รู้จัก! "อภิปรายไม่ไว้วางใจ" สำคัญแค่ไหน เปิด 3 ขั้นตอน วิธีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การอภิปรายไม่ไว้วางใจ คืออะไร ? แล้วมีความสำคัญแค่ไหน และประชาชนอย่างเราต้องรู้หรือไม่ ? เรามาหาความตอบจากบทความนี้กันครับ

รู้จัก! ความหมายของการอภิปราย

อภิปราย คือ การกล่าวถ้อยคำในเชิงแสดงความคิดเห็นและปรึกษาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา โดยมีข้อบังคับการประชุมสภาเป็นกรอบกติกาบังคับการอภิปราย และมีประธานในที่ประชุมสภาเป็นผู้ควบคุมดูแลให้การอภิปรายเป็นไปโดยเรียบร้อย

ตามปกติเมื่อเสร็จสิ้นการอภิปรายหรือที่เรียกว่าการปิดอภิปรายแล้ว จะมีการลงมติอย่างใดอย่างหนึ่งสุดแล้วแต่จะได้ระบุไว้ในญัตติที่เสนอต่อสภา เพื่อผลการอภิปรายเกิดขึ้น เช่น ลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี เป็นต้น

ประวัติ “ซันนี่ ยูโฟร์” อดีตบอยแบนด์ดังยุค 90 เผชิญมรสุมชีวิตแต่ไม่เคยยอมแพ้ ก่อนจากไปอย่างกะทันหัน

แม่หวัง“ปานเพชร”ฟื้น แม้ล่าสุดสมองตาย

การอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือ ญัตติไม่ไว้วางใจ (motion of no-confidence) หรือที่ทุกคนมักนิยมเรียกว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หมายถึง การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยส่วนมากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นฝ่ายค้าน จะทำการขอเปิดอภิปราย ซึ่งจะกระทำเมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่พอใจ หรือมีข้อสงสัย ไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

สำหรับการขอเปิดอภิปรายทั่วไปจะต้องเสนอเป็นญัตติ ซึ่งหมายถึง ข้อเสนอใดๆ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้สภาลงมติหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไร ญัตติจึงเปรียบเสมือนกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินงานของรัฐสภา เนื่องจากญัตติทุกเรื่องย่อมมีจุดมุ่งหมายอยู่ในตัว อันทำให้รู้ถึงประโยชน์หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย

เปิดหลักเกณฑ์ การยื่นญัตติเพื่อขอเปิดอภิปราย เพื่อยื่นญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกฯ

กระทำได้โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตติดังกล่าวต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย และเมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่มีการถอนญัตติ หรือมติไม่ไว้วางใจมีคะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

การยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

กระทำได้โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร เข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล รวมทั้งยังสามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีที่ย้ายไปเป็นรัฐมนตรีตำแหน่งอื่นได้ด้วย

นอกจากหลักเกณฑ์ข้างต้นแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังได้เพิ่มหลักเกณฑ์ใหม่เข้ามา คือ ให้สิทธิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านในการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลได้แม้จะมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดก็ตาม โดยสามารถเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายได้ต่อเมื่อ

 1. คณะรัฐมนตรีได้บริหารราชการแผ่นดินเกินกว่า 2 ปีแล้ว

 2. มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล (ฝ่ายค้าน) เข้าชื่อเสนอญัตติมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองที่ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล (ฝ่ายค้าน) ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

ข้อดีของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล นับว่าเป็นมาตรการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินวิธีหนึ่ง และเป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนอกเหนือจากวิธีการอื่น เป็นมาตรการที่สำคัญและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุด

และอาจส่งผลให้รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งได้ ซึ่งนับเป็นหลักการสำคัญอีกประการหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ให้มีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้อำนาจเกินขอบเขต จนอาจทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

ความสำคัญการอภิปรายไม่ไว้วางใจ กับประชาชนมีอะไรบ้าง

เรื่องการเมืองไม่ใช่เรื่องไกลตัวของประชาชนแล้ว เนื่องจากเกี่ยวข้องกับประชาชนตั้งแต่เกิดออกมาลืมตาดูโลก ประชาชนทุกคนต้องเสียเงินภาษีให้กับรัฐจากหยาดเหงื่อแรงงาน ดังนั้นแล้วในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนี้ประชาชนจึงมีสิทธิเสรีภาพในด้านต่าง ๆ เช่น สิทธิในการได้รับการคุ้มครองจากรัฐ รัฐควรมีการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้มีความเจริญพัฒนาได้อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เช่น ด้านสาธารณูปโภค, รถโดยสาร, ด้านการสาธารณสุข, ค่าจ้างแรงงาน, สิทธิในการได้รับความยุติธรรมตามกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น

หากเกิดการทำงานของรัฐบาลที่ไม่โปร่งใสหรือมีข้อน่าสงสัย ซึ่งอาจจะส่งกระทบให้ประชาชนเดือดร้อนได้นั้น เมื่อเกิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลขึ้น ประชาชนจึงควรติดตามข่าวสารสถานการณ์ดังกล่าว

เปิด 3 ขั้นตอน วิธีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

รัฐสภา มีหน้าที่หลักในการตรวจสอบ และคานอำนาจกับรัฐบาล ซึ่งขณะที่นายกฯ มีอำนาจในการยุบสภาผู้แทนฯ เพื่อเลือกตั้งใหม่ ส่วน ส.ส. ก็มีสิทธิในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ รัฐมนตรีคนอื่นๆ หรือทั้งรัฐบาล ซึ่งอาจทำให้พ้นจากตำแหน่งได้ 

“การอภิปรายไม่ไว้วางใจ” หรือ สิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี บัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 151 

โดยมีขั้นตอนดังนี้ 

1) ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสภา หรือ ส.ส. 100 คน ขอใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือรายคณะ

2) เมื่ออภิปรายทั่วไปเสร็จแล้ว โดยไม่มีการผ่านระเบียบวาระไปหรือการขอถอนญัตติดังกล่าว ให้มีการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจในวันถัดไป

3) มติไม่ไว้วางใจต้องใช้ ส.ส. จำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของสภา หรือ ส.ส. 251 คน

โดยระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมตรีจะยุบสภาไม่ได้ เว้นแต่มีการถอนญัตติ หรือลงมติไม่ไว้วางใจไม่สำเร็จ และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (3) เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ความเป็นรัฐมนตรีจะสิ้นสุดลง 

ทั้งนี้ มาตรา 154 ระบุว่า การเสนอญัตติ การอภิปรายไม่ไว้วางใจทำได้ปีละหนึ่งครั้ง

ที่มา สถาบันพระปกเกล้า 

'วิษณุ' ปฎิเสธติวศึกอภิปราย ชี้คะแนนเสียงปริ่มน้ำ รมต.ไม่ต้องรับผิดชอบ

“บิ๊กตู่” กำชับ! รัฐมนตรีเตรียมข้อมูล ชี้แจงสู้ศึกซักฟอก เชื่อทุกคนแจงได้ตามข้อเท็จจริง

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ