“หัวเข่าลั่น” แบบไหนอันตราย? สัญญาณแรกของข้อเข่าเสื่อม
“หัวเข่าลั่น” หลายคนคงกร๊อบแกร๊บๆ ที่หัวเข่า จนเป็นเรื่องปกติ จนปล่อยปะละเลย แต่รู้หรือไม่? หัวเข่าลั่นแล้วมีอาการปวดร่วมเป็นสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมได้
หัวเข่าลั่น เกิดจากแก๊สที่อยู่บริเวณรอบหัวเข่ามีการสะสมกันที่ด้านในของน้ำเลี้ยงข้อเข่าจนเป็นฟองแก๊สในน้ำเลี้ยงข้อเข่า เมื่อมีการขยับหรือมีการงอเข่า ฟองแก๊สนั้นก็จะแตกตัวและทำให้เกิดอาการหัวเข่าลั่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในขณะที่ต้องงอเข่ามากๆ เช่น การนั่งยองๆ การนั่งคุกเข่า หรือการนั่งพับเพียบนานๆ ซึ่งอาการหัวเข่าลั่นก็อาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมตามมาได้
“เสียงข้อเข่า” บอกอะไรเราได้บ้าง ? เช็กอาการข้อเสื่อมและวิธีป้องกัน
สปสช.ออกหลักเกณฑ์จ่ายเงิน ค่าผ่าตัดเข่าเทียม-ผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน
อาการหัวเข่าลั่น สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี
- หัวเข่าลั่นแต่ไม่มีอาการปวด ในกรณีที่ขยับเข่า งอเข่า หรือเหยียดเข่าแล้วมีอาการหัวเข่าลั่น แต่ไม่มีอาการเจ็บใดๆ ตามมา อาจเป็นเพียงแค่การขยับของกระดูกอ่อนที่บริเวณข้อเข่าให้เข้าที่ จึงไม่ใช่อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ทั้งนี้ หากปล่อยไว้นานเข้าก็อาจส่งผลทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมตามมาได้เช่นกัน
- หัวเข่าลั่นแล้วรู้สึกปวด ในกรณีที่มีการงอหรือเคลื่อนไหวบริเวณเข่าแล้วเกิดอาการหัวเข่าลั่นและมีอาการปวดตามมา หรือรู้สึกปวดเมื่อได้รับแรงกดบริเวณเข่า นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม และหากรู้สึกเหมือนมีอะไรฝืดๆ ติดขัดทุกครั้งที่มีการขยับข้อเข่า อาจแสดงถึงการมีภาวะข้อเข่าเสื่อมที่ค่อนข้างรุนแรงแล้ว
ส่วนการรักษานั้นแพทย์จะทำการตรวจด้วยการเอกซเรย์บริเวณหัวเข่าของผู้ป่วย หากผลการเอกซเรย์พบว่าเป็นอาการของข้อเข่าเสื่อม ก็จะรักษาตามระยะของอาการที่พบ โดยมีตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานยา การฉีดยา การทำกายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัดหากพบว่ามีอาการข้อเข้าเสื่อมรุนแรงมาก
เช็ก 5 สัญญาณเตือน “เข่าเสื่อม” เสียงในเข่า-งอไม่ได้ เข้าข่ายหรือไม่?
ดูแลตัวเองให้ไว...ห่างไกลข้อเข่าเสื่อม
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะจะทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป จนเกิดอาการปวดสะสมได้
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือทำกิจวัตรที่ต้องงอเข่าเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ หรือเดินขึ้นบันไดบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ส่งผลต่อการรับน้ำหนักของข้อเข่า
- หลีกเลี่ยงกีฬาที่มีผลต่อการกระแทกข้อเข่า เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล และเทนนิส เป็นต้น
- ควบคุมน้ำหนัก
- เลือกใช้เก้าอี้ที่มีที่รองแขน เวลาลุกให้ใช้แขนพยุงเพื่อไม่ให้หัวเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป
- เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และคอลลาเจนสูง เพื่อบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
อย่างไรก็ตามอาการหัวเข่าลั่น ไม่ได้ร้ายแรงอะไรหากไม่มีอาการปวดร่วมด้วย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีอาการปวดร่วมด้วยมักเป็นสัญญาณของความผิดปกติบริเวณข้อเข่า ควรหาโอกาสไปพบแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัยและรับการรักษาอย่างตรงจุด เพราะข้อเข่านั้นมีความสำคัญกับการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
6 ท่ากายบริหารง่าย ๆ ทำเองได้ที่บ้าน ช่วยถนอมดูแลสุขภาพ "ข้อเข่า"
สตรอว์เบอร์รี หวานอมเปรี้ยว ช่วยต้านอนุมูลอิสระป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม
@stayfitbybdms สายขี้เกียจต้องดู กระขับต้นขาได้ด้วยท่านอน#stayfit#StayfitbyBDMS #bdms #healthbringswealth #กระชับ#ครูเชอรี่ #เฮลตี้#tiktok #เทรนเนอร์#สายนอน #วาเลนไทน์2023 เสียงต้นฉบับ - Stay Fit by BDMS