อิ่มก็ปวด หิวก็ปวด กินยาโรคกระเพาะไม่ดีขึ้น เช็กก่อนอาจรุนแรงกว่าที่คิด!
ปวดโรคกระเพาะใครไม่เคยเป็นไม่รู้ว่ามันทรมานแค่ไหน เพราะมันจะมาแบบเป็นๆ หายๆ หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด แต่บางรายที่เป็นมานาน กินยาโรคกระเพาะแล้วไม่ดีขึ้น แบบนี้อย่านิ่งนอนใจ! หากไม่รีบรักษา อาจลุกลามจนลุกลามรุนแรงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้!
เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เอชไพโลไร (H. Pylori) เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร แต่ไม่ก่ออันตราย เว้นแต่บางกรณีที่อาจมีการติดเชื้อแบบเฉียบพลันหรือในปริมาณมาก ยังระบุแน่ชัดไม่ได้ แต่เชื้อนี้สามารถการถ่ายทอดจากคนสู่คน จึงมีข้อสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการสัมผัสเชื้อและนำเข้าปากโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ และจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นหากอยู่ใกล้ชิดหรืออยู่ร่วมบ้านกับผู้ที่มีเชื้อเอชไพโลไร
สัญญาณโรคกระเพาะอักเสบ เป็นหนักขณะไหนเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร?
แผลในกระเพาะอาหาร อาการเตือนต้องรีบรักษา ก่อนเจอภาวะแทรกซ้อนอันตราย!
หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสุขลักษณะไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด
อาการติดเชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori)
การติดเชื้อเอชไพโลไร ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการใดๆ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการระคายเคืองหรือการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร จนทำให้มีอาการต่างๆ ดังนี้
- ปวดท้องเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
- ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องส่วนบนบริเวณเหนือสะดือ และจะยิ่งปวดรุนแรงเมื่อท้องว่าง หรือหลังรับประทานอาหาร
- ท้องอืด เรอบ่อย
- คลื่นไส้
- อาเจียนเป็นเลือด หรืออาเจียนมีสีน้ำตาลคล้ำ
- อุจจาระเป็นเลือด ลักษณะของอุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง
หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัยอย่างละเอียด และรีบรักษาก่อนอาการลุกลามรุนแรง
รักษาติดเชื้อเอชไพโลไร
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะสูตรเฉพาะ โดยต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 1-2 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของยาและผู้ป่วยแต่ละรายผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หรือแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ วันละ 5-6 มื้อ เพื่อไม่ให้ท้องว่างติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ด้วย
- ในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาที่มีส่วนประกอบของแอสไพริน และยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เพราะอาจยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองและเสี่ยงมีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้
- หลังการรักษา แพทย์จะให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อซ้ำภายในเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์เพื่อติดตามผลการรักษา หากพบว่ายังมีการติดเชื้ออยู่ ผู้ป่วยจะต้องรักษาซ้ำโดยเปลี่ยนยา เพราะมีความเป็นไปได้ว่าเชื้ออาจดื้อยา
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการติดเชื้อเอชไพโลไร
- ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
- กระเพาะอาหารทะลุ
- กระเพาะอาหารอุดตัน
- โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
อดอาหารเย็นไม่ใช่ทางออกลดน้ำหนักที่ดี แนะเทคนิคกินทุกมื้อได้ไม่ต้องอด!
ป้องกันก่อนติดเชื้อเอชไพโลไร
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนจัดเตรียม และก่อนรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมทั้งอาหารไม่สุก
- ลดการรับประทานอาหารที่มีรสจัด งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
- งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
- ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
“เชื้อเอชไพโลไร” ไม่ใช่แค่ทำให้เป็นโรคกระเพาะเท่านั้น เพราะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ฉะนั้นหากตรวจพบ “เชื้อเอชไพโลไร” ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
“กล้วยหอม”ผลไม้เติมความสดชื่น ป้องกันท้องผูก แต่กินเกินอาจแคลอรีพุ่ง!
ปัญหาที่บอกใครไม่ได้! วิจัยพบผู้หญิงกว่า 40 % บกพร่องต่อสิ่งเร้าทางเพศ