กระดูกพรุน ใครบ้างที่ต้องเสี่ยง ? ตรวจเจอก่อนป้องกันได้
ภาวะกระดูกพรุน ถูกเข้าใจ ว่าต้องรอให้อายุเยอะก่อนถึงจะเป็นได้ จริงๆแล้วอายุน้อยก็เป็นได้ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ที่รู้ได้จากการ “ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก” หรือ DEXA scan แล้วใครบ้างควรตรวจ? เช็กเลยค่ะคุณมีความเสี่ยงหรือไม่ ?
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ซึ่งลดลงมากจนถึงขั้นวิกฤต จนส่งผลให้กระดูกขาดความแข็งแรง เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงมีความเสี่ยงที่กระดูกจะแตกหักได้ง่าย โดยสามารถรู้ได้โดยการ ‘การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก’ โดยจะเป็นการตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะ เพราะการ X-Ray อย่างเดียวอาจไม่สามารถตรวจพบอย่างละเอียดได้ จึงต้องใช้การตรวจ BMD (Bone Mineral Density) หรือเครื่อง DEXA scan
ไขความลับ “แคลเซียม” ชะลอโรคกระดูกพรุนหากกินมากเกินไปอาจก่อโรคได้
อายุยิ่งเยอะยิ่งเตี้ย! สัญญาณกระดูกพรุน อายุน้อยก็เป็นได้!
ใครบ้างเสี่ยงและควรคัดกรองโรคกระดูกพรุน
- ผู้หญิงเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน (อายุประมาณ 45 ปีขั้นไป)
- มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- ผู้หญิงที่เคยได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างก่อนหมดประจำเดือน
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม
- ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ หรือยากดฮอร์โมนเป็นเวลานาน
- ผู้ที่ออกกำลังกายหนักๆ เพราะหากมีภาวะกระดูกพรุน...อาจเสี่ยงต่อกระดูกหักแม้การกระแทกเพียงเล็กน้อยได้
การป้องกันภาวะกระดูกหักในผู้สูงอายุ ที่เป็นผลกระทบมาจากภาวะกระดูกพรุน
เมื่อมีการสลายตัวของกระดูกมากกว่าการสร้างขึ้นใหม่ หรือมีการสร้างกระดูกน้อยเกินไป ก็จะส่งผลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงเรื่อยๆ จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะกระดูกพรุน และส่งผลให้แค่การล้มเบาๆ ก็ทำให้ผู้สูงอายุกระดูกแตกหรือหักได้ง่ายๆ ยิ่งถ้าเคยกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนแล้ว ก็ยิ่งมีโอกาสสูงถึง 50% ที่จะเกิดกระดูกหักที่จุดอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นการตรวจเช็กความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นประจำทุก 1-2 ปี จึงมีความสำคัญมาก เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกหัก และรักษาภาวะกระดูกพรุนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ตรวจภาวะกระดูกพรุนเพื่อความชัวร์…ข้อดีของเครื่อง DEXA scan
- ประเมินภาวะมวลกระดูกว่าอยู่ในระดับใด เช่น ภาวะกระดูกพรุน หรือภาวะกระดูกบาง
- ประเมินโอกาสการเกิดกระดูกหัก
- ติดตามการรักษาโรคกระดูกพรุน
- ตรวจวัดผลได้อย่างรวดเร็วจาก 2 จุดหลัก คือ กระดูกหลังและกระดูกสะโพก
- มีความปลอดภัยสูง ราคาไม่แพงง
กลุ่มอาหารโซเดียมสูง กินมากเสี่ยงไตวาย-โรคหัวใจ-กระดูกพรุน
การรักษาภาวะกระดูกพรุน ทำอย่างไร?
หากตรวจพบว่ามีภาวะกระดูกพรุนจะมีแนวทางรักษาหลักๆ คือ การยับยั้งการสลายกระดูกโดยมีทั้งรูปแบบยากิน และการฉีดยารักษา ควบคู่ไปกับการเสริมแคลเซียมให้ร่างกาย ดังนั้นการดูแลร่างกายตัวเองให้มีมวลกระดูกให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นเสริมอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผัก ปลาเล็กปลาน้อยเพื่อบำรุงกระดูก หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม ออกรับแดดอ่อนๆ ยามเช้าเพื่อให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงจึงเป็นการช่วยซัพพอร์ตแรงกระแทกทำให้กระดูกไม่หักเวลาหกล้มได้ดี นอกจากนี้การตรวจเช็กความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นประจำ ที่จะช่วยให้รู้อาการก่อนล่วงหน้า ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
รู้หรือไม่ ? ผอมไปก็เสี่ยงโรคได้ ทั้งไขมันในเลือดสูง – กระดูกพรุน
“ปวดเรื้อรัง”สัญญาณ“มะเร็งกระดูก”อายุน้อยเสี่ยง! เผยวิธีรักษาไม่สูญเสียอวัยวะ