธิสั้นได้อีกด้วย เช่น
- ปัสสาวะรดที่นอน
- ละเมอพูด เดินละเมอ
- นอนกรน
ผลของการนอนกัดฟันอาจส่งผลให้
- เสียวฟันบ่อยๆ
- เกิดฟันบิ่น ฟันร้าว จนกระทั่งฟันแตก
- เกิดแผลในช่องปาก
- ปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร จนอาจปวดร้าวไปถึงในหู
- รู้สึกเมื่อยเวลาเคี้ยวอาหาร
- อาการปวดศีรษะบ่อยๆ
- ฟันสึกกร่อน ฟันมีขนาดสั้นลง และเกิดอันตรายที่โครงสร้างฟันจนทะลุถึงโพรงประสาทฟันได้
รู้ได้อย่างไรว่านอนกัดฟัน ?
- ส่วนมากคนที่นอนด้วยเขาจะบอกเราได้
- อาจสังเกตตัวเองว่าตื่นนอนแล้วรู้สึกเมื่อยหรือเจ็บตึงที่บริเวณแก้ม หน้าหู หรือมีข้อต่อขากรรไกรขยับลำบาก ติดๆ ขัดๆ
- ถ้าให้ทันตแพทย์ตรวจจะพบมีฟันสึกผิดปกติ ไม่สมกับอายุ ดูบริเวณแก้มด้านในและที่ขอบลิ้น มีรอยหยักตามแนวสบฟันชัดเจน แต่ต้องดูประกอบกันหลายอย่าง และอาจใช้เครื่องมือที่ช่วยทดสอบว่านอนกัดฟัน
รู้เร็ว รักษาได้! ตรวจ Sleep Test บอกสาเหตุของปัญหาด้านการนอนหลับ
วิธีนอนที่เหมาะสมป้องกันนอนกัดฟัน
- นอนในห้องที่เงียบ สงบ แสงไม่จ้า เพื่อให้ลูกนอนหลับสบาย
- ไม่ควรกินหนักก่อนนอน 3 ชั่วโมง
- อย่าให้ทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายหนักหักโหมก่อนเข้านอน
- สำหรับฝึกในวัยเด็ก ควรสอนให้เด็กๆ รู้จักกิจวัตรของตัวเอง เข้านอนตรงเวลา ไม่ให้ดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์ในเวลาดึก เพราะสิ่งเหล่านี้สร้างความตื่นเต้น กระตุ้นทำให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้
- ในเด็กที่ฟันกำลังขึ้น ควรมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและรับการดูแลที่เหมาะสม ส่วนในเด็กที่ฟันสบกันผิดปกติอาจปรึกษาทันตแพทย์จัดฟันเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
- ใส่เฝือกฟันเวลานอน โดยจะทำในเด็กที่มีฟันแท้ขึ้นแล้วหรือเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้การนอนกัดฟันไม่ใช่ความเชื่อโบราณ แต่เป็นสิ่งที่ต้องให้ความใส่ใจสุขภาพการนอน ถ้าการนอนไม่มีคุณภาพและไม่ถูกรักษาก็จะทำให้ปัญหาต่างๆตามมาได้
ข้อมูลจาก : คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลสมิติเวช
‘นอน 8 ชั่วโมง’ปรับสมดุลร่างกายพัฒนาสมอง-อารมณ์เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
เทคนิคการหายใจ “4-7-8” ส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับสบาย ภายใน 1 นาที