แยกให้ออก! ขี้ร้อนหรือเหงื่อออกผิดปกติเสี่ยง “ไทรอยด์เป็นพิษ” ควรพบแพทย์?
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีรู้สึกว่ามีเหงื่อออกมากผิดปกติ ออกตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นที่มือ ที่เท้า หรือบริเวณรักแร้ แน่นอนว่าสร้างความลำบากและน่าอายในชีวิต ยิ่งเมืองไทยเป็นเมืองร้อนด้วยแล้วยิ่งชวนอึดอัด แต่ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperthydrosis) นั้นเป็นอีกหนึ่งความผิดปกติที่สะท้อนได้หลายโรคร้าย อาทิ ไทรอยด์เป็นพิษ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เกิดเป็นกระบวนการต่างๆ ซึ่งกระบวนการเมตาบอลิซึ่ม (Metabolism) ก็เป็นอีกกระบวนการทำงานที่สำคัญของร่างกาย ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงอาหารที่เราทานเข้าไปให้เป็นพลังงาน ทำให้ร่างกายเกิดความร้อน ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดความร้อน ร่างกายก็จะมีกลไกในการควบคุมหรือระบายความร้อน นั้นออกมาในรูปแบบของ “เหงื่อ” เพื่อให้ความร้อนในร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะสม
“เหงื่อออกมือ”แบบไหนเสี่ยงโรคแทรกซ้อน? เกิดจากอะไร-วิธีรักษาให้หายขาด
เช็กอาการ 6 โรคต่อมไทรอยด์ อย่ามองข้ามก้อนที่คอ อาจเป็นพิษลุกลามรุนแรง
สาเหตุของ “ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ”
ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperthydrosis) คือภาวะที่ร่างกายขับเหงื่อออกมาเป็นจำนวนมาก ไม่เกี่ยวกับสภาพอากาศหรือการออกกำลังกาย ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะอาการออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน (Primary Hyperhydrosis) กลุ่มนี้จะมีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ ที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และไม่ได้มีสาเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ซึ่งเกิดได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย คนไข้ในกลุ่มนี้ จะมีเหงื่อออกในบริเวณบางส่วนของร่างกาย เช่น ใบหน้า ศีรษะ รักแร้ ฝ่ามือ ซึ่งในกลุ่มที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติบริเวณฝ่ามือ อาจเรียกว่า ภาวะเหงื่อมือ หรือ เหงื่อออกมือ เป็นต้น มักพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ในกลุ่มวัยรุ่น ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 30-40 ของคนที่มีภาวะนี้ พบว่ามีญาติสายตรง หรือพ่อแม่ที่มีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติเช่นกัน ผู้ป่วยบางรายมีเหงื่อออกมากที่มือจนเขียนหนังสือหรือจับสิ่งของไม่ได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหา
- กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย (Secondary Hyperhydrosis)
คนไข้ในกลุ่มนี้ จะมีเหงื่อในปริมาณมาก ออกทั่วร่างกาย แม้กระทั่งในเวลานอน ซึ่งมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของโรคอื่น ๆ เช่น- โรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้ร่างการมีการเผาผลาญสูง
- โรควัณโรคปอด
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะอ้วนมาก ๆ
- หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน
- การรับประทานยาบางชนิด เป็นต้น
เช็ก 10 อาการเตือน “ไทรอยด์” รู้ทันรักษาได้ ก่อนเสี่ยงหัวใจล้มเหลว
เบื้องต้นนั้นแพทย์จะต้องจำแนกคนไข้ก่อนว่ามีภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติในระดับใด โดยดูจากลักษณะการออกของเหงื่อ เช่น คนไข้กลุ่มที่มีอาการในระดับทุติยภูมิ แพทย์จะทำการตรวจในด้านอื่นๆ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคที่แท้จริง เช่น การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อหาภาวะไทรอยเป็นพิษ หรือการรักษาร่วมกันกับแพทย์เฉพาะทางด้านต่อมไร้ท่อ ในกรณีที่คนไข้มีภาวะอ้วนมากๆ หรือเป็นโรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งอุบัติการณ์ของผู้ป่วยกลุ่ม primary hyperhidrosis มีการศึกษาพบว่า ประชากรกว่าร้อยละ 0.6 ถึง 1 มีอาการดังกล่าว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ร่วมกับคนไข้ในแต่ละราย ซึ่งมีตั้งแต่การรักษาโดยการกินยา หรือฉีดยา ไปจนถึงการผ่าตัด
- การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด จะเป็นการใช้ยาทาบางกลุ่มหรือการฉีดสารบางชนิด แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาดังกล่าว เป็นแค่การรักษาแบบประคับประคองเท่านั้น เพราะวิธีนี้ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากอาการเหงื่อออกมากผิดปกติได้
- การรักษาแบบผ่าตัดผ่ากล้อง เป็นวิธีการรักษาชนิดเดียวในปัจจุบันที่ทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากอาการดังกล่าว โดยเรียกการผ่าตัดนี้ว่า Thoracoscopic sympathectomy ซึ่งอาศัยหลักการที่ว่าการหลั่งเหงื่อของร่างกายนั้น เกิดจากการสั่งการโดยสมอง ผ่านระบบประสาทอัตโนมัติแบบซึมพาเทติค (sympathetic nervous system) ซึ่งจะมีการส่งสัญญาณไปตามเส้นประสาทย่อยๆ ผ่านปมประสาทซิมพาเทติคถึงปลายทางที่บริเวณต่อมเหงื่อให้มีการหลั่งเหงื่อ ความรู้ดังกล่าวทำให้ศัลยแพทย์สามารถทำการผ่าตัดโดยทำลายปมประสาทบางส่วนที่ส่งสัญญาณมาบริเวณใบหน้า, มือหรือรักแร้ ทำให้ไม่มีสัญญาณสั่งการส่งมาที่ต่อมเหงื่อปลายทาง จึงทำให้ไม่มีการหลั่งเหงื่อเกิดขึ้นที่บริเวณนั้นๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช
ขอบคุณภาพจาก : freepik และ โรงพยาบาลกรุงเทพ