"บอลลูนหัวใจ" ช่วยชีวิตผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ-ใครบ้างควรปรึกษาแพทย์
เมื่อแพทย์วินิจฉัยจากการฉีดสีแล้วว่าผู้ป่วยมีภาวะหลอดเลือดตีบแคบส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่ผู้ป่วยจะถูกแนะนำให้ทำในทันทีก็ คือ การสวนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนหรือบอลลูนหัวใจ (Balloon Angioplasty) เป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งได้รับความนิยม เพราะไม่ต้องผ่าตัด
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนหรือบอลลูนหัวใจ (Balloon Angioplasty) คือการสอดสายสวนหัวใจ (Guiding Catheter) ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรงปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่ขาหรือแขน เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก ให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง
4 สัญญาณ กับ 5 พฤติกรรม เสี่ยง “หลอดเลือดหัวใจตีบ” ควรพบแพทย์
4 สาเหตุ โรคใหลตาย ภาวะเฉียบพลัน ไม่มีสัญญาณเตือน ใครบ้างต้องระวัง
หลังจากนั้นจึงทำให้บอลลูนแฟบเหมือนเดิม แล้วดึงสายสวนหัวใจออกจากร่างกาย ในกรณีที่แพทย์เห็นว่ารอยตีบยังขยายได้ไม่กว้างพอจะใส่ขดลวดเล็ก ๆ (Stent) เข้าไปยึดติดกับผนังหลอดเลือด ในบางกรณีอาจมีการนำขดลวดที่เคลือบด้วยยามาใช้แทนขดลวดธรรมดา ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายหลอดเลือดแล้ว ยังลดปัญหาเรื่องการกลับมาตีบซํ้าได้ด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และผู้ป่วย
อาการบ่งชี้ที่ควรเข้ารับการรักษา
- แน่นหน้าอกรุนแรง เหมือนมีของหนักกดทับ
- หายใจหอบเหนื่อย เหงื่อท่วม หมดแรง ใจสั่น หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม
- อาจมีอาการปวดร้าว หรือชา ไปที่แขน ไหล่ กราม
- มีประวัติหรือความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะอ้วน สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย
- กราฟไฟฟ้าหัวใจ คลื่นเสียงสะท้อน กราฟหัวใจขณะเดินสายพานผิดปกติ
หลังการขยายหลอดเลือดหัวใจ
- กรณีสอดสายสวนหัวใจเข้าไปทางข้อมือบริเวณข้อมือจะถูกกดห้ามเลือดด้วยสายรัดข้อมือเช่นเดียวกับการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
- กรณีสอดสายสวนหัวใจเข้าไปทางขาหนีบ แพทย์จะคาท่อนำสายสวนไว้จนกระทั่งยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดหมดฤทธิ์ลง จึงนำท่อนำสายสวนออก บริเวณขาหนีบจะถูกกดแผลห้ามเลือดประมาณ 15-30 นาที เมื่อเลือดหยุดจะปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เหนียว และเพื่อให้แผลไม่มีเลือดออกเพิ่ม ช่วงแรกแผลที่ขาหนีบจะถูกกดและห้ามเลือดด้วยหมอนทราย (หนักประมาณ ½ - 1 กก.)ห้ามงอขาหรือลุกนั่งหรือยืนโดยที่แพทย์ไม่อนุญาต หลังการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากลองโควิด มีเปอร์เซ็นต์การเกิดมากน้อยแค่ไหน ?
หากมีอาการเหล่านี้...ควรรีบแจ้งพยาบาล
- รู้สึกอุ่น หรือมีของเหลวไหลซึม หรือเจ็บแปลบบริเวณที่สอดสายสวนเข้าไป หรือมีรอยจ้ำเขียวสีคล้ำขึ้น บวมขึ้น หรือเป็นวงกว้างขึ้น
- รู้สึกไม่สบายตัว หรือต้องการความช่วยเหลือไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม
- หลังจากการขยายหลอดเลือดเพื่อให้ได้ผลดีผู้ป่วยควรอยู่โรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน และยังไม่ควรขับรถกลับด้วยตนเอง
ข้อควรปฏิบัติ...เมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
- ดูแลแผลโดยใช้พลาสเตอร์ปิดแผลไว้จนแผลแห้ง ถ้าแผลเปียกให้ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- รับประทานยาจนกว่าแพทย์จะบอกให้หยุด
- ควบคุมปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือด
- เมื่อแพทย์นัด ควรมาตามนัดเพื่อติดตามอาการและตรวจร่างกาย และหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์และควรแจ้งแพทย์อื่นๆให้ทราบว่าท่านได้รับการฝังขดลวด
สวนหัวใจด้วยบอลลูน...ดีอย่างไร
ข้อดีของการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแคบด้วยวิธีนี้ คือ สามารถช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดบายพาสได้เพราะไม่ต้องดมยาสลบ ทำให้ผู้ป่วยสามารถรู้สึกตัวพูดคุยกับแพทย์ได้ เพราะการวางยาสลบนั้นจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงแก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 1-2 วัน ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติ โดยไม่ต้องกังวลกับอาการภาวะหัวใจขาดเลือด อีกทั้ง สามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง ในกรณีที่หลอดเลือดตีบแคบมากขึ้นในอนาคต
ข้อจำกัดการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
ลักษณะการตีบบางอย่างไม่เอื้อต่อการทำบอลลูนมีโอกาสกลับมาตีบซํ้าได้อีกตรงบริเวณเดิม เนื่องจากกระบวนการสมานแผลตามธรรมชาติของร่างกาย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลพญาไท
ความเครียดก่อภาวะ Broken Heart Syndrome ภัยเงียบกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
กลุ่มอาหารเสริม กินไม่ระวัง ส่งผลเสียกับหัวใจเสี่ยงอาการไม่พึงประสงค์