กินผัก 6 ทัพพี แก้ปัญหาระบบขับถ่าย ลดเสี่ยงโรคเรื้อรัง เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย
แค่ไม่กินผัก? เสี่ยงโรคได้ เป็นความจริง เพราะผักจะทำหน้าที่เหมือนไม้กวาดที่ปัดกวาดหยากไย่ในลำไส้ของเรา เสมือนการร่างพิษและส่งเสริมการขับถ่ายช่วยลดเสี่ยงโรคเรื้อรังต่างๆ
ช่วงปีที่ผ่านมา ใครบ้างเป็นดาวร้านหมูกระทะ ฟาสต์ฟู้ด หมูกรอบแสนอร่อย เมินหน้าหนีผักหรือผลไม้ที่รู้อยู่แก่ใจว่ามีประโยชน์ต่อระบบร่างกายโดยเฉพาะระบบขับถ่าย จนต้องท้องอืด ท้องผูกอยู่บ่อยครั้ง และนับเป็นการใช้ชีวิตที่ผิดแม้จะมีความสุขแต่ความสุขนั้นอาจนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรัง อย่างริดสีดวง มะเร็งลำไส้ โรคอ้วน เบาหวาน รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองด้วย
แค่ไม่กินผักส่งผลขนาดนี้เลยหรอ ?
สังเกตง่ายๆ จากระบบย่อยอาหาร ว่า เราได้ขับถ่ายทุกวันหรือไม่ ยากง่ายแค่ไหน?
รวมลิสต์อาหาร ผัก ผลไม้ -สมุนไพร ล้างพิษตับ-ป้องกันและชะลอโรคตับ
อาหารรักษาสมดุลลำไส้ ห่างไกลมะเร็งลำไส้ ระบบขับถ่ายดีเยี่ยม
สำหรับมนุษย์ เซลลูโลสจากพืชที่เรากินเป็นอาหารเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระระหว่างที่เซลลูโลสเคลื่อนที่ผ่านผนังลำไส้จะไปเสียดสีกับผนังทางเดินอาหารและเป็นการกระตุ้นให้มีการสร้างเมือกโดยเซลล์สร้างเมือก (mucous cell) ที่มีอยู่ในผนังทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยทำให้การลำเลียงในทางเดินอาหารทำได้ง่ายขึ้น ลื่นขึ้น ส่งผลทำให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น (การย่อยเซลลูโลสในร่างกายมนุษย์เกิดขึ้นในอัตราส่วนที่น้อยมาก เพราะมนุษย์ไม่ได้กินพืชเป็นอาหารหลัก เหมือนในสัตว์กินพืช) และนอกจากนี้เส้นใยเซลลูโลส ยังช่วยทำความสะอาดผนังลำไส้ทำให้ไม่ให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในลำไส้ ลดปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งในลำไส้ได้อีกด้วย
พูดง่ายๆ คือ ผักมีใยอาหารช่วยทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด มีวิตามินและแร่ธาตุ ช่วยปรับสมดุลเอนไซม์และฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีสารพฤกษเคมีช่วยต้านมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านการอักเสบของเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย ขณะที่ควรกินผักให้หลากหลายตามฤดูกาล ช่วยให้ได้รับคุณค่าที่เพียงพอและลดการสะสมของสารเคมี เนื่องจากการบริโภคผักนอกฤดูกาล เสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีมากกว่า และมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยกว่าผักตามฤดูกาลทั้งนี้ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม หรือประมาณ 6 ทัพพี เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ
อาหารสำหรับผู้ป่วย “โรคแผลในกระเพาะอาหาร” กินแบบไหนไม่ปวดท้อง
ข้อแนะนำก่อนนำผักมาปรุงอาหาร- ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างหรือการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค
- ผ่านน้ำก๊อกที่ไหลนาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมเกลืออัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร หรือน้ำผสมน้ำส้มสายชูอัตราส่วนครึ่งถ้วยตวงต่อน้ำ 4 ลิตร หรือ น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) อัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 10-15 นาที
- จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง สำหรับผักบางชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปล้างน้ำหลายๆครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที
ฉะนั้นปีใหม่นี้ ฉลองได้ที่อย่าลืมมีผักในมื้ออาหารด้วยนะคะ และกินผักสร้างเป็นนิสัย เริ่มต้นวันนี้ดีกว่าป่วยในวันหน้า เพราะนอกจากสุขภาพร่างกายจะแข็งแรงแล้วยังสร้างอานิสงส์ให้กับผิวพรรณและระบบอื่นของร่างกายด้วย อย่าลืมออกกำลังกายและดื่มน้ำอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
5 สุดยอดวิตามินพัฒนาสมองและความจำ ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์
ตาใสปิ๊ง! ด้วยอาหารบำรุงดวงตาจากธรรมชาติ ป้องกัน-ชะลอปัญหาด้านสายตา