ปวดหลังเหมือนไฟฟ้าช็อต-ร้าวไปทั้งหลัง ใช่สัญญาณบอกโรคหรือไม่?
โอ๊ย ปวดหลัง! คำอุทานที่เหมือนเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับบางคน ที่เป็นๆหายๆ และมองข้ามสัญญาณอาการปวดหลังจนก่อโรคขึ้นมาอย่างไม่ทันทั้งตัว เช็กอาการปวดหลังไม่ธรรมดาควรพบแพทย์!
อาการปวดหลัง อาการยอดฮิตของคนไทยที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องนั่งทำงานนานๆ หรือมีการใช้งานบริเวณหลังมากๆ ปัจจัยในการเกิดอาการปวดหลังของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ซึ่งบางคนอาจปวดหลังเพียงเล็กน้อย หรือบางคนอาจปวดมากจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
สาเหตุและปัจจัยของอาการปวดหลัง
- เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การยืน การนั่ง การเดิน การนอนที่ผิดวิธี
- การนั่งผิดท่าเป็นเวลานานโดยที่ไม่มีการขยับร่างกาย
ปวดหลังแบบไหน? ควรพบแพทย์ สัญญาณที่ไม่ควรละเลย
วัยรุ่นปวดหลัง! ไม่ต้องรอให้สูงอายุก็ปวดได้! เช็กสาเหตุและวิธีรักษา
- การยกของหนัก หรือก้มยกของด้วยตัวคนเดียว
- ที่นอนมีลักษณะไม่ถูกต้องตามสรีระการนอน หรือที่นอนมีลักษณะแข็งหรือนุ่มเกินไป
- กลุ่มคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย กลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือมีภาวะอ้วน
- กลุ่มคนที่มีภาวะกระดูกพรุน
- เกิดโรคบางชนิด หรือเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณหลัง
- อายุ โดยเกี่ยวข้องกับการใช้งานหนักและการเสื่อมสภาพของร่างกาย
- มีโครงสร้างที่ผิดแปลกไปของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด
- การสูบบุหรี่ ที่อาจเป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพ
อาการปวดหลังแบบนี้ อาจเป็นสัญญาณจากโรคที่กำลังจะตามมาได้
- ปวดหลังแบบกว้างๆ ก้มหรือแอ่นหลังไม่ได้
- ปวดหลังเมื่อยกของหนักหรือเล่นกีฬา
- ปวดหลังส่วนล่างร้าวลงขา สะโพก หรือก้น
- ปวดหลังร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต
- ปวดหลังร่วมกับอาการชาหรืออ่อนแรง
- ปวดหลังแบบขัดๆ ปวดลึก ปวดเสียว
- ปวดหลังแบบเมื่อยล้า
- ปวดแนวกระดูกกลางหลัง
- ปวดหลังเยื้องออกมาด้านข้าง
- ปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง
อาการปวดหลังเหล่านี้ อาจเป็นสัญญานเตือนของโรคที่อาจตามมา เช่น กล้ามเนื้อหรือเอ็นอักเสบ โรคของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังเสื่อมหรือเคลื่อน ภาวะกระดูกพรุน ภาวะกระดูกสันหลังคด โรคไต และโรคนิ่ว เป็นต้น
ระดับความรุนแรงของอาการปวดหลังของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป มีตั้งแต่อาการปวดที่ปวดเพียงชั่วคราวหรือปวดร้าวฉับพลัน ไปจนถึงอาการปวดที่ส่งผลรบกวนต่อชีวิตประจำวัน หากมีอาการดังกล่าวเป็นระยะเวลานานและไม่รู้สึกดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี
5 นิสัยทำกระดูกสันหลังเสื่อม-อาการแบบไหนสัญญาณหลังพัง!
การรักษาอาการปวดหลังสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
- การรักษาแบบไม่ผ่าตัด : โดยการรักษาด้วยวิธีนี้สามารถรักษาด้วยการทานยาแก้ปวดหรือทำกายภาพบำบัด หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีความรุนแรงของอาการเพิ่มขึ้น อาจใช้การรักษาด้วยวิธีการฉีดยาเข้าเส้นประสาทแทน
- การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด : หากการรักษาด้วยวิธีทานยาหรือฉีดยาแล้วพบว่าอาการไม่ดีขึ้น หรือผู้ป่วยมาพร้อมกับอาการในระดับรุนแรง ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดในการรักษา ซึ่งวิธีการผ่าตัดมีด้วยกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้นรวมถึงดุลยพินิจของแพทย์ในการเลือกใช้วิธีในการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
รวมท่านอนปวดหลัง ทำลายสุขภาพโดยรวม แนะวิธีนอนให้มีประสิทธิภาพ
สะดุ้งตื่นเพราะตะคริว! เช็กความผิดปกติ ปล่อยไว้เรื้อรังอาจก่อโรค