อาหารผู้ป่วยมะเร็งให้คีโม ไขมัน-คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ควรเลือกแบบไหน?
ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งในไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากการรักษาแล้ว การกินระหว่างที่เจ็บป่วยอยู่ก็สำคัญ แนะอาหารเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนแบบไหนกินได้โรคสงบไว
เมื่อร่างกายได้รับคีโมรักษามะเร็งก็จะมีการตอบสนองที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยบำรุงร่างกายให้ฟื้นตัวไว หรือต่อสู่กับเคมีที่ได้รับได้ดีขึ้น นั่นก็คือการกินอาหารที่เหมาะสมเพื่อช่วยบำรุงร่างกายให้ฟื้นตัวไว หรือต่อสู่กับเคมีที่ได้รับได้ดีป้องกันการขาดสารอาหาร กินได้ครบ 5 หมู่หลากหลาย
ไขมันแบบไหนที่ผู้เคยป่วยมะเร็งกินได้
ปัจจัยหนึ่งของการเกิดมะเร็ง มักมาจากการมีน้ำหนักมากเกินไป การกินหลังจากรักษามะเร็งแล้วจึงต้องใส่ใจให้มากขึ้น
แนวทางดูแลตนเองหลังทำคีโม (เคมีบำบัด)-วิธีรับมือผลข้างเคียงที่พบบ่อย
รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัดแล้วกินอะไรได้บ้าง
ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารหวาน ของหวานที่มีไขมันสูง หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก แนะนำว่าการบริโภคน้ำตาลควรอยู่ในช่วง 4-6 ช้อนชา อย่าให้เกินกว่านี้ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อไปถึงน้ำตาลที่ปะปนมาอยู่ในอาหารปกติซึ่งมีมากอยู่แล้วเข้าไปด้วย
ทั้งน้ำตาลและอาหารไขมันสูง ย่อมไปเพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในเส้นเลือดให้สูงขึ้น และทำให้คอเลสเตอรอลชนิดเลว หรือ LDL cholesterol ในร่างกายสูงขึ้น แถมยังไปลดคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL cholesterol ให้ลดน้อยลงด้วยทั้งนี้การกินไขมันไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพียงแต่ต้องเลือกประเภทของไขมัน และคนเราก็ยังจำเป็นต้องกินไขมัน เพราะมีวิตามินหลายชนิดที่ต้องอาศัยไขมันในการแตกตัวและใช้ในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เพียงแต่ว่าควรบริโภคให้น้อยกว่าคนทั่วไปอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรือ 30%
ไขมันที่กินได้หรือควรกิน คือไขมันที่เป็นกรดไขมันดี
- น้ำมันรำข้าว
- น้ำมันถั่วเหลือง
- น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
- อาหารประเภทถั่วที่มีไขมันดี อย่าง อัลมอนด์ อะโวคาโด เม็ดมะม่วงหิมพานต์ หรือแม้แต่เมล็ดดอกทานตะวันก็กินได้
ทั้งนี้การซื้ออาหารถุง แกงถุง อาหารปรุงสำเร็จ มักหลีกเลี่ยงไขมันเลวได้ยาก แถมอาหารทอดก็มักใช้น้ำมันซ้ำๆ ซึ่งเป็นไขมันเลวอย่างไม่ต้องสงสัย ไขมันประเภทนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งแทบทุกชนิด
คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนต้องเลือกแบบไหน
- คาร์โบไฮเดรต ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ดีกว่าข้าวขาวในผู้ที่เคยป่วยเป็นมะเร็ง
- โปรตีน แน่นอนว่าร่างกายยังต้องการอย่างมาก แต่ควรเลือกกินโปรตีนที่มีไขมันแทรกอยู่น้อยๆ อย่างไข่ขาว เนื้อปลา อกไก่ ส่วนโปรตีนจากไข่แดงไม่ควรกินมากกว่า 3 ฟองต่อสัปดาห์
กินผลไม้-ผักหลายสี เพิ่มวิตามิน ไฟเบอร์
การกินผักและผลไม้หลากสี เขียว ม่วง แดง ขาว เหลือง สลับกันไป ให้ได้วันละ 300 กรัม รวมถึงการเลือกกินธัญพืชไม่ขัดสี อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ จะทำให้ร่างกายได้รับทั้งโปรตีน วิตามินบี ไฟเบอร์ เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระ หรือหากต้องการกินผลไม้ก็ควรกินทั้งผล แนะนำเป็นกล้วย แตงโม มะละกอ มะม่วง ส้ม เพราะมีวิตามินเอสูง ไม่ควรกินน้ำผลไม้แยกกากเพราะจะได้รับน้ำตาลมากเกินไป ขณะที่ผักใบเขียวได้ทุกชนิด แต่หากมีอาการท้องอืดมาก ควรเลือกผักที่ไม่มีเส้นใยมาก เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน บรอกโคลี่ เป็นต้น
อาหารแบบไหนที่ควรเลี่ยง
- อาหารที่ผ่านการแปรรูปประเภท
- หมัก ดอง
- อาหารปิ้ง ย่าง เนื้อสัตว์ที่มีการรมควัน
- เครื่องในสัตว์
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- น้ำหวาน น้ำอัดลม
- หากต้องการดื่มนมควรเลือกชนิดพร่องมันเนย และไม่ควรดื่มมากกว่าวันละ 1 แก้ว
ส่วนคำถามที่ว่าดื่มน้ำเต้าหู้ หรืออาหารประเภทถั่วเหลืองได้ไหมนั้น ขอแนะนำว่าสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมควร หลีกเลี่ยง เพราะในถั่วเหลืองจะมีสาร "ไอโซฟลาโวน" หรือที่เราเรียกว่าเป็น "เอสโตรเจนธรรมชาติ” จะมีฤทธิ์ต้านยารักษามะเร็งเต้านม และอาจจะกระตุ้นทำให้เกิดเป็นซ้ำได้ด้วย”
5 อาหารสุดแซ่บ แต่กินมากเกินไปอาจกระตุ้นเซลล์มะเร็งลำไส้-โรคเรื้อรัง
อย่างไรก็ตามอาการเบื่ออาหารและกินอาหารได้น้อยลงยิ่งทำให้ผู้ป่วยมะเร็งได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ จึงฟื้นตัวจากการรักษาได้ช้า ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างการรักษาได้ง่ายป้องกันปัญหาเหล่านี้ต้องเพิ่มอาหารเสริมจำพวกนม ที่มีสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โปรตีน ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12 สังกะสี ฯลฯ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้เร็ว
วิธีป้องกันการขาดสารอาหาร
- แบ่งย่อยมื้ออาหารออกเป็น 5 มื้อ ลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อลง
- เลือกอาหารย่อยง่าย และดูดซึมได้เร็ว
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน และโปรตีนจากเนื้อสัตว์
- ดื่มน้ำเปล่าเพิ่มขึ้น เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนให้น้อยลง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยทุกคนควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์เพื่อการรักษาโรคที่หายไวมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
5 อาหาร “แมกนีเซียม” สูงช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่-กระดูกพรุน
11 อาหารว่างแก้ท้องผูก แถมสดชื่นเติมพลังระหว่างวัน! ลดมะเร็งลำไส้