ร้อนจัดกระตุ้นไมเกรน เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง
อากาศร้อนจัด หนึ่งในปัจจัยกระตุ้นไมเกรนที่ผู้หญิงเสี่ยงเป็นไมเกรนมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า แนะวิธีดูแลตัวเอง
การปวดไมเกรน (Migraine headache) เกิดจากการที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในเยื่อหุ้มสมองหลั่งออกมาผิดปกติ ส่งผลต่อหลอดเลือดที่อยู่บริเวณผิวสมองเกิดการอักเสบ หลอดเลือดแดงบริเวณผิวสมองหดตัว ทำให้เกิดอาการอื่นที่พบร่วมกับอาการปวดศีรษะ และสารสื่อประสาทที่มีผลทำให้หลอดเลือดแดงในชั้นเยื่อหุ้มสมองคลายตัวส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะตุ๊บๆ อย่างรุนแรง ซึ่งในช่วงเดือนเมษายนของประทศไทยที่มีอุณหภูมิอากาศร้อนและมีแสงแดดแรงก็อาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการปวดศีรษะไมเกรนเกิดขึ้นได้
“ปวดหัว”ตรงไหนบอกอาการ“เครียด-ไมเกรน-ไซนัส”ประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง
แดดเมืองไทย! เลือกครีมกันแดด SPF สูงแค่ไหนถึงจะเอาอยู่ ?
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
- อากาศร้อน ความกดอากาศสูง แสงแดด เสียงดัง กลิ่นเหม็น
- สภาพร่างกายที่เหนื่อยล้า
- การขาดการออกกำลังกาย
- ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
- แสง เช่น แสงแดด แสงสว่าง จากจอคอมพิวเตอร์
- กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นน้ำมันก๊าด หรือกลิ่นสารเคมี
- อาหารบางชนิด เช่น ช็อคโกแลต ชีส ผงชูรส ชา กาแฟ ไวน์
- มลพิษทางเสียง เช่น เสียงดัง
- ภาวะเครียดหรือความวิตกกังวล
- การรับประทานยาคุมกำเนิดหรือการบำบัดแทนฮอร์โมน อาจทำให้อาการไมเกรนแย่ลง
นอกจากนี้การปวดไมเกรนยังเกี่ยวข้องกับ พันธุกรรมมากถึง 50% ขณะที่เพศหญิงมีการปวดศีรษะไมเกรนมากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า เพราะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยช่วงก่อน/ระหว่าง/หลังมีประจำเดือนในวัยเจริญพันธุ์จะกระตุ้น
อาการของการปวดศีรษะไมเกรน
- ปวดศีรษะด้านเดียว/สองข้าง/หรือสลับด้านไปมา
- ลักษณะอาการปวดแบบตุ๊บๆ ปวดรุนแรง
- อาการปวดกินเวลานาน 4-72 ชั่วโมง
- มีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ คือ คลื่นไส้ อาเจียน
- มีอาการร่วมกับการปวดศีรษะชนิด Aura ซึ่งอาจนำมาก่อน เกิดร่วมกัน หรือหลังอาการปวดศีรษะได้ อาการที่พบได้แก่ ตาพร่า/เห็นแสงคล้ายแฟลช/จุดดำในตา อาการชาโดยเฉพาะรอบปากและมือ อาการอ่อนแรง อาการวิงเวียน
- อาการมักสัมพันธ์กับตัวกระตุ้นชัดเจน
การรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรน
- การรักษาอาการปวดเฉียบพลัน ด้วยยาแก้ปวดชนิดรับประทานและชนิดฉีด
- การป้องกันอาการปวดศีรษะ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดบ่อย มีอาการปวดแต่ละครั้งรุนแรง อาการปวดกินเวลายาวนานหรือมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ตามัว เวียนศีรษะ ชา อ่อนแรง โดยรักษาด้วยยาป้องกันอาการปวดซึ่งมีทั้งชนิดรับประทาน และยาฉีด
แดดร้อนจัดทำลายดวงตา เสี่ยงกระจกตาเสื่อม-ริ้วรอยร่องลึก แนะวิธีถนอมสายตา
อีกทั้งควรสังเกตปัจจัยกระตุ้นการปวดศีรษะและหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดศีรษะ และการรักษาสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นร่วมด้วยเช่น โรคกล้ามเนื้อตึงตัว และ ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งหากหน้าร้อนนี้มีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอกในช่วงฤดูร้อน หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ร้อนและแออัด อาจพกร่มและใส่แว่นกันแดด หรืออาจพกผ้าเย็นติดตัวเพื่อเช็ดใบหน้า ต้นคอ บ่า และใหล่ เพื่อบรรเทาอุณภูมิความร้อนภายในร่างกาย ดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยคลายความร้อน หากอาการไมเกรนกำเริบให้รีบหาที่ร่มหลบและหลีกเลี่ยงแสงจ้าจากแดด รับประทานยาแก้ปวด หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
เตือนหน้าร้อน! ฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยง “หมา-แมว” ก็เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
เตือน!ดัชนีความร้อนและรังสียูวีสูง เสี่ยงฮีทสโตรก-ผิวเกรียมแดด