สุขภาพกาย
ปรับพฤติกรรม ก่อนกระดูกสันหลังเสียจากออฟฟิศซินโดรม
เผยแพร่:
ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ซึ่งไม่ได้ส่งผลแค่ปวดคอ บ่า ไหล่ แต่ยังลามมากดทับเส้นประสาทที่เชื่อมโยงกับอวัยวะต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง อาจนำไปสู่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทร้ายแรงถึงขั้นกระดูกสันหลังเสียถาวรได้
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เกิดจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมในการทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย เริ่มจากปวดคอ บ่า ไหล่ลงมาที่หลัง เมื่อปล่อยไว้อาจทำให้กระดูกสันหลังเสื่อม หมองรองกระดูกปลิ้น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และกระดูกสันหลังเสียหายได้

- ปวดหลังร่วมกับความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ชา ขาอ่อนแรง ปัสสาวะ อุจจาระผิดปกติ ฯลฯ
- ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้เหมือนปกติ
วิธีการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- การให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เป็นวิธีการรักษาในระยะแรกเริ่มเมื่อพบว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- การทำกายภาพบำบัดร่วมด้วยในผู้ป่วยที่มีอาการ ช่วยปรับโครงสร้างร่างกายที่มีปัญหาให้กลับมาดีขึ้น รวมถึงการประคบร้อน การอัลตราซาวนด์ เลเซอร์ การช็อกเวฟ การดึงคอดึงหลัง ช่วยให้อาการปวดหรือออฟฟิศซินโดรมลดลง ทั้งนี้ต้องประเมินเพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมโดยแพทย์เฉพาะทาง
- การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง เพื่อลดอาการปวด
- การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้อง แผลผ่าเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว โดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะตรวจวินิจฉัยและเลือกแนวทางการรักษา รวมถึงเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะกับผู้ป่วยมากที่สุด โดยคำนึงถึงการรักษาที่เน้นการแก้ปัญหาที่สาเหตุเป็นหลัก
ปรับพฤติกรรมก่อนกระดูกสันหลังเสีย
- อย่านั่งนาน ลุกขึ้นยืดเส้นยืนสายให้บ่อยทุก 1 ชั่วโมง
- ยืดกล้ามเนื้อเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเกินไปจนปวด
- ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง ปรับอุปกรณ์ออฟฟิศให้เหมาะกับร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมการก้มหรือแอ่นหลังที่มากเกินไป
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
หากปวดจากออฟฟิศซินโดรมที่ไม่รุนแรงเมื่อปรับพฤติกรรมมักดีขึ้นหรือหายได้ในเวลาไม่นานแต่ในกรณีที่อาการแย่ลงและกระทบกับการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล