“ตากระตุก” ไม่ใช่แค่โชคลาง อาจเป็นสัญญาณบอกโรค
“ขวาร้าย ซ้ายดี” ความเชื่อเรื่องตากระตุกที่แพร่หลายในสังคม แต่รู้หรือไม่ ตากระตุกอาจบอกโรคบางชนิด เช็กเลย ตากระตุกแบบไหน? ควรพบแพทย์
ตากระตุก (Eye Twitching) อาการที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพียงเล็กน้อย หรืออาจเกิดขึ้นถี่ๆ จนทำให้เกิดความรำคาญได้ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แต่มีอัตราการเกิดที่เปลือกตาบนมากกว่า สามารถเกิดขึ้นและหายได้เองในเวลาอันสั้น แต่ในบางกรณีอาการอาจรุนแรงและไม่สามารถหายเองได้ เช่น อาการตากระตุกเกร็งจนทำให้เปลือกตาด้านบนปิดลงมา
ตาแดงโควิด-19 ต่างกับ เยื่อบุตาอักเสบธรรมดาอย่างไร?
ความลับของ “วิตามินซี” กินวันละเท่าไหร่มีผลดีต่อร่างกายมากที่สุด?
หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงบางอย่าง เช่น โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy) โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) เป็นต้น แต่กรณีนี้พบได้น้อยมาก
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
- นอนหลับไม่เป็นเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ
- มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน
- ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
- สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- แสงสว่าง แสงจ้า ลม หรือมลพิษทางอากาศ
- ตาล้า ตาแห้ง
- เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน โรคภูมิแพ้
- การขาดวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารบางชนิด
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการ ตากระตุก
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามลดการใช้ Smart phone หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลง
- ลด/หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
- งดการสูบบุหรี่ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- พยายามหาสิ่งที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ไม่เครียดกับอาการที่เป็น
- นวดกล้ามเนื้อรอบดวงตา
- ประคบร้อน/อุ่นบริเวณดวงตา ประมาณ 10 นาที
- หากเกิดอาการตาแห้ง หรือเกิดอาการระคายเคืองตา สามารถหยอดน้ำตาเทียมได้
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
- มีอาการตากระตุก 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
- ตำแหน่งที่เกิดตากระตุกเพิ่มขึ้นจากบริเวณเดิม อาจเป็นที่ตาอีกข้างหนึ่ง เช่น ตาขวากระตุก แล้วตาซ้ายกระตุก หรือเป็นที่บริเวณอื่นๆ ของใบหน้า
- บริเวณที่เกิดตากระตุกมีอาการอ่อนแรงหรือหดเกร็ง
- มีอาการบวม แดง หรือมีสารคัดหลั่งไหลออกมาจากดวงตา
- เปลือกตาด้านบนห้อยย้อยลงมา รบกวนการมองเห็น
- เปลือกตาปิดสนิททุกครั้งที่เกิดอาการตากระตุก
รู้จักวิตามินแต่ละชนิด รับวิตามินธรรมชาติได้จากไหน? และอาการขาดวิตามิน
การรักษาอาการตากระตุก
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น และดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ ซึ่งการรักษานั้นจะเป็นไปตามความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์
- การให้ยารับประทาน
- การฉีด Botulinum Toxin หรือ Botox หลังจากฉีดโบท็อกซ์แล้วอาการตากระตุกจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ผลของโบท็อกซ์นั้นจะอยู่เพียงแค่ 3-6 เดือนเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
“ลูกประคบสมุนไพร” แก้ปวดหลัง วิธีการทำ-ขั้นตอนการประคบ
8 ผักยอดนิยมที่ไม่ควรกินดิบ แนะปรุงสุกก่อนเสี่ยงสารพิษอันตรายถึงชีวิต