“อดีต ส.ส.ร.40” มั่นใจ “เลือกตั้งส.ส.ร.ทั้งหมด” ไม่


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่ผ่านรัฐสภา คือ ของฝ่ายค้าน และ รัฐบาล ตามกระบวนการนับจากนี้ จะการแปรญัตติและตั้งสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนจะลงมติ วาระ 3 ประเด็นที่ต้องจับตา คือ การตั้ง ส.ส.ร.เพราะที่มาส.ส.ร.ของทั้ง2 ร่างนั้น แตกต่างกันประเด็นนี้มีความเห็นจาก นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะ ส.ส.ร.ที่มีส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ระบุว่า กระบวนการทั้งหมดในสภาตอนนี้ แสดงให้เห็นว่าฝ่ายรัฐบาลมั่นใจว่าควบคุมได้หมด โดยเชื่อว่าวาระ 3 ร่างฝ่ายค้านที่เสนอให้ให้ส.ส.

เส้นทางความคิด “หมอทศพร” ก่อนร่วมชุมนุมกลุ่มราษฎร

เปิดใจ "เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์" แหกโผรับร่างไอลอว์

ความเห็น นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะอดีตสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ 40 ระบุถึงกรณีที่ สมาชิกรัฐสภาลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้านและรัฐบาล แต่ปัดตกร่างโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ ไอลอว์ ว่า ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะรัฐบาลมั่นใจว่า สามารถคุมเกมการเมืองในรัฐสภาได้ และประเมินกระแสนอกสภาแล้ว ก็เชื่อว่าคุมอยู่ จึงตัดสินใจแบบนี้

กระบวนจากนี้คือ คณะกรรมาธิการพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร จำนวน 45 คน จะแปรญัตติ และเข้าสู่กระบวนการ ตั้ง ส.ส.ร. สำหรับที่มา ส.ส.ร. ของร่างฝ่ายค้านและรัฐบาล มีรายละเอียดแตกต่างกัน ร่างรัฐบาล ส.ส.ร.ทั้งหมด 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง 150 คน , จากการคัดเลือกโดยรัฐสภา 20 คน , จากการเลือกโดยที่ประชุมอธิการบดี 20 คน โดยแบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนหรือรัฐศาสตร์ 10 คน และผู้มีประสบการณ์การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน หรือการร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน และสมาชิกคัดเลือกจากนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา 10 คน

ฝ่ายค้านส.ส.ร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งทางตรงโดยประชาชน และให้ใช้วิธีการเลือกตั้งแบบเดียวกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เมื่อปี 2543 ที่ใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกและใช้ระบบ "รวมเขตเบอร์เดียว”

นายพนัส มองว่า  คณะกรรมาธิการฯ  จะใช้ร่างรัฐบาลเป็นหลัก เชื่อว่า ส.ส.ร.ที่ถูกแต่งตั้ง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ  จะเป็นผู้ที่กำหนดทิศทางของเนื้อหารัฐธรรมนูญ

นายพนัสบอกอีกว่า รายละเอียดของรัฐธรรมนูญที่จะถูกร่างขึ้น ผู้มีอำนาจกำหนดพิมพ์เขียวไว้อยู่แล้ว  โดยจะมีเป้าหมายเพื่อรักษาอำนาจตัวเองไว้ ไม่ได้ทำเพื่อประชาชน ยกตัวอย่าง ส.ส.ร.ที่ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีลักษณะคล้ายกัน

นายพนัสวิเคราะห์อีกว่า การที่สมาชิกรัฐสภาไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ยิ่งทำให้เพิ่มปัจจัยที่จะนำไปสู่วิกฤตการเมือง เพราะการแก้รัฐธรรมนูญถือเป็นข้อเรียกร้องที่รัฐบาลปฎิบัติได้ง่ายที่สุด แต่เมื่อกลไกลรัฐสภา ไม่สอดคล้องกับข้อเรียกร้อง ของผู้ชุมนุม ส่วนตัวมั่นใจว่า การชุมนุมจะถูกยกระดับเข้มข้นขึ้น

 

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ