กินป้องกัน "กระดูกพรุน" ด้วยอาหาร 4 ประเภทที่จำเป็นต่อร่างกาย
โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบที่จะทราบก็ต่อเมื่อมีอาการภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง การป้องกันเบื้องต้นด้วยการทานอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ซึ่งอาจเกิดจากโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลาย หรือเกิดการสลายตัวจนทำให้เนื้อของกระดูกมีลักษณะเป็นรูพรุน มีผลทำให้กระดูกส่วนต่างๆ มีภาวะแตกหักง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ปวดหลังบ่อยๆ กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กระดูกแขน ขา กระดูกสะโพก กระดูกหลังเปราะหักง่าย บางคนอาจเดินไม่ได้
โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่มองไม่เห็น รู้ทันป้องกันหัก
อย่ารอให้ "กระดูกพรุน" แล้วค่อยตรวจมวลกระดูก รู้เร็วป้องกันได้
จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) พบว่าภาวะโรคกระดูกพรุนเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยพบ 1 ใน 3 ของผู้หญิง ส่วนผู้ชายพบ 1 ใน 8
ประเภทอาหารที่จำเป็นต่อกระดูก
- แคลเซียม มีบทบาทและหน้าที่ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน แหล่งอาหารที่ให้แคลเซียม เช่น นม โยเกิร์ต ถั่ว ธัญพืชต่างๆ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ที่สามารถรับประทานได้ทั้งกระดูก
- วิตามินดี เป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น วิตามินดีได้จากแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าประมาณ 10-15 นาที ก็ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดี คือ น้ำมันตับปลา ปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาซาดีน แซลมอน แมคเคอเรล ปลาทูน่า และพืชที่มีวิตามินดีสูง เช่น เห็ด (มีสารเออโกสเตียรอล)
- แมกนีเซียม มีสารสำคัญในการผลิตพลังงาน สร้างโปรตีน ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ พบมากใน ธัญพืช แป้ง อาหารทะเล
- ทองแดง แมงกานีส สังกะสี ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ในกลไกการสร้างกระดูกและช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แหล่งอาหาร ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลันเตา ธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียว บล็อคโคลี สาหร่ายทะเล เต้าหู้ และน้ำนมเต้าหู้ ที่ได้จากถั่วเหลืองมีสารไอโซฟลาโวน ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรง ของกระดูกโดยตรงและช่วยเสริมฮอร์โมนเอสโตรเจน
ดื่มน้ำน้อยไปสุขภาพกายพัง "สูงอายุ- ป่วยเรื้อรัง" อันตรายถึงชีวิต
โรคลมชักในเด็ก ไม่ใช่ผีเข้าและอันตรายกว่าที่คิด
ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้คนไทยบริโภคต่อวัน
ถ้าไม่อยากเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต้องเริ่มสะสมแคลเซียมตั้งแต่วัยเด็ก และควรสะสมให้เหมาะสมตลอดช่วงอายุ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมเพื่อโครงสร้างของกระดูกและร่างกายที่แข็งแรง
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน