“ปวดปัสสาวะ”กลางดึกบ่อยแค่ไหน ? เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ปกติแล้วเราสามารถนอนหลับได้ต่อเนื่อง 6-8 ชม. โดยที่ไม่ต้องลุกมาปัสสาวะเลย มีบางการศึกษาพบว่าการตื่นมาปัสสาวะบ่อยเกินไป อาจทำให้คุณเสี่ยงกับโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน เบาจืด โรคหัวใจ และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แนะวิธีลดการเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน เผยปัสสาวะบ่อยแค่ไหนใครพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค
หรือไม่ ? ร่างกายจะผลิตปัสสาวะน้อยลงในช่วงเวลากลางคืน ทำให้สามารถนอนหลับต่อเนื่อง โดยไม่ต้องตื่นมาปัสสาวะกลางดึก อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในบางสาเหตุสามารถแก้ไขได้โดยการปรับพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ลดการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ก่อนเข้านอน 2-4 ชั่วโมง
- ลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีน และอาหารที่มีรสเค็มหรือมีปริมาณเกลือสูง
- จดบันทึกสถิติการดื่มน้ำและการปัสสาวะในแต่ละวัน เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคได้
8 คำถาม STOP-BANG ทดสอบ "หยุดหายใจขณะหลับ" พบ 3 ข้อควรพบแพทย์
“ปัสสาวะบ่อย-กลั้นไม่อยู่” อาจเป็นสัญญาณ “กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไว”
- ผู้ที่มีอาการบวมน้ำ ควรยืดหรือเหยียดขาให้สูงกว่าระดับหัวใจในช่วงก่อนนอนหรือใช้หมอนหนุนบริเวณขาขณะนอนหลับ เพื่อลดการสะสมของของเหลวบริเวณขา หรืออาจใส่ถุงน่องที่ช่วยลดอาการขาบวมร่วมด้วยได้
- จัดสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น ไม่มีเสียงรบกวน แสงสว่างน้อยปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ เลือกชุดเครื่องนอนและที่นอนที่ทำให้นอนหลับสบาย
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ เล่นโยคะ ฟังเพลงที่ชอบ
ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์ เนื่องจากสาเหตุของการปัสสาวะกลางคืนเกิดได้จากหลายสาเหตุ จำเป็นต้องรักษาตามสาเหตุนั้น ๆ
“นอนกรน” รู้ตัว รักษาได้ เพิ่มคุณภาพการหลับให้สมองแจ่มใส ลดโรค
สาเหตุของการปัสสาวะบ่อยกลางคืน
- มีปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะโดยตรง มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื้องอกต่อมลูกหมากหรือเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีปัญหาหูรูดกระเพาะปัสสาวะทางานไม่ดี
- เบาหวาน เบาจืดหรือโรคหัวใจ
- การบริโภคคาเฟอีนก่อนนอน แต่สิ่งที่พบเป็นสาเหตุได้บ่อยมากกว่า
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นเหตุให้ ความดันในช่องอกเพิ่มขึ้น เลือดดาจะไหลกลับเข้าหัวใจมากกว่าปกติ ร่างกายเกิดการเข้าใจผิดว่า ปริมาตรน้ำในร่างกายเยอะเกินไป แต่แท้จริงแล้วปริมาตรน้ำในร่างกายยังเท่าเดิม การรับรู้ที่ผิดไปนี้ จึงกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีที่มีผลต่อการทางานของไต ลดการดูดกลับของสารน้าและเกลือโซเดียมจากท่อไต ดังนั้นจึงทาให้มีปัสสาวะออกเป็นจำนวนมากจนทำให้ต้องสะดุ้งตื่นเพื่อเข้าห้องน้ำกลางคืน
มีหลายการศึกษาพบว่า การรักษา sleep apnea โดยใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ช่วยลดปัญหาปัสสาวะบ่อยกลางคืนได้ เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจ ช่วยให้การหายใจขณะหลับเป็นปกติ ความดันในช่องอกปกติ จึงไม่เกิดการทางานที่ผิดปกติของหัวใจ ระบบประสาท และการทำงานของไต
ดังนั้น หากท่านตื่นเข้าห้องน้าบ่อยตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปต่อคืน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจตามมาจากการหยุดหายใจขณะหลับ เช่น หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ภาพจาก : Shutterstock
ที่จริงนิ่วในทางเดินปัสสาวะเกิดจากอะไร? แนะ 5 วิธีป้องกันโรคนิ่ว
รับมือวัยทอง – วิธีสังเกตเข้าข่ายหรือยัง?ก่อนกระดูกพรุน-ปัสสาวะเล็ด