“มะเร็งกระเพาอาหาร”อาการคล้ายกระเพาะอักเสบ วิธีวินิจฉัย-รักษารู้ทันโรค!
มะเร็งอันดับ 4 ในประเทศไทย คือมะเร็งกระเพาะอาหารที่มีอาการคล้ายกระเพาะอักเสบหรือโรคกระเพาะธรรมดาในระยะแรก สัญญาณรุนแรงที่ควรรีบพบแพทย์ เผยการวินิจฉัยและรักษาที่แม่นยำ
มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric cancer ) โรคมะเร็งอันดับที่ 4 ของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุด จากสถิติในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1,100 ราย โดยการเกิดเนื้อร้ายของมะเร็งมักเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ของเยื่อบุกระเพาะอาหารซึ่งมีจำนวนมากผิดปกติจนก่อให้เกิดเป็นมะเร็ง ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของกระเพาะอาหาร ทั้งยังสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอดและรังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองด้วย
สัญญาณแรก “มะเร็งกระเพาะอาหาร” ไม่ต้องรอให้แก่ก็เป็นได้ รู้ก่อนลุกลาม!
ปัจจัย“มะเร็งกระเพาะอาหาร” ติดเค็มเป็นกรดไหลย้อนเรื้อรังเสี่ยงมากกว่า
อาการของมะเร็งกระเพาะอาหารอาจเป็นอาการเดียวกับอาการของผู้ป่วยแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ทำให้การวินิจฉัยจากอาการอาจทำได้ค่อนข้างยาก อาการอื่น ๆ เช่น
- อาเจียนเป็นเลือด
- มีปัญหาการกลืน
- น้ำหนักลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ
- อ่อนเพลีย
- ถ่ายดำ
มะเร็งกระเพาะอาหารมักพบเมื่อมะเร็งลุกลามแล้ว เนื่องจากไม่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก ๆ เพราะอาการแสดงที่ไม่ชี้เฉพาะดังที่กล่าวเบื้องต้น
มะเร็งกระเพาะอาหาร ตัวการและระยะของมะเร็ง-กรุ๊ปเลือดไหนเสี่ยงที่สุด?
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร
- การส่องกล้องใช้ในการวินิจฉัยได้มากกว่า 95% การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนใช้เพื่อการวินิจฉัยและระบุขั้นของมะเร็งกระเพาะอาหาร
- การส่องกล้องรุ่นใหม่ ๆ จะมีการใช้อัลตราซาวนด์ช่วยในการส่องกล้องด้วย (EVS) สามารถบอกรายละเอียดการลุกลามและการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองได้ดีกว่า
- การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ PET/CT จะช่วยในการบอกระยะของโรคโดยรวมได้ดี เฉพาะการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด หรืออวัยวะอื่น ๆ
การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งระยะเริ่มแรก หรือ ระยะที่ 1 คือ มะเร็งที่กินลึกเพียงชั้นผิว แต่ไม่ลึกถึงกล้ามเนื้อกระเพาะ มักไม่มีอาการ หรือมีอาการปวดท้องโรคกระเพาะเป็นๆหายๆ ระยะนี้สามารถตรวจได้จากการคัดกรองเบื้องต้นคือการส่องกล้อง ถ้าตรวจพบจะทำการตัดชิ้นเนื้อหรือเนื้องอกมีโอกาสหายขาดได้ ถ้าไม่ได้รักษามะเร็งในระยะนี้มีโอกาสกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งระยะลุกลาม คือ ระยะที่ 2และ3 มะเร็งที่มีความลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือผิวด้านนอกของกระเพาะอาหาร มีโอกาสกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น การรักษาคือการผ่าตัดกระเพาะอาหารร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
- มะเร็งระยะสุดท้าย คือ ระยะที่ 4 คือ มะเร็งที่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ การรักษาในระยะนี้นอกจากการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด จะต้องดูแลแบบประคับประคองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในช่วงสุดท้ายของชีวิต
ทั้งนี้ไม่ควรละเลยสัญญาณเล็กๆน้อยๆ และการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกันโรคลุกลามรุนแรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลพญาไท
นอนกรนแบบไหนสัญญาณอันตราย ? เสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับเผยสาเหตุ-วิธีรักษา
โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลต่อการทำงานของสมองซีกซ้าย-ซีกขวาอย่างไร?