สัญญาณโรคแพนิค เกิดจากอะไร? วิธีรักษาและดูแลตัวเองเบื้องต้น
หลายคนคงเลยได้ยินประโยชน์ที่ว่า “อย่าแพนิค” นะ แต่รู้หรือไม่ โรคแพนิค เป็นโรคจิตเวชชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
แพนิค หรือ โรคตื่นตระหนก (Panic disorder) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดจากภาวะตื่นตระหนก หวาดกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ทั้งที่ไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และอาจส่งผลต่อความมั่นใจในการดำเนินชีวิต เพราะอาการดังกล่าวมัก เกิดขึ้นแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยประมาณ 15 – 20 นาที บางรายอาจนานกว่านั้นแต่มักไม่เกิน 1 ชั่วโมง และจะเป็นซ้ำ ๆ โดยมีสิ่งกระตุ้นหรือไม่มีก็ได้ บางคนรู้สึกเหมือนเราไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
รู้จัก “ไซโคพาธ” โรคผิดปกติต่อต้านสังคม ที่มักพบในฆาตกรต่อเนื่อง
สัญญาณ “ไบโพลาร์” อารมณ์ 2 ขั้ว และปัจจัยการเกิดโรคที่พบบ่อยในวัยรุ่น
ผู้ป่วยแพนิค จะมีอาการดังต่อไปนี้
- ใจสั่น หัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก
- หายใจไม่ทัน หนาวสั่น ตัวสั่น วิงเวียนศีรษะ
- รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ ปากแห้ง ร้อนวูบวาบ รู้สึกหน้ามืด
- ท้องไส้ปั่นป่วน เหงื่อออก เสียงก้องอยู่ในหู กลัวเป็นบ้า
ตัวโรคจะไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ผู้ป่วยจะทรมานจากอาการและดำเนินชีวิตประจำวันด้วยความวิตกกังวลตลอดเวลาเช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว ไม่กล้าไปไหนมาไหนคนเดียว หรือกลัวที่จะทำกิจกรรมบางอย่าง ไม่ว่าจะข้ามสะพานลอย ขึ้นลิฟต์ นอนในที่มืด ขับรถ และอาจพบภาวะอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า
สาเหตุของอาการแพนิก ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางร่างกายและทางจิตใจทางกาย อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่าอะมิกดาลาทำงานผิดปกติ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง การใช้สารเสพติด ทั้งมีโอกาสเกิดอาการจากการกระตุ้นทางกรรมพันธุ์ หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวลทางจิตใจ เกิดจากพฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล พักผ่อนน้อย หรือเผชิญกับสภาวะกดดัน
อีกทั้งยังมีงานวิจัยยืนยันว่าคนที่เคยผ่านเหตุการณ์กระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียสมดุลของสารเคมีในสมองได้ โดยเฉพาะในวัยเด็ก มีโอกาสเป็นโรคแพนิกได้มากกว่า เช่น ผิดหวังรุนแรง ถูกทอดทิ้ง ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน และสูญเสียสิ่งสำคัญ เป็นต้น
วิธีการรักษา
แพทย์จะให้ยาควบคู่ไปกับการบำบัดทางจิตใจ เมื่อผู้ป่วย “หายสนิท” คือไม่มีอาการเลย มักให้กินยาต่อไปอีก 8 – 12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาของอาการ
รู้จัก “โรคหลอกตัวเอง” โกหกเก่ง เป็นโรคจิตเวช ? พร้อมวิธีสอนเด็กไม่ให้โกหก
วิธีการดูแลตนเอง หากเกิดอาการแพนิกเบื้องต้น
- หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย
- ฝึกมองโลกในแง่บวก
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการง่วงเซื่องซึมระหว่างวัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
- งดหรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สารกาเฟอีน และเครื่องดื่มชูกำลังเพราะกระตุ้นให้เกิดอาการใจหวิวและใจสั่น
- เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามหากรู้ตัวหรือคนรอบข้างมาสัญญาณที่กล่าวมาควรมาพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง เช่นเดียวกัน กำลังใจในครอบครัวนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ควรเข้าใจและปลอบโยนมากกว่าการตั้งคำถามว่า “ทำไมถึงเป็นได้” เพราะคงไม่มีใครอยากกังวลตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นมีคุณภาพชีวิตที่สงบสุขและปลอดภัย
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ป่วยจริงไม่หงายการ์ด “ป่วยจิตเวช” แบบไหนละเว้นโทษได้
“Dead Inside” ภาวะใจพังตายจากข้างใน ปล่อยเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้า