“เหงื่อออกมือ”แบบไหนเสี่ยงโรคแทรกซ้อน? เกิดจากอะไร-วิธีรักษาให้หายขาด
รู้หรือไม่ ? เหงื่อออกมือถ้าไม่มากเกินไปและเกิดขึ้นบางครั้งคราวอาจไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แต่ถ้าเหงื่อออกมือมากเกินไปจนเปียกชุ่มและกระทบกับการใช้ชีวิต ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ ไทรอยด์เป็นพิษ เพราะฉะนั้นหากมีอาการผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที
เหงื่อออกมือ (Hyperhidrosis) เป็นภาวะความผิดปกติที่มีเหงื่อออกเฉพาะที่มือมากเกินไปจนผิดปกติและไม่ได้ออกที่ตำแหน่งอื่น โดยเป็นหนึ่งในแขนงของโรคเหงื่อออกมากผิดปกติ ซึ่งพบได้ตั้งแต่บริเวณศีรษะ รักแร้ มือ เท้า หรือในผู้ป่วยบางรายอาจพบร่วมกัน เช่น เหงื่อออกมือกับเท้า หรือเหงื่อออกมือ รักแร้ และเท้า เป็นต้น โรคนี้สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและไม่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ เวลา และการออกกำลังกาย แต่ทำให้เสียความมั่นใจในการใช้ชีวิต
"เหงื่อออกมือ" สัญญาณเตือนความผิดปกติ ไม่ใช่แค่เสี่ยง "โรคหัวใจ"
ความเชื่อผิด ๆ การกินยา เสี่ยงบั่นทอนสุขภาพ แนะวิธีกินยาถูกวิธี
สาเหตุการเกิดโรคเหงื่อออกมีอคืออะไร
แบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่
- สาเหตุจากปัจจัยภายนอก มักเป็นผลข้างเคียงจากโรคอื่น ๆ เช่น หัวใจ เบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ รวมถึงการตั้งครรภ์ การรับประทานยาบางชนิดที่กระตุ้นให้เหงื่อออกง่ายมากกว่าปกติ ฯลฯ
- สาเหตุจากปัจจัยภายใน มักเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ที่ควบคุมต่อมเหงื่อบริเวณมือทำงานผิดปกติคือมากกว่าปกติ จึงกระตุ้นให้เหงื่อออกมือมากขึ้นกว่าเดิม
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเหงื่อออกมือคืออะไร
- เหงื่อออกมือทั้งสองข้าง
- เหงื่อออกมือโดยไม่เกี่ยวกับอากาศ การออกกำลังกาย การใช้แรง
- เหงื่อออกมืออย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
- ตื่นเต้น เครียด กังวล
- เวลานอนหลับไม่มีเหงื่อออกมือ
- มีคนในครอบครัวเป็นโรคเหงื่อออกมือ
เหงื่อออกมือรุนแรงและอันตรายแค่ไหน
เหงื่อออกมือมีระดับความรุนแรงตั้งแต่น้อยไปถึงมาก หากเหงื่อออกมือมากเกินไปจะส่งผลให้อับและคันมือ เมื่อเกามากเกินไปอาจติดเชื้อบริเวณผิวหนังรุนแรงตามมาได้ นอกจากนี้หากต้องเข้าสังคมแล้วเหงื่อออกมือมากเกินไป ทำให้เสียความมั่นใจ ส่งผลให้เกิดภาวะทางจิตใจตามมาได้ อีกทั้งในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า วิศวกร หรือการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับไฟฟ้าควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการที่เหงื่อออกมือ
ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยเหงื่อออกมือ แพทย์จะใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย เจาะเลือด เอกซเรย์ปอด เพื่อให้แน่ใจว่าสาเหตุมาจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ หรือมาจากโรคประจำตัวเข้าไปกระตุ้นให้เหงื่อออกมือมากผิดปกติ เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องในลำดับต่อไป
วิธีรักษาโรคเหงื่อออกมือคืออะไร
- การรับประทานยา ในกลุ่มแอนตีโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic) ช่วยลดภาวะเหงื่อออกทางร่างกาย แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียง อาทิ ตาพร่ามัว ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก ฯลฯ
- การทายา เพื่อระงับเหงื่อในกลุ่มอลูมิเนียมคลอไรด์ (Aluminum Chloride) ช่วยแก้ปัญหาการขับเหงื่อมากเกินไป แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการแพ้ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที
- การใช้ยาฉีดที่มือ (Botulinum Toxin) ช่วยคุมอาการเหงื่อออกที่มือได้ แต่ทุก ๆ 6 เดือนอาจต้องมาฉีดซ้ำ
- การผ่าตัดรักษาเหงื่อออกมือ (Thoracoscopic Sympathectomy) เป็นวิธีการที่ดีทีสุดในการช่วยรักษาเหงื่อออกมือให้หายขาดได้
ผ่าตัดรักษาเหงื่อออกมืออย่างไร
การรักษาโรคเหงื่อออกมือที่ช่วยให้หายขาดได้คือ การผ่าตัดส่องกล้องผ่านช่องทรวงอกเพื่อตัดเส้นประสาท(Thoracoscopic Sympathectomy) โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กขนาด 1 เซนติเมตรผ่านช่องทรวงอกบริเวณรักแร้ทั้งสองข้างเพื่อเข้าไปตัดเส้นประสาทอัตโนมัติ (Sympathetic Chain) ที่ทำงานผิดปกติ หลังผ่าตัดผู้ป่วยพักฟื้นเพียงวันเดียวก็กลับบ้านได้ และสามารถเห็นผลหลังผ่าตัดได้ทันที คือมือจะแห้ง แต่อาจพบภาวะแทรกซ้อนอย่างภาวะเหงื่อทดแทน (Compensatory Hyperhidrosis) บริเวณลำตัวหรือต้นขาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน
“แพ้เหงื่อตัวเอง” อย่าปล่อยให้เป็นอุปสรรคการใช้ชีวิต ทำอย่างไรให้หายคัน?
แพทย์ที่ชำนาญการรักษาโรคเหงื่อออกมือ
ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยศาสตร์ทรวงอก แพทย์ผู้ชำนาญด้านการส่องกล้องปอดแผลเล็ก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพที่พร้อมให้การดูแลรักษาโรคเหงื่อออกมือ ด้วยความชำนาญของทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมสหสาขาวิชาชีพที่พร้อมดูแลผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง
ผู้ที่สนใจรับการปรึกษากรุณาติดต่อ Line add: @hearthospital
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ โทร 02-310-3000 หรือ โทร 1719
ปอด หัวใจ สมอง 3 ระบบร่างกายสัมพันธ์กัน เกิดความผิดปกติเพียง 1 เสี่ยงสารพัดโรค