โดพามีนสารแห่งความยินดี ควบคุมระบบประสาทเกี่ยวเนื่องโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมองบริเวณแกนสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดพามีน (Dopamine) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสารเคมีในสมองเสียสมดุลไป จึงทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ
รู้จักสารโดพามีน (Dopamine)
ฮอร์โมนตัวนี้มีความเกี่ยวกับความพึงพอใจ รักใคร่ และยินดี เป็นสารที่หลั่งออกจากสมองกับเซลล์ประสาทในร่างกาย โดพามีนจะเกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทหลายๆ ส่วน เช่น
- การทำงานของระบบประสาทสมอง
- การเคลื่อนไหว
- ความจำ และการเรียนรู้
5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์-พาร์กินสัน โรคสมองส่งต่อได้ทางพันธุกรรม สัญญาณ-วิธีชะลอโรค
อาการที่โรคพาร์กินสันหลังขาดสารโดพามีน
- สั่นเคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
- การทรงตัวไม่ดี เสียงค่อยและเบาลง
- สีหน้าไร้อารมณ์
- หลังค่อม
- ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง
- ท้องผูก
- ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับ
สั่นแบบไหน? โรคพาร์กินสันแท้ ปล่อยลุกลามอาจเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
3 วิธีการเพิ่มระดับฮอร์โมนโดพามีน
- ออกกำลังกาย
- ห่างไกลความเครียด
- กินอาหารที่มีกรดอะมิโนและโปรตีนอย่างเพียงพอ เพราะโดพามีนสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ Tyrosin ซึ่งจะได้จากอาหารประเภทโปรตีนที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ฯลฯ
อย่าละเลย! “วัยทอง” ฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด