สัญญาณสมองขาดเลือด (Stroke) ไขมันในเลือดสูงหนึ่งในปัจจัยเสี่ยง!
สมองขาดเลือด หนึ่งในสาเหตุอัมพาตอย่างฉับพลัน เช็ก“FAST”อาการเร่งด่วนที่ต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด ใน 3 ชั่วโมง!
ภาวะสมองขาดเลือด (Stroke) ว่า หมายถึง ภาวะที่หลอดเลือดสมองซึ่งเป็นเส้นทางลำเลียงเลือดถูกตัดขาด ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองบริเวณนั้นได้ จึงส่งผลให้เซลล์สมองตายและสมองสูญเสียการทำหน้าที่ในที่สุด โดยภาวะที่สมองหยุดทำงานนั้น ก็จะส่งผลทำให้เกิดอาการอัมพาต ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ มีภาวะบกพร่องทางการสื่อความผิดปกติ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะขาดเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย
วิจัยพบออกกำลังกายช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ ลดการตื่นกลางดึกได้!
ตรวจสุขภาพ แบบไหนต้องงดอาหาร ? เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจที่ดีกว่า!
Freepik/stockking
ปวดหัว

สาเหตุสมองขาดเลือด
-
หลอดเลือดสมองมีลิ่มเลือดอุดตันหรือตีบแคบลง
-
หลอดเลือดสมองแตก ทำให้เลือดคลั่งในสมอง
ภาวะสมองขาดเลือด อาจเกิดขึ้นเป็น “ภาวะชั่วคราว” ได้ หรือ ที่เรียกว่า “โรคทีไอเอ” (TIA,Transient ischemic attack) ซึ่งคนทั่วไปอาจรู้จักกันในชื่อ “อัมพฤกษ์” โรคที่เกิดจากการสมองสูญเสียการทำหน้าที่เพียงแค่ชั่วคราว สามารถกลับมาหายเป็นปกติได้ หากรักษาอย่างถูกต้อง แต่กลับกันหากรักษาไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาตถาวร หรือ อาจถึงขั้นเกิดความพิการ อาการทรุดหนักและเสียชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงภาวะสมองขาดเลือด
-
อายุมาก ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพแข็งตัวตามอายุ
-
มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง
-
เป็นโรคความดันโลหิตสูง
-
ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เป็นสาเหตุของสะสมของไขมันในหลอดเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดตีบ
-
โรคเบาหวาน ช่วยส่งเสริมให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ทำให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันสะสมในร่างกายและเกาะตามผนังหลอดเลือดมากขึ้นเสี่ยงสมองขาดเลือด
-
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว(AF) มีความเสี่ยงของลิ่มเลือดหลุดออกจากหัวใจไปอุดที่หลอดเลือดสมอง
-
การสูบบุหรี่ มีส่วนทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
-
การไม่ออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้น้อย จึงมีการสะสมไขมันในร่างกายและหลอดเลือดสูง
สัญญาณสมองขาดเลือด
ลักษณะเด่นของอาการแสดงในภาวะสมองขาดเลือดว่า “จะมีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน” ซึ่งในผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองที่เสียหาย เช่น
-
แขนขาชาและอ่อนแรงครึ่งซีก
-
การมองเห็นผิดปกติ
-
พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง
-
ปวดศีรษะ มึนงง หรือบางรายอาจหมดสติ
สังเกตอาการ“FAST”
-
(F) FACE หมายถึง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว
-
(A) ARM หมายถึง แขน ขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก
-
(S) SPEECH หมายถึง การพูดผิดปกติ พูดไม่ชัด พูดช้า พูดไม่ได้
-
(T) TIME หมายถึง การให้ความสำคัญกับเวลาที่นำผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว ส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด
-
ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
-
การให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อช่วยเปิดหลอดเลือดให้หายอุดตัน เพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อีก ระยะเวลาที่ทำให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง นับตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ได้มีเวลาสำหรับการวินิจฉัยและการพิจารณาข้อจำกัดของการให้ยา ถ้าหากผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทันเวลา จะสามารถลดอัตราความพิการและอัตราการตายได้มาก
-
การให้ยาป้องกันลิ่มเลือด เป็นการรักษาเพื่อป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือดในอนาคต ป้องกันการเป็นซ้ำ
-
ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดจากสาเหตุหลอดเลือดสมองแตก มีแนวทางการรักษาดังนี้
-
หยุดยาที่ทำให้เลือดออกง่าย
-
ควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง
-
ถ้าหากก้อนเลือดมีขนาดใหญ่มาก แพทย์จะผ่าตัดเพื่อลดการกดเบียดของเนื้อสมอง
-
“สวิงกิ้ง”หนึ่งในรสนิยมทางเพศ เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อันตราย
ป้องกันภาวะสมองขาดเลือด?
-
เลือกอาหารที่มีประโยชน์ งดอาหารหวานจัด ไขมันสูง เค็มเกินไปซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ
-
ควบคุมน้ำหนัก
-
ออกกำลังกายเป็นประจำ
-
งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากการดูแลเรื่องพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เราควรได้รับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกปี เพื่อเพิ่มโอกาสในป้องกันภาวะสมองขาดเลือดและป้องกันความพิการจากอัมพฤกษ์อัมพาตได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 1
5 สุดยอดอาหารอร่อยแซ่บนัว แต่กินเยอะดันเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
16 วิธีการลดน้ำหนักแบบผิดๆ ที่หลายคนอาจทำอยู่ เสี่ยงทำลายสุขภาพมากกว่า!