4 เคล็ดลับเซฟ “หลัง” ปวดนานแค่ไหน?ควรคำนึงหมอนรองกระดูก
เคยไหม? ปวดหนึบ ๆ บริเวณหลังและคอ อาการเช่นนี้เกิดขึ้นได้กับคนหนุ่มสาวไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งนอกจากเรื่องกระดูกที่ต้องระวังอาจมีสาเหตุหลักมาจากการใช้หลังไม่ถูกต้อง หรือมีการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไปขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน แต่ปวดหลังนานแค่ไหนควรพบแพทย์
อาการปวดหลัง หากไม่เกี่ยวกับกระดูก อาการปวดหนึบ ๆ นั้นอาจหายไปได้เอง เมื่อกล้ามเนื้อได้รับการผ่อนคลาย แต่ใช่ว่าหายแล้วจะแล้วกัน การเดิน นอน นั่ง ยกของ ลากของ และสารพัดท่าทางไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในแต่ละวันจะคอยบั่นทอนสุขภาพกล้ามเนื้อให้อ่อนแอลงเรื่อย ๆ โดยตัวคุณเองก็ไม่รู้ตัว คุณมีอาการปวดเรื้อรัง หรือปวดเฉียบพลัน
4 เคล็ดลับดี ๆ บอกลาอาการปวดหลัง
- ยกของ ประคองหลัง : ย่อเข่าลงให้ใกล้ของที่จะยกมากที่สุด จับสิ่งของนั้นให้มั่นคง เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องขณะยกของขึ้น ห้ามก้มและบิดเอี้ยวขณะยก
8 ความเชื่อผิดๆ แก้อาการปวดหลังด้วยตัวเอง ที่อาจทำให้อาการแย่ลง
โรคไต-วัณโรคกระดูก อาการ “ปวดหลัง” เป็นสัญญาณเตือน เช็ก!ปวดแบบไหนควรพบแพทย์
- รถเข็น เซฟหลัง ใช้รถเข็นช่วยในการเคลื่อนย้ายและหลีกเลี่ยงการก้มตัว แต่ให้ดันรถเข็นโดยใช้แรงจากกล้ามเนื้อขาและแขน พร้อมรักษาแนวของหลังให้ตรงขณะดันรถไปข้างหน้า
- หยิบของในที่สูง เลี่ยงการเอื้อมหยิบของสุดปลายมือ ควรใช้เก้าอี้ช่วยเสริมความสูงและเขยิบเข้าไปให้ใกล้กับของที่จะหยิบมากที่สุด พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องขณะยก
- นั่งสบาย คลายปวดหลัง ควรเลือกนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงรองรับแผ่นหลังทั้งหมด และมีความโค้งรองรับแนวของกระดูกสันหลังช่วงเอว หรือหาหมอนเล็ก ๆ มาหนุนหลัง ขณะทำงานควรเลื่อนเก้าอี้เข้าใกล้โต๊ะทำงานมากที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการก้มตัว และเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
ปวดหลังแบบไหน? ควรพบแพทย์ สัญญาณที่ไม่ควรละเลย
อย่างไรก็ตามหากอาการปวดหลัง ปวดคอรุนแรงจนทนไม่ไหว หรือไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ หรือมีอาการปวดเรื้อรังนานกว่า 1 เดือน น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ปวดชาตามแขนหรือขา อาการอ่อนกำลังของกล้ามเนื้อ เหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าอาจมีอาการร้ายแรงต่อกระดูกสันหลังเกิดขึ้น เช่น
- กล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง
- ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
- ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังหรือกระดูกสันหลังเสื่อม
- เนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลังและรากประสาท
- ภาวะติดเชื้อของกระดูกสันหลัง
คุณควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ เพียงเท่านี้ก็จะมีสุขภาพหลังที่ดีไปอีกนาน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
ปวดหลังเหมือนไฟฟ้าช็อต-ร้าวไปทั้งหลัง ใช่สัญญาณบอกโรคหรือไม่?