ผลวิจัยชี้ "ลองโควิด (Long COVID)" เพิ่มเสี่ยงความต้องการทางเพศลดลง
นพ.ธีระ เผยงานวิจัยในผู้ที่มีอาการลองโควิด มีความเสี่ยงต่อเรื่องผมร่วงมากกว่าไม่ติดเชื้อถึง 4 เท่า และความต้องการทางเพศลดลง 2.36 เท่า
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat อัพเดตสถานการณ์โควิด-19 โดยเนื้อความส่วนหนึ่งเผยงานวิจัยล่าสุดโดย Subramanian A รายละเอียดดังนี้
Long COVID ในคนที่ติดเชื้อโดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
งานวิจัยล่าสุดโดย Subramanian A และทีมจากสหราชอาณาจักร เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ระดับสากล Nature Medicine เมื่อวานนี้ 25 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา
หมอเทียบปัญหา "ฝีดาษลิง-โควิด" มีโอกาสเป็น "การระบาดทั่วโลก" ใหญ่พอกัน
“BA.5” หนีภูมิวัคซีนทุกสูตร – ติดซ้ำได้ใน 2 สัปดาห์
ผลการศึกษานี้เป็นที่น่าสนใจ และช่วยเติมเต็มความรู้ทางการแพทย์ เพราะโฟกัสที่จะศึกษาอาการผิดปกติของ Long COVID ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการหรืออาการน้อย โดยไม่ได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ศึกษาในประชากรวัยผู้ใหญ่ที่มีประวัติติดเชื้อมาก่อนตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป จำนวน 486,149 คน และเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีประวัติการติดเชื้อมาก่อนจำนวน 1,944,580 คน
สาระสำคัญที่พบคือ
ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อมาก่อน และมีอาการคงค้างหรือเกิดอาการผิดปกติภายหลัง (Long COVID) นั้นมีมากถึง 62 อาการ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหา Long COVID มากขึ้นได้แก่ เพศหญิง, ยากจน, น้ำหนักเกิน/อ้วน, การมีประวัติสูบบุหรี่, และการมีโรคประจำตัวต่างๆ
กรมวิทย์เผย “BA.4/BA.5” ครองไทยกว่า 68% ยันแพร่ได้เร็ว-รุนแรงกว่าเดิม
"ลองโควิด" LONG COVID เรื่องต้องรู้เมื่อหายป่วยจากไวรัสร้าย
ที่น่าสนใจคือ อาการ Long COVID ที่พบนั้น นอกจากที่เราทราบกันดีเรื่องความผิดปกติของทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า มีปัญหาด้านความจำและสมาธิแล้ว การวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นทำให้มีความเสี่ยงต่อเรื่องผมร่วง (hair loss) มากกว่าไม่ติดเชื้อถึง 4 เท่า
และยังเสี่ยงต่อการมีปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์หลากหลายอาการ ได้แก่ เพศหญิงจะมีความเสี่ยงที่จะเจอปัญหาประจำเดือนมามากกว่าปกติ และสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอดออกมาผิดปกติ
แต่เพศชายนั้นดูจะน่ากังวล เพราะเสี่ยงต่อปัญหานกเขาไม่ขันมากขึ้น 1.26 เท่า, หลั่งอสุจิยากขึ้น 2.63 เท่า, และความต้องการทางเพศลดลง 2.36 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
ไทยคงสถานะ "ฝีดาษลิง" เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ยังไม่เข้าข่ายโรคติดต่ออันตราย
โควิด "โอมิครอน" เสี่ยงติดเชื้อซ้ำมากกว่าระลอกก่อน 7 เท่า
ดังนั้น การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
เพราะการติดเชื้อไม่ใช่แค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้
ที่สำคัญคือ จะเกิดปัญหา Long COVID ซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการดำรงชีวิตและการทำงาน กระทบต่อความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด และเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาวได้ เป็นได้ทุกเพศทุกวัย และทุกกลุ่มอาการไม่ว่าจะติดเแล้วไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการมากก็ตาม
เลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง สถานที่เสี่ยง ระวังการกินดื่มใกล้ชิดร่วมกับผู้อื่น การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องนั้นสำคัญมาก
อ้างอิง Subramanian A et al. Symptoms and risk factors for long COVID in non-hospitalized adults. Nature Medicine. 25 July 2022.