สัญญาณ จุลินทรีย์ระบบทางเดินอาหาร ไม่สมดุล เสี่ยงลำไส้อักเสบ-แปรปรวน
ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นประจำ อาจมาจากสภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล แนะกินอาหารจำพวกโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์สูงช่วยได้!
สภาวะสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ (Healthy microbiome) จะช่วยสร้างชั้นเมือกที่เป็นเกราะป้องกันให้กับเซลล์เยื่อบุผิว (epithelial cell) ทำให้แบคทีเรียก่อโรค (harmful bacteria) ไม่สามารถเจาะเข้าไปในผนังลำไส้ได้ หากเกิดภาวะขาดสมดุลของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในระบบทางเดินอาหาร อาจไม่มีกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้น และส่งผลให้อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคบางชนิด เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ IBD และ โรคลำไส้แปรปรวน หรือ IBS
5 ประเภทอาหาร กระตุ้นโรคลำไส้แปรปรวน เพิ่มลมจุกแน่นท้องได้!
วิจัยพบ “นอนไม่พอ” เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่ม 47% สมรรถภาพทางเพศเสื่อม!
ซึ่งมีปัจจัยจากสภาวะการขาดสมดุลของจุลินทรีย์ มีจุลินทรีย์ก่อโรคเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคสามารถเจาะเข้าไปยังเซลล์เยื่อบุผิว ส่งผลให้เกิดการอักเสบเเละเสี่ยงต่อการเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารได้
ขาดจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร เสี่ยงอะไรบ้าง?
- กลุ่มอาการการดูดซึมผิดปกติ
- การติดเชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์
- ลำไส้อักเสบ
- ลำไส้แปรปรวน
- โรคอ้วนและกลุ่มอาการผิดปกติทางเมแทบอลิก
- โรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจากการรับประทานเนื้อแดง
- โรคเบาหวาน
สัญญาณปัญหาสมดุลจุลินทรีย์
- มีอาการระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หรือลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ใช้ยาลดกรด เป็นประจำ
- มีปัญหาไมเกรนหรือนอนไม่หลับ
- เป็นสิวอักเสบ
- ผู้ที่เป็นผื่นภูมิแพ้ เป็นๆ หายๆ
- เป็นหอบหืด
- มีระบบการเผาผลาญไม่ดี
- มีความเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอัลไซเมอร์
- มีกลิ่นปาก
- มีเมือกในอุจจาระ
- รับประทายาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
- ภาวะแพ้คาร์โบไฮเดรต
- เหนื่อยล้าหมดแรง
- คัดจมูก
ถ้ามีอาการข้างต้นอย่างน้อย 5 ข้อ หรือมากกว่า อาจมีภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย
เมนูช่วยขับเคลื่อนลำไส้ แก้อาการอาหารไม่ย่อย ปวดท้องง่าย!
การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพและลดความความเสี่ยงโรคต่างๆ แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ไม่มีสารพิษปนเปื้อน ลดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์สูง รวมถึงการเข้ารับการตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสามารถตรวจซ้ำได้ทุกๆ 6 เดือนหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำ เนื่องจากรูปแบบของจุลินทรีย์อาจมีการเปลี่ยนไปได้ตามปัจจัยที่เปลี่ยนแปลง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
อุจจาระเป็นเลือดบอกโรคอะไรได้บ้าง-วิธีดูแลลำไส้และระบบขับถ่าย
ผู้หญิงก็เป็นไส้เลื่อนได้! เช็กอาการปวดก่อนลำไส้อุดตันอันตรายถึงชีวิต